23 ธ.ค. เวลา 01:08 • ท่องเที่ยว

13TH ANNIVERSARY BLEND EP4 : กลิ่นกาแฟ ณ แม่จันใต้

แม่จันใต้ มีความสูง 1,450 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีสิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการปลูกกาแฟ ผมจึงพยายามปลูกกาแฟใต้ต้นไม้ใหญ่ และจะไม่ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม เพราะที่นี่อยู่ใกล้เขตป่าสงวน กาแฟของผมจึงต้องอยู่กับป่าให้ได้
ห่างจากเมืองเชียงราย 95 กม. แม่จันใต้ คือหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่กลางหุบเขาในตำบลท่าก๊อ พื้นที่ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่พำนักของชาวชาติพันธุ์อาข่าที่อพยพมาจากสิบสองปันนาประเทศจีน เข้ามายังประเทศเมียนมา ก่อนจะข้ามมายังภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเมื่อราว 40 กว่าปีที่แล้ว พร้อมนำเอาประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เข้ามายังพื้นที่ และนั่นจึงทำให้แม่จันใต้
เป็นหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยบรรยากาศของวัฒนธรรมและความเชื่อของชาวอาข่าที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นการขอขมาเจ้าป่าเจ้าเขา การบูชาบรรพบุรุษ ในขณะเดียวกันก็รับเอาวัฒนธรรมใหม่ ๆ เข้ามาผสมสานในหมู่บ้านได้อย่างลงตัว และหนึ่งในสิ่งใหม่ที่คนในหมู่บ้านรับเข้ามา จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตก็คือ “กาแฟ” นั่นเอง
“ผมเริ่มปลูกกาแฟครั้งแรกเมื่อปี 2543 ตอนปลูกครั้งแรกผมไม่มีความรู้อะไรเลย คือปลูกแบบลองผิดลองถูก ต้นตายบ้าง ได้ผลผลิตบ้าง เพราะตอนนั้นยังดูแลต้นกาแฟไม่เป็น หลังจากนั้นนักวิชาการจากเกษตรที่สูงก็มาให้ความรู้ ทั้งในเรื่องการปลูกกาแฟ กระบวนการดูแลต้นกาแฟ การเก็บเกี่ยวกาแฟ การแปรรูปกาแฟ เราก็ค่อย ๆ เรียนรู้และพัฒนาจนได้ผลผลิตมากขึ้น”
พี่สินธพ (สินธพ จือปา) เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการเข้าสู่วงการกาแฟ ที่เริ่มมาจากความไม่รู้อะไรเลย จนกลายมาเป็นเจ้าของรางวัลอันดับ 4 จากการประกวด 10 สุดยอดกาแฟไทย ประจำปี 2558
โดยพี่สินธพ ถือเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ของหมู่บ้านแม่จันใต้ ที่มีใจรักและมุ่งมั่นพัฒนากาแฟอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่ากว่าจะถึงวันนี้ เส้นทางกาแฟของพี่สินธพย่อมไม่ราบรื่น โดยเฉพาะเมื่อย้อนกลับไปในช่วงเริ่มต้น ซึ่งเป็นสมัยที่กาแฟยังไม่ได้รับความนิยม ซ้ำตัวพี่สินธพเองก็ยังไม่มีความรู้ในเรื่องการปลูกและการแปรรูป จึงทำให้ราคากาแฟที่ขายได้ราคาไม่ดีเท่าที่ควร
พี่สินธพ (สินธพ จือปา) เริ่มต้นเข้าสู่วงการกาแฟ จากความไม่รู้อะไรเลย จนกลายมาเป็นเจ้าของรางวัลอันดับ 4 จากการประกวด 10 สุดยอดกาแฟไทย ประจำปี 2558 โดยพี่สินธพ ถือเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ของหมู่บ้านแม่จันใต้ ที่มีใจรักและมุ่งมั่นพัฒนากาแฟอย่างต่อเนื่อง
“ตอนผมเริ่มต้นใหม่ ๆ ผมขายกาแฟได้ราคาค่อนข้างถูก ตอนนั้นได้กิโลกรัมละ 5 บาท มากสุดก็ 7 บาท ไม่เกินนี้ ตอนนั้นผมขายเป็นเชอร์รี เพราะยังไม่รู้วิธีการแปรรูป ยังไม่รู้จักกาแฟกะลา กาแฟสาร ชงกินยังไม่เป็นเลย แค่ปลูกแล้วก็ขายให้พ่อค้าคนกลาง ได้เงินมาเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน ผมก็เริ่มมีความคิดว่า เราจะขายแบบนี้ไม่ได้แล้ว แล้วก็เริ่มหาวิธีเพิ่มมูลค่าให้กาแฟด้วยการแปรรูปจากเชอร์รีให้มาเป็นกะลา ก็ขายได้ราคาดีขึ้น แต่ตอนนั้นเรายังทำตลาดไม่เป็น
จึงยังไม่เป็นที่รู้จัก ก็เลยขายได้แค่กิโลละ 50 บาทเองมั้ง จากนั้นเราก็พัฒนาต่อยอดจากกาแฟกะลา มาทำกาแฟสารบ้าง ก็ได้ราคาเพิ่มจากกะลามานิดหน่อย ก็ล้มลุกคลุกคลานมาเรื่อย ๆ จนสามารถพัฒนากาแฟมาจนถึงขีดจำกัดล่ะ เราก็เลยหันไปทำกาแฟพิเศษ โดยศึกษาเพิ่มเติมจากเกษตรที่สูง โครงการหลวงอะไรแบบนี้ แล้วก็จะมีนักวิชาการมาสอน มีโครงการหลวงมารับซื้อกาแฟกะลา แล้วเขาก็สอนวิธีการทำกาแฟพิเศษเพื่อให้ได้ราคาดีขึ้น จากนั้นก็ค่อย ๆ ศึกษา วิธีการแปรรูป วิธีการตาก วิธีการเก็บ แล้วเอามาปรับให้มันดียิ่งขึ้น”
กาแฟ เริ่มเข้ามามีบทบาทในแม่จันใต้เมื่อหลายสิบปีก่อน เมื่อทางโครงการหลวงนำเมล็ดพันธุ์กาแฟมาให้ชาวบ้านปลูกแทนการปลูกฝิ่น โดยมีทางรัฐคอยส่งเสริม กาแฟในหมู่บ้านแม่จันใต้จะเป็นสายพันธุ์อาราบิกา คาร์ติมอร์ ทริปปิก้า ซึ่งถือเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมที่หมู่บ้านได้รับมาจากโครงการหลวง
ซึ่งพี่สินธพได้เริ่มต้นจากการนำกาแฟสายพันธุ์ดั้งเดิมเหล่านี้มาพัฒนาต่อยอด ก่อนจะมีการนำสายพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงสายพันธุ์พิเศษ เช่น จาวา เกอิชาจากปานามา เกอิชาจากอินโดนีเชีย มาปลูกเพิ่มเติม และด้วยสภาพแวดล้อม และดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้กาแฟของที่นี่ สามารถเติบโตได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งแสดงอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ทั้งในด้านรสชาติ และกลิ่นออกมาอย่างเต็มที่
กาแฟในหมู่บ้านแม่จันใต้จะเป็นสายพันธุ์อาราบิกา คาร์ติมอร์ ทริปปิก้า ซึ่งถือเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมที่หมู่บ้านได้รับมาจากโครงการหลวง ซึ่งพี่สินธพได้เริ่มต้นจากการนำกาแฟสายพันธุ์ดั้งเดิมเหล่านี้มาพัฒนาต่อยอด ก่อนจะมีการนำสายพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงสายพันธุ์พิเศษ เข้ามาปลูกเพิ่มเติม
“แม่จันใต้ มีความสูง 1,450 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีสิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ใหญ่เยอะ เหมาะสมกับการปลูกกาแฟ ตอนนี้ผมมีสวนอยู่ 50 ไร่ มีกาแฟประมาณ 20,000 ต้น ผมพยายามจะปลูกกาแฟใต้ต้นไม้ใหญ่ และจะไม่ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม เพราะที่นี่อยู่ใกล้เขตป่าสงวน
กาแฟของผมจึงต้องอยู่กับป่าให้ได้ ผมเลือกที่จะปลูกกาแฟแบบผสมผสาน มีการปลูกพืชแซมกับกาแฟ อย่างพวก ชา บ๊วย อะโวคาโด ลูกพลับ ลูกพลัม ทำแบบนี้เราจะได้มีรายได้ตลอดทั้งปีด้วย และเพราะมีการปลูกผลไม้แซมแบบนี้ กาแฟของเราจึงมีรสผลไม้ อย่างพวกบ๊วย พลัม เชอร์รี ผสมอยู่ แล้วก็มีกลิ่นอายของมะขาม มะม่วง จากการแปรรูปอีกด้วย”
จากปัจจัยที่มีความต้องการของกาแฟในตลาดมีมากเพิ่มขึ้น ผนวกกับความสมบูรณ์ของพื้นที่ในการปลูก ส่งผลให้ผู้คนในหมู่บ้านยึดการทำกาแฟเป็นอาชีพหลัก โดยมีการขายทั้งแบบเชอร์รีและแบบที่ผ่านการแปรรูปเรียบร้อยแล้ว โดยกาแฟของแม่จันใต้จะมีกระบวนการแปรรูปทั้ง 3 แบบ คือ Honey Process , Natural Process และ Washed Process โดยแต่ละรูปแบบก็จะให้กลิ่นและรสชาติกาแฟที่แตกต่างกัน ซึ่งในบรรดาการแปรรูปทั้ง 3 แบบ Washed Process ถือเป็นการแปรรูปที่พี่สินธพใช้มากที่สุด
“กาแฟเนี่ย ความละเอียดมันสูงมาก ผมก็พยายามเรียนรู้มาเรื่อย ๆ จนไปถึงการประกวดกาแฟ เริ่มต้นจากการส่งกาแฟกะลาเข้าประกวดตามเวทีต่าง ๆ ปีแรกยังไม่ได้ ปีที่ 2 2558 ผมก็เริ่มติดอันดับ 4 ของประเทศ จากนั้นกาแฟแม่จันใต้ก็เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่นักคั่วกาแฟ นักทำกาแฟ ผมก็ได้สื่อสาร ได้คุยกับคนที่ทำร้านกาแฟโดยตรง และได้ราคาเหมาะสมกับที่ผมตั้งใจ จากที่ขายเชอร์รีได้แค่ 5 บาท ก็ได้ราคาหลักร้อยต่อกิโล ยิ่งถ้าเป็นกาแฟพิเศษ ราคาที่ได้ก็จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่ผมภูมิใจ”
☕Specialty Coffee จากยอดดอยแม่จันหลวง
“ผมอยู่กับ Pacamara มา 5 ปี จากการส่งเมล็ดกาแฟประกวดเมื่อปี 2558 พอได้รางวัลและมีชื่อเสียง ก็มีทีมงาน Pacamara ติดต่อเข้ามา แต่กว่าจะซื้อขายกันได้ก็หลายปีอยู่ แรก ๆ ก็ขายหลักร้อย เริ่มจากกาแฟพิเศษก่อน จากนั้นผมก็พยายามมากขึ้น กาแฟของผมก็พัฒนาขึ้น ตอนนี้ก็สามารถส่งขายได้ 10 ตัน
โดยเน้นที่ Washed Process” พี่สินธพ กล่าวถึงคู่ค้าคนสำคัญของหมู่บ้านแม่จันใต้ ที่ค้าขายกาแฟกันมากว่า 5 ปี โดยพี่สินธพกล่าวเสริมว่า Pacamara Coffee Roasters เป็นทั้งคู่ค้าคนสำคัญ และแหล่งขายถาวรที่ช่วยสร้างความมั่นคงทางรายได้ และทำให้ชาวบ้านรู้ถึงความสำคัญของการทำกาแฟให้มีคุณภาพ และมีรสชาติที่ดี
“มันดีมากเลยที่ได้ร่วมงานกับ Pacamara เพราะที่นี่มาตรฐานสูง คือกาแฟของเราต้องผ่านทุกขั้นตอน ทั้งความชื้น ขนาดเมล็ด ปริมาณ สกอร์ก็ต้อง 80 ขึ้นไป คือทุกอย่างมีข้อจำกัดเยอะมาก เรียกว่าอยู่ในระดับเดียวกับการประกวดเลย แต่มันก็คุ้ม เพราะถ้าเราสามารถทำกาแฟให้ตรงสเปคของเขาได้ มันก็เป็นข้อพิสูจน์ว่ากาแฟของเรามีคุณภาพสูงจริง ๆ”
มันดีมากเลยที่ได้ร่วมงานกับ Pacamara เพราะที่นี่มาตรฐานสูง เรียกว่าอยู่ในระดับเดียวกับการประกวดเลย แต่ถ้าเราสามารถทำกาแฟให้ตรงสเปคของเขาได้ มันก็เป็นข้อพิสูจน์ว่ากาแฟของเรามีคุณภาพสูงจริง ๆ
เมล็ดกาแฟ Thai Mae Chan Tai Yellow Anaerobic Dry เมล็ดกาแฟสีเหลืองที่ถูกแปรรูปโดยวิธีพิเศษที่มีรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ ด้วยกลิ่นอายของผลไม้จำพวกเชอร์รี บ๊วย ลูกพลับ ผสมผสานกับกลิ่นหอมของดอกไม้ป่า ช่วยให้รู้สึกสดชื่น หอมอร่อยทุกครั้งที่จิบ แน่นอนว่าเมล็ดกาแฟสุดพิเศษตัวนี้ Pacamara
ก็ไม่พลาดที่นำมาเบลนด์ใน ฮักหม๊ดไจ๋ 13TH ANNIVERSARY BLEND กาแฟเบลนด์พิเศษ จาก 5 ดอย 8 เกษตรกรมาเบลนด์ เพื่อฉลองครบรอบ 13 ปีของ Pacamara เพื่อสร้างเอกลักษณ์แบบใหม่ ที่สามารถดื่มได้ง่าย ๆ ตามสไตล์ “Everyday Specialty – กาแฟสเปเชียลตี้ที่ดื่มได้ทุกวัน
ฮักหม๊ดไจ๋ 13TH ANNIVERSARY BLEND
Roast Level : Medium Light
Taste Profile : Citrus, Plum, Dark Chocolate, Honey & Hint of Floral
----
สนในผลิตภัณฑ์ติดต่อได้ที่ :
Facebook : Pacamaracoffee
Instagram : Pacamara_th
โทร : 09 0902 0378
Coffee Traveler เป็นนิตยสารรายสองเดือน
ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งผ่านความรู้ทางด้านกาแฟ
และเสริมมุมความคิดในด้านธุรกิจกาแฟ
.
สมัครสมาชิกนิตยสารได้ที่ :
IN BOX Facebook : Coffee Traveler
.
ช่องทางการติดตามอื่น ๆ
Youtube : Coffee Traveler
Instagram : coffeetraveler_magazine
Blockdit : I am Coffee Traveler / coffeetravelermag
Tiktok : coffee traveler mag
โฆษณา