22 ธ.ค. เวลา 03:00 • ท่องเที่ยว

13TH ANNIVERSARY BLEND EP3 : กลุ่มชุมชนกาแฟแม่จันหลวง แห่งดอยแม่สลองนอก

บ้านแม่จันหลวงเป็นพื้นที่ลาดชัน สวนกาแฟ 80% จะอยู่ใต้ร่มเงาไม้ ที่ความสูงประมาณ 1,300 ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1,600 พื้นที่โดยรวมส่วนใหญ่ที่ผลิตกาแฟอยู่ในระยะ 4 กิโลเมตร ใน 4 กิโลเมตรนี้ความแตกต่างของเมล็ดกาแฟจะมีความสม่ำเสมอ และผิดเพี้ยนจากกันน้อยมาก ซึ่งนี้คือสิ่งที่ทำให้กาแฟของเรามีความพิเศษ
ซ่อนตัวอยู่ในทิวเขาอันสลับซับซ้อนของดอยแม่สลอง บนความสูง 1,275 เมตรจากระดับน้ำทะเล บ้านแม่จันหลวง เป็นหมู่บ้านของชาวอาข่า ที่แยกตัวออกมาจากพื้นที่หมู่ 1 ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว ในอดีตชาวบ้านที่นี่ เคยประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียน ทั้งข้าวโพดและนาขั้นบันได ก่อนจะเปลี่ยนมาเพาะปลูกข้าวและพืชผักต่าง ๆ สำหรับบริโภคในครัวเรือน ควบคู่ไปกับการปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อทำรายได้ให้กับครอบครัว
ซึ่งพืชเศรษฐกิจหลักที่ชาวบ้านแม่จันหลวงนิยมปลูกจะมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ พลัม ชา และกาแฟ ในบรรดาพืชทั้ง 3 กาแฟถือเป็นพืชที่สร้างรายได้และความมั่นคงได้สูงที่สุด และนั่นจึงทำให้การปลูกกาแฟเป็นที่นิยมในหมู่บ้าน จนกลายมาเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านไปโดยปริยาย กล่าวคือ จำนวนครัวเรือนกว่า 200 ครัวเรือนในหมู่บ้านแม่จันหลวง มากกว่าครึ่งในจำนวนนี้ ต่างก็เป็นเจ้าของสวนกาแฟทั้งเล็กและใหญ่รอบ ๆ หมู่บ้านทั้งสิ้น รวมไปถึง อายิ (อายิ มอโป๊ะกู่) เจ้าของรางวัลอันดับ 1 จากการประกวด 10 สุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ปี 2017
ที่นอกจากจะเป็นผู้สร้างชื่อเสียงให้กับกาแฟจากดอยแม่สลองแล้ว พี่อายิ ยังกลายเป็นแรงบันดาลใจ ให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในหมู่บ้านแม่จันหลวง เริ่มมองเห็นคุณค่าของการผลิตกาแฟให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
อายิ (อายิ มอโป๊ะกู่) เจ้าของรางวัลอันดับ 1 การประกวด 10 สุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ปี 2017
“กาแฟเข้ามาในหมู่บ้านครั้งแรกเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน แต่ตอนนั้นชาวบ้านยังไม่ให้ความสำคัญกับกาแฟมากนัก จนกระทั่งหลายปีต่อมา มีคนสังเกตว่ากาแฟมันขายได้ จึงได้นำไปขายที่ร้านในตัวเมืองแม่สลอง แต่เพราะยังไม่มีความรู้มาก จึงขายได้ในราคาถูก ชาวบ้านเริ่มจริงจังกับการปลูกกาแฟ ตอนที่กาแฟดอยช้างเริ่มมีชื่อเสียง หลังจากนั้นชาวบ้านก็ปลูกกันมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน”
กาแฟเข้ามาในหมู่บ้านแม่จันหลวงครั้งแรกเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ผ่านการนำเข้ามาของ อาจือ โซ่เซ ผู้นำอาวุโสของหมู่บ้านที่เสียชีวิตไปเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งในช่วงเวลานั้น เป็นช่วงเวลาที่คนในหมู่บ้านยังไม่เข้าใจว่าเราปลูกกาแฟไปเพื่ออะไร เพราะสมัยนั้น การดื่มกาแฟยังไม่เป็นที่นิยม และคนทั่วไปยังมีความเชื่อว่ากาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ขม ดื่มยาก และถึงแม้ว่าเมล็ดกาแฟจะสามารถนำไปขายที่ร้านในตัวเมืองแม่สลองได้ แต่ก็ได้ในราคาไม่สูง ชาวบ้านจึงไม่ค่อยสนใจในการปลูกกาแฟเท่าไหร่นัก
มุมมองในเรื่องกาแฟของชาวบ้านเปลี่ยนไป เมื่อกาแฟดอยช้างเริ่มมีชื่อเสียง ชาวบ้านได้เริ่มหันมาปลูกกาแฟเพื่อหารายได้ให้กับครอบครัว โดยเกษตรกรบ้านแม่จันหลวงจะปลูกกาแฟในระบบสวนผสม ซึ่งจะเป็นการปลูกกาแฟร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่น เช่น เชอร์รี หรือผลท้อ ในช่วงแรกชาวบ้านจะนำกาแฟที่ปลูกได้ ไปจำหน่ายให้กับโรงงานแปรรูปดอยช้างในรูปแบบกะลา
และร้านกาแฟในตัวเมืองแม่สลอง โดยอายิเอง ก็เป็นเกษตรกรที่เริ่มต้นมาจากจุดนี้เช่นเดียวกัน ต่อมา อายิ ก็ได้พบกับ อามิ้ง (สมชาย สุวรรณวสิทธิ์) เกษตรกรชาวสวนดอกไม้ ที่กำลังตามหากาแฟคุณภาพดี ในช่วงปี 2557 หลังจากอามิ้ง ได้ลิ้มลองกาแฟของอายิ เขาก็เอ่ยปากขอรับซื้อเมล็ดกาแฟจากที่นี่ทันที โดยเมล็ดกาแฟที่อามิ้งรับซื้อไปนั้น ได้ถูกส่งเข้าประกวด10 สุดยอดเมล็ดกาแฟไทย และได้รับรางวัลกลับมา
อายิ ได้ส่งตัวอย่างเมล็ดกาแฟเข้าประกวด ในประเภท Washed Process ที่มีจุดเด่นคือ เป็นกาแฟที่ปลูกในพื้นที่ราบชันบนความสูงเฉลี่ย 1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีสภาพอากาศเป็นที่ร่มหลังเวลาบ่ายสองโมง ต้นกาแฟจะได้รับแสงแดดในตอนเช้า และได้ร่มเงาในตอนบ่าย
จนกระทั่งในปี 2560 อายิก็ได้ส่งกาแฟเข้าประกวด 10 สุดยอดเมล็ดกาแฟไทยอีกครั้ง โดยครั้งนี้ อายิ ได้ส่งตัวอย่างเมล็ดกาแฟเข้าประกวด ในประเภท Washed Process ที่มีจุดเด่นคือ เป็นกาแฟที่ปลูกในพื้นที่ราบชันบนความสูงเฉลี่ย 1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีสภาพอากาศเป็นที่ร่มหลังเวลาบ่ายสองโมง ต้นกาแฟจะได้รับแสงแดดในตอนเช้า และได้ร่มเงาในตอนบ่าย นอกจากนี้ ในบริเวณที่ปลูกต้นกาแฟ ยังมีการปลูกต้นเชอร์รี่และต้นพลัมเพื่อให้ร่มเงาเป็นบางจุด มีสภาพดินที่เหมาะสม
เนื่องจากพื้นที่แถบนี้เคยเป็นพื้นที่ปลูกกะหล่ำปลี มะเขือเทศ และยอดมะระหวาน ก่อนจะถูกเปลี่ยนมาเป็นพื้นที่ปลูกกาแฟมามากกว่า 10 ปี จึงทำให้ดินมีสภาพร่วนและชุ่มชื่นตลอดทั้งปี และด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมเหล่านี้ ที่มาผนวกรวมกับการแปรรูปอย่างพิถีพิถัน จึงทำให้กาแฟตัวอย่างของอายิ สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภท Washed Process จากเวที 10 สุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ปี 2017 ไปครอบครอง
“กาแฟของเราดีได้ส่วนหนึ่งมาจากพื้นที่ปลูก บ้านแม่จันหลวงเป็นพื้นที่ลาดชัน สวนกาแฟ 80% จะอยู่ใต้ร่มเงาไม้ พื้นที่ของเราต่างจากที่อื่นเพราะความสูง คือพื้นที่แถบนี้ถ้าสูงจะสูงไปเลย แต่ถ้าราบก็จะราบไปเลย ส่วนไร่กาแฟจะสูงประมาณ 1,300 ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1,600 ซึ่งนี้คือสิ่งที่ทำให้กาแฟที่นี่มีความพิเศษ พื้นที่โดยรวมส่วนใหญ่ที่ผลิตกาแฟอยู่ในระยะ 4 กิโลเมตร ใน 4 กิโลเมตรนี้ความแตกต่างของเมล็ดกาแฟจะมีความสม่ำเสมอ และผิดเพี้ยนจากกันน้อยมาก”
อายิเล่าต่อไปว่า นอกจากกาแฟตัวอย่างที่ได้รางวัลอันดับที่ 1 แล้ว ในปีเดียวกันนั้น อายิยังได้ส่งตัวอย่างเมล็ดกาแฟจากที่นี่เพื่อเข้าประกวดอีก 3 ตัวอย่าง และสามารถคว้ารางวัลอันดับที่ 4 และ 7 มาได้ โดยตัวอย่างที่ 2 ที่ได้รางวัลอันดับที่ 4 เป็นตัวอย่างเมล็ดกาแฟที่ผ่านการแปรรูปด้วยวิธี Dry Process ตัวอย่างที่ 3 เป็นตัวอย่างเมล็ดกาแฟที่ได้รับรางวัลอับดับ 7 เป็นตัวอย่างที่ผ่านการแปรรูปแบบ Washed Process เช่นเดียวกับตัวอย่างที่ 1 แต่ต่างกันที่ตัวอย่างนี้จะเป็นเมล็ดกาแฟจากแหล่งปลูกบนพื้นที่สูง 1,100 เมตร
ในสภาพอากาศที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน และมีสภาพดินที่แห้งกว่า ส่วนตัวอย่างที่ 4 เป็นตัวอย่างที่ อายิ ได้ทดลองผสมเมล็ดกาแฟสีแดงและสีเหลืองเข้าด้วยกัน ก่อนจะนำไปผ่านการแปรรูปแบบ Washed Process แต่น่าเสียดายที่ตัวอย่างนี้ไม่ได้รับรางวัล แต่ถึงอย่างนั้นก็นับเป็นการทดลองที่ดี ที่สามารถนำไปปรับปรุงกาแฟของตนเองในอนาคตได้
ผมจะดูแลกาแฟให้ดีที่สุดในช่วง 3 ปีแรกของการปลูก เพราะถ้า 3 ปีแรกเราดูแลดี ในช่วงหลังมันจะง่ายขึ้น
“เราเอาประสบการณ์ที่ได้จากการประกวดมาปรับปรุงการปลูกกาแฟของเรา ส่วนตัวผม ผมจะดูแลกาแฟให้ดีที่สุดในช่วง 3 ปีแรกของการปลูก เพราะถ้า 3 ปีแรกเราดูแลดี ในช่วงหลังมันจะง่ายขึ้น การดูแลเราจะเน้นดูแลแบบธรรมชาติ ใส่ปุ๋ย บำรุงดิน ตัดแต่งกิ่ง
ในส่วนของการตัดแต่งกิ่งเราจะดูสภาพแวดล้อมของเขาด้วย ถ้าบางส่วนไม่จำเป็นต้องตัดเราก็จะไม่ตัด คือผมจะเน้นให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ แต่ก็ไม่ได้ปล่อยทิ้งนะ แค่ไม่ได้ไปยุ่งวุ่นวายกับมันทุกวัน คือคอยไปดูมันเป็นช่วง ๆ เมล็ดกาแฟของที่นี่ ถ้าเทียบกับข้างนอกก็ไม่ได้ใหญ่มาก แต่ก็ไม่ได้เล็กมาก เรียกว่าขนาดกลาง ๆ ดีกว่า แต่สิ่งที่ผมมั่นใจคือความหนาแน่นของเมล็ดที่ดีไม่แพ้ที่อื่นแน่นอน”
หลังจากที่กาแฟแม่จันหลวงของอายิได้รับรางวัล เกษตรกรในพื้นที่จึงเริ่มตื่นตัวกันมากขึ้น ชาวบ้านหันมาสนใจกาแฟอย่างจริงจัง ซึ่งนั่นได้ทำให้กาแฟจากบ้านแม่จันหลวงเริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟบนดอยแม่สลอง เริ่มมองเห็นคุณค่าของการปลูกและการผลิตกาแฟให้มีคุณภาพมากขึ้น และเพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็ง และความยั่งยืน อายิ
จึงได้ตัดสินใจรวมกลุ่มกับเกษตรกรคนอื่น ๆ เพื่อจัดตั้ง “กลุ่มชุมชนกาแฟแม่จันหลวง” เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ อุปกรณ์ สนับสนุนเครื่องมือ และตามหาตลาดใหม่ ๆ ในการขายกาแฟ เพื่อความมั่นคงทางรายได้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันกลุ่มชุมชนกาแฟแม่จันหลวงมีสมาชิกอยู่ประมาณ 10 คน โดยมีอายิเป็นหัวเรือใหญ่ ที่คอยรับซื้อผลผลิตจากบรรดาลูกสวนทั้งหมด นอกจากนี้ ยังรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรคนอื่น ๆ ในหมู่บ้านแม้จะไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้อีกด้วย
“เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ผมขายกาแฟให้ร้านในตัวเมืองแม่สลอง คือแบกกาแฟใส่มอร์เตอร์ไซต์ไปขายเลย เพราะผมไม่มีรถ ตอนนั้นเรายังไม่มีแหล่งขายถาวรแบบนี้ ก็เลยต้องใช้วิธีส่งไปตามที่ต่าง ๆ ได้ราคาไม่ดีเท่าไร เฉลี่ยแล้วผมขายเชอร์รีได้แค่โลละ 4 บาทเท่านั้น”
พอเรารวมกลุ่มกัน เราก็มีการแบ่งปันทั้งความรู้ ทั้งอุปกรณ์ เพื่อทำให้กาแฟของเรามีคุณภาพมากขึ้น จากนั้นอายิก็เริ่มวิ่งหาตลาด แล้วก็ได้รู้จักกับ Peaberry แล้วก็ตกลงซื้อขายกัน ซึ่งได้ราคาดีมากเลย
อาแบ (อาแบ กุ่ยซือ) หนึ่งในลูกสวนของอายิ กล่าวถึงความลำบาก และราคาเชอร์รีที่เขาขายได้เมื่อ 20 ปีก่อน ก่อนที่จะมีการรวมกลุ่มชุมชนกาแฟแม่จันหลวงขึ้นมา เพื่อหาแหล่งขายที่ถาวร และสร้างความมั่นคงทางรายได้ โดยอาแบกล่าวว่า ก่อนที่จะมีการรวมกลุ่มกัน เกษตรกรในหมู่บ้านต่างก็ปลูกกาแฟกันตามมีตามเกิด และขายในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดมาก เนื่องจากในตอนนั้น ชาวบ้านยังขาดความรู้ และความเข้าใจในการปลูกกาแฟที่ถูกต้อง
“พอเรารวมกลุ่มกัน เราก็มีการแบ่งปันทั้งความรู้ ทั้งอุปกรณ์ เพื่อทำให้กาแฟของเรามีคุณภาพมากขึ้น จากนั้นอายิก็เริ่มวิ่งหาตลาด แล้วก็ได้รู้จักกับ Peaberry แล้วก็ตกลงซื้อขายกัน ซึ่งได้ราคาดีมากเลย ถึงราคาจะขึ้น ๆ ลง ๆ ตามตลาด แต่ได้ราคาดีกว่าที่ส่งขายเองเยอะ แถมไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีที่ขายด้วย เพราะเขารับซื้อของเราตลอด”
อาแบได้เข้ามาในกลุ่มชุมชนกาแฟแม่จันหลวง และส่งกาแฟให้อายิได้ประมาณ 8 ปีแล้ว โดยกาแฟของอาแบ จะเป็นสายพันธุ์อาราบิกา ที่อาจือ ได้นำเข้ามาจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ดอยช้าง ดอยตุง ปางขอน ซึ่งถือว่าเป็นต้นกาแฟที่มีอยู่เดิมในหมู่บ้านอยู่แล้ว ก่อนที่เกษตรกรรุ่นใหม่ รวมถึงอายิและอาแบ จะนำต้นกาแฟมาลงเพิ่ม เพื่อขยายพันธุ์ พร้อมกับปรับปรุงวิธีการเพาะปลูก เพื่อให้ต้นกาแฟสามารถปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่ และผลิตเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
โดยกาแฟในสวนของอาแบ จะใช้วิธีการปลูกเช่นเดียวกับอายิ คือเน้นความเป็นธรรมชาติ ให้กาแฟเติบโตใต้ร่มเงาไม้ และคอยดูแลตัดแต่งกิ่งตามสมควรเป็นบางครั้งนั่นเอง
☕กลุ่มชุมชนกาแฟ ผู้สร้างสรรค์ specialty
“ผมรู้จัก Pacamara ครั้งแรกในปี 2560 ตอนนั้นผมส่งกาแฟเข้าประกวด พร้อม ๆ กับหาตลาดกาแฟไปด้วย อามิ้ง ก็เลยแนะนำให้ผมลองส่งกาแฟไปที่ Pacamara ซึ่งอามิ้งคนนี้แหละ คือคนที่ติดต่อ Pacamara ให้ผม ผมเริ่มต้นจากการส่งกะลาไปสีที่โรงสีของ Peaberry ปีต่อมาก็ลองส่งกาแฟตัวอย่างไป พอทางบริษัทเห็นกาแฟของผม เขาก็สนใจ เพราะเห็นว่ากาแฟมีคุณภาพดีพอที่จะตีตลาดได้ เขาติดต่อกลับมาเพื่อให้ผมส่งตัวอย่างไปอีกครั้ง ปรากฏว่าผ่าน จากนั้นผมก็ส่งกาแฟให้เขาตั้งแต่นั้นมา”
อายิ ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการมาทำงานร่วมกับ Pacamara จากการแนะนำของอามิ้ง หรือ คุณสมชาย สุวรรณวสิทธิ์ ผู้เป็นจุดเริ่มต้น ที่นำพาอายิเข้าสู่เส้นทางการประกวด จนได้รับรางวัลอันดับที่ 1 ในปี 2560 ซึ่งอามิ้ง ถือเป็นบุคคลสำคัญ ที่ไม่เพียงนำอายิเข้าสู่การประกวดเมล็ดกาแฟ แต่ยังเป็นตัวเชื่อมอายิ เข้ากับ Pacamara อีกด้วย
เมื่อก่อนเกษตรกรไม่เคยคิดเรื่องการทำกาแฟให้มีคุณภาพ ไม่สนใจว่าความชื้นจะส่งผลต่อกาแฟอย่างไร แต่ Pacamara ก็สอนให้เรารู้ว่ากาแฟจะดี มันต้องดีมาตั้งแต่ต้นน้ำ คือถ้าต้นน้ำดี ปลายน้ำมันถึงจะดีตาม ตั้งแต่อยู่กับ Pacamara มา เกษตรกรในกลุ่มก็พัฒนากาแฟตัวเองให้ดีขึ้นมากเลย
“ผมคิดอยู่เสมอ ว่ากาแฟของเราต้องอยู่กับบริษัทที่เห็นคุณค่าของมันและให้ราคาที่สมเหตุสมผลเท่านั้น ที่ผมอยู่กับ Pacamara มาจนถึงทุกวันนี้ เพราะ Pacamara เห็นคุณค่าในกาแฟของผม และให้ราคาที่ทั้งผมและลูกสวนคนอื่น ๆ ต่างก็พอใจ ซึ่งถือได้ว่าเป็นราคาที่ยุติธรรม เพราะถ้าเป็นที่อื่น บริษัทจะเป็นผู้กำหนดราคา แต่กับ Pacamara เขาจะให้เกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคา โดยดูความสมเหตุสมผลของทั้งสองฝ่าย แต่ก็ใช่ว่าจะกำหนดตามใจชอบได้นะ เพราะเราต้องทำกาแฟให้ผ่านเกณฑ์ที่เขากำหนดก่อน“
อายิ เป็นเกษตรกรที่อยู่เคียงคู่กับ Pacamara มานานเกือบ 8 ปีแล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อายิ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการเติบโตของ Pacamara จนถึงกับกล่าวด้วยความภูมิใจว่า Pacamara เป็นดั่งครอบครัวของเขา และเพื่อเป็นการรักษาครอบครัวที่อบอุ่นนี้เอาไว้ อายิและกลุ่มชุมชนกาแฟแม่จันหลวง จึงได้พยายามพัฒนา และรักษาคุณภาพของเมล็ดกาแฟ เพื่อคงความเป็น Specialty แบบฉบับแม่จันหลวงเอาไว้
“เกณฑ์การรับซื้อเมล็ดของ Pacamara ค่อนข้างสูง Defect ต้องไม่เกิน 3% ความชื้นต้องไม่เกิน 11 แต่ไม่ต่ำกว่า 9 ซึ่งเกณฑ์แบบนี้ดีมากนะ เพราะเมื่อก่อนเกษตรกรไม่เคยคิดเรื่องการทำกาแฟให้มีคุณภาพ ไม่สนใจว่าความชื้นจะส่งผลต่อกาแฟอย่างไร แต่ Pacamara ก็สอนให้เรารู้ว่ากาแฟจะดี มันต้องดีมาตั้งแต่ต้นน้ำ คือถ้าต้นน้ำดี ปลายน้ำมันถึงจะดีตาม ตั้งแต่อยู่กับ Pacamara มา เกษตรกรในกลุ่มก็พัฒนากาแฟตัวเองให้ดีขึ้นมากเลย
และนั่นจึงทำให้ผมมั่นใจ ว่าแม้ว่าเกณฑ์จะสูง แต่เราก็สามารถไปกันได้ เพราะผมมั่นใจในแหล่งปลูกของผม มั่นใจว่ากาแฟในกลุ่มของผมค่อนข้างได้มาตรฐาน ซึ่งเราไม่ตกเกณฑ์ของ Pacamara แน่นอน”
เมล็ดกาแฟ Thai Mae Chan Luang Arabica Washed ของอายิ คือหนึ่งในเมล็ดที่ใช้ใน ฮักหม๊ดไจ๋ 13TH ANNIVERSARY BLEND กาแฟเบลนด์พิเศษจาก 5 ดอย 8 เกษตรกร ที่ได้รังสรรค์ขึ้นมาเนื่องในโอกาสครบรอบ 13 ปี ของ Pacamara โดยเมล็ดกาแฟจากบ้านแม่จันหลวง ดอยแม่สลองนอก
จะเป็นเมล็ดที่ผ่านกระบวนการ Washed Process มีเอกลักษณ์ของรสชาติที่หลากหลายที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว ทั้งความหอมของชา ความเปรี้ยวของส้มโอ และความหวานของโกโก้ ที่เมื่อไปรวมกับเมล็ดอื่น ๆ จากอีก 4 ดอยแล้ว ก็จะได้กาแฟเบลนด์ที่มีรสชาติละมุน หวานหอม ดื่มได้ง่าย แบบ “Everyday Specialty – กาแฟสเปเชียลตี้ที่ดื่มได้ทุกวัน”
ฮักหม๊ดไจ๋ 13TH ANNIVERSARY BLEND
Roast Level : Medium Light
Taste Profile : Citrus, Plum, Dark Chocolate, Honey & Hint of Floral
-----
สนในผลิตภัณฑ์ติดต่อได้ที่ :
Facebook : Pacamaracoffee
Instagram : Pacamara_th
โทร : 09 0902 0378
Coffee Traveler เป็นนิตยสารรายสองเดือน
ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งผ่านความรู้ทางด้านกาแฟ
และเสริมมุมความคิดในด้านธุรกิจกาแฟ
.
สมัครสมาชิกนิตยสารได้ที่ :
IN BOX Facebook : Coffee Traveler
.
ช่องทางการติดตามอื่น ๆ
Youtube : Coffee Traveler
Instagram : coffeetraveler_magazine
Blockdit : I am Coffee Traveler / coffeetravelermag
Tiktok : coffee traveler mag
โฆษณา