เมื่อวาน เวลา 13:00 • สิ่งแวดล้อม

‘รอยัล ภูเก็ต มารีน่า’ ท่าจอดเรือยอชท์ปลอดคาร์บอนฯ แห่งแรกของเอเชีย

☝️Click >> ‘รอยัล ภูเก็ต มารีน่า’ ท่าจอดเรือยอชท์ปลอดคาร์บอนฯ แห่งแรกของเอเชีย เดินหน้ากลยุทธ์รักษ์โลก ตั้งเป้าลดการใช้ขวดพลาสติก 4 ล้านขวดต่อปี ใช้พลังงานแสงอาทิตย์แล้วกว่า 40% ต่อวัน พร้อมเล็งเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ให้กว่าเดิม
☝️Click >> ‘รอยัล ภูเก็ต มารีน่า’ ท่าจอดเรือยอชท์ปลอดคาร์บอนฯ แห่งแรกของเอเชีย เดินหน้ากลยุทธ์รักษ์โลก ตั้งเป้าลดการใช้ขวดพลาสติก 4 ล้านขวดต่อปี ใช้พลังงานแสงอาทิตย์แล้วกว่า 40% ต่อวัน พร้อมเล็งเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ให้กว่าเดิม
🔎Clear >> มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ออสเตรเลีย ทำการศึกษาและวิจัยใน 160 ประเทศ พบว่า ในแต่ละปีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 4.5 กิกะตัน หรือราว 4,500 ล้านตัน คิดเป็น 8% ของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่บรรยากาศโลก
.
นอกจากนี้ยังพบว่า Carbon Footprint ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นถึง 6.5 กิกะตัน ในปี 2025
ขณะที่ Sustainable Travel International รายงานว่า ในการเดินทางท่องเที่ยวแต่ละครั้ง ปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาเกิดขึ้นทุกก้าวย่าง ได้แก่ การเดินทางด้วยพาหนะต่าง ๆ ปล่อยคาร์บอน คิดเป็น 49% ที่พัก 6% อาหารและเครื่องดื่ม 10% ภาคบริการ 8% ภาคเกษตร หรือพืชผักผลไม้ที่นำเข้ามาใช้ 8% สินค้าและการชอปปิง 12% การก่อสร้างอาคารสถานที่เพื่อรองรับการท่องเที่ยว 6% และอื่น ๆ อีก 1%
ส่วน Identec Solutions ผู้นำระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติของท่าเรือระดับโลก ได้สรุปปัญหาสิ่งแวดล้อมของท่าเรือ เช่น ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางเสียง และมลพิษทางแสง (คือ การปรับตัวรับแสงอย่างรวดเร็วที่สร้างความสับสนให้กับ คน สัตว์และพืช) ซึ่งเป็นความท้าทายที่สำคัญของอุตสาหกรรมท่าเรือและการท่องเที่ยวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ‘รอยัล ภูเก็ต มารีน่า’ ในฐานะท่าเรือยอชท์ชั้นนำที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่สวยงามที่สุดของจังหวัดภูเก็ตที่เปรียบเสมือนประตูสู่ทะเลอันดามันของไทย นอกจากบริการที่จอดเรือแล้ว ยังมีที่พักอาศัยระดับ 5 ดาว และยังเป็นศูนย์กลางธุรกิจใจกลางเกาะภูเก็ต ซึ่งได้หาจุดสมดุลระหว่างการท่องเที่ยวกับท่าจอดเรือเพื่อส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
โดยได้ประกาศตัวเป็น ‘ท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรกของเอเชีย’ และกำลังก้าวสู่ ‘ท่าเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรกของโลก’ ซึ่งเมื่อปี 2566 รอยัล ภูเก็ต มารีน่า ได้รับการรับรองฟุตพรินต์ขององค์กร Carbon Footprint for Organization (CFO) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแห่งประเทศไทย (อบก.) รวมถึงผ่านการรับรองความเป็นกลางทางคาร์บอนระดับองค์กร (Carbon Neutral) โดยได้ชดเชยคาร์บอนเครดิตจำนวน 640 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าอีกด้วย
นอกจากนี้ ‘รอยัล ภูเก็ต มารีน่า’ ท่าจอดเรือยอชท์แห่งเดียวในประเทศไทย ยังได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพระดับสากลอย่าง ‘Gold Anchor Certification’ ระดับ 5 จาก ‘สมาคมท่าเรือยอชท์’ และรางวัล International Clean Marina Award จาก MIA ในฐานะผู้บุกเบิกแนวทางปฏิบัติการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
>>แล้วทำไม ‘รอยัล ภูเก็ต มารีน่า’ ถึงมุ่งสู่ท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนอย่างจริงจัง
เกิดจากแรงบันดาลใจของ นายกูลู ลัลวานี ประธานบริษัท รอยัล ภูเก็ต มารีน่า ที่เห็นถึงปัญหาภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น จึงอยากกระตุ้นเตือนให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงต้องการพัฒนาท่าจอดเรืออย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 โดยปัจจุบันรอยัล ภูเก็ต มารีน่า มีแนวทางรักษ์โลกในช่วงแรก ดังนี้
1.รอยัล ภูเก็ต มารีน่า ได้บริหารงานองค์กรธุรกิจผสมผสาน (Mixed-use Development) ที่เป็นกลางทางคาร์บอนแห่งแรกและแห่งเดียวในภูเก็ต รวมถึงจับมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมท่าเรือเพื่อลดการใช้ขวดพลาสติกในกิจกรรมการเดินเรือทุกประเภท โดยตั้งเป้าลดขวดพลาสติกให้ได้ 4 ล้านขวดต่อปี
2.ท่าจอดเรือของ รอยัล ภูเก็ต มารีน่า ได้เปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารจอดเรือที่ติดตั้งตั้งแต่ปี 2559 โดยกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นี้สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้พลังงานได้มากถึง 40% ต่อวัน และยังมีแผนพัฒนาเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง
จะเห็นได้ว่า ถึงแม้จะเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ แต่ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่น่ายินดีที่ท่าเรือยอชท์ชั้นนำของไทย กำลังเข้าสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำอย่างเต็มกำลัง โดยมีกลยุทธ์บริหารจัดการทรัพยากรแสงอาทิตย์ น้ำ และอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมจัดการของเสียไปด้วยกัน เชื่อว่าท่าจอดเรือรักษ์โลกแบบนี้ จะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวภูเก็ตอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง ซึ่งส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก
และหวังว่าในอนาคต ‘รอยัล ภูเก็ต มารีน่า’ จะไม่เป็นเพียงท่าจอดเรือหรูที่ยั่งยืนแห่งแรกของไทยและเอเชียเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสำคัญในการผลักดันด้านความยั่งยืนทางทะเลในระดับโลกด้วย
ที่มา: Bangkokbiznews / MGROnline / identecsolutions / energy-thaichamber
โฆษณา