เมื่อวาน เวลา 15:00 • ไลฟ์สไตล์

รู้ไหมถ้าพกแบงก์ใหญ่อย่าง 500 หรือ 1,000 แทนแบงก์ 20 หรือแบงก์ 100

เรามีโอกาสประหยัดเงินมากกว่าโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ?
ที่เป็นแบบนี้เพราะสิ่งที่เรียกว่า “การทำบัญชีในใจ” หรือ “Mental Accounting”
หมายความว่าอะไร? หมายความว่า มนุษย์ทั่วไปจะแบ่งเงินเป็นบัญชีในใจ โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์หรือตามที่มาของเงิน และ ตัดสินใจใช้เงินแต่ละบัญชีต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่นเงินโบนัสถูกมองว่า เป็นคนละบัญชีกับรายได้หลัก เป็นรายได้ที่ไม่คาดหวังเพราะฉะนั้นจึงใช้ได้อย่างเต็มที่ (ซึ่งก็ไม่ถูกต้องซะทีเดียว)
คล้ายกันครับ ลองนึกภาพว่าคุณได้รับเงินแบงก์ 1000 เทียบกับแบงก์ 100 ทั้งหมด 10 ใบ แม้มูลค่าจะเท่ากัน แต่จิตใจเรากลับให้ความหมายต่างกัน
เราเชื่อมโยงธนบัตรย่อยกับการใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดทั่วไป ของเล็กๆ น้อยๆ หยิบจ่ายสะดวก ซื้อนั่นซื้อนี้หมดแบบไม่รู้ตัวง่ายกว่า ขณะที่ธนบัตรใบใหญ่ถูกมองว่าเป็นเงินที่ควรเก็บไว้ใช้ในโอกาสพิเศษ จึงไม่ค่อยอยากแตกแบงก์สักเท่าไหร่
ดร. แมรี่ เกรแชม (Dr. Mary Gresham) นักจิตวิทยาจากแอตแลนตา อธิบายว่า เรามักจะคิดหนักก่อนจะแตกแบงก์ใหญ่ เพราะเรามองมันเป็น "เงินพิเศษ"
นอกจากนั้นแล้ว แม้การใช้เงินสดจะดูล้าสมัย มันมีประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น เจฟฟ์ ไครส์เลอร์ (Jeff Kreisler) ผู้ร่วมเขียนหนังสือ "Dollars and Sense" ชี้ให้เห็นว่า เวลาใช้เงินสดเราจะรู้สึกว่าได้จ่ายเงินออกไปจริงๆ แต่ถ้าเป็นบัตรเครดิตหรือการชำระเงินผ่านมือถือ เทคโนโลยีทำให้การใช้จ่ายง่ายเกินไป จนบางครั้งเราอาจสูญเสียการควบคุมได้
1
แต่อย่างที่ทราบว่ามันก็มีข้อจำกัด ร้านค้าหลายแห่งไม่รับธนบัตรมูลค่าสูง และการพกเงินสดจำนวนมากเพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญหายด้วย แต่ ดร.เกรแชม เลยเสนอไอเดียสร้างสรรค์ ลองเอาแบงก์ใหญ่พันบัตรเครดิต วิธีนี้จะช่วยเตือนใจให้เราคิดถึงมูลค่าที่ต้องจ่ายทุกครั้งต้องหยิบบัตรออกมาใช้
ลองนำไปใช้กันดูนะครับ
#aomMONEY #MoneyHacks #ประหยัดเงิน #พกแบงก์ใหญ่ #การเงินส่วนบุคคล #เทคนิค
โฆษณา