21 ธ.ค. 2024 เวลา 06:43 • หนังสือ

เบ็นชวนอ่าน “Hidden Potential” ของคุณ Adam Grant

“ฝืน” ได้ดี “แฝง” จึงจะปรากฏ
จะเติบโตได้ต้อง “เก่งฝืน”
เราต้องสะดวกใจที่จะไม่สะดวกใจ
จะดึง “ศักยภาพแฝง” ออกมาได้
เราต้องเป็นสิ่งมีชีวิต
ที่คุ้นชินกับความไม่สะดวกใจ
#ข้อคิดจากหนังสือ
#เบ็นป้ายยาหนังสือ
“Hidden Potential”
ของคุณ Adam Grant
#benji_loves_this
#BenjiBookGallery
เล่มที่ 31/2024
อาจจะล้าหลังคนอื่น ๆ ไปหลายขุมนะคะ เบ็นเพิ่งจะได้อ่าน “Hidden Potential เมื่อคนธรรมดาจะคว้าสิ่งที่ยิ่งใหญ่” ของคุณ Adam Grant กับเค้าค่ะ อันที่จริงใครเค้าฮิตอะไรกัน เบ็นก็มักจะมีกะเค้ามั่งนั่นแหละค่ะ รู้สึกว่าถ้าได้มี ได้อ่าน ต้องฉลาดขึ้นแน่ ๆ ... ผลคือ ใช่ค่ะ จบแค่ “ได้มี” 5555 ไม่ได้ฤกษ์อ่านซักที ความฉลาดเลยมีน้อยยยยย ... เท่าเดิม นี่คือดองไว้นานมากแล้วตั้งแต่ก่อนงานหนังสืออีก ถ้าเป็นบรั่นดีก็คือเกินบ่ม น่าจะขายได้แพงมากแล้วนะคะทุกคน 555
พอดีช่วงนี้มีงานที่ต้องคิด ต้องพูดเรื่องการเพิ่มศักยภาพ ละเจ้าเล่มนี้ก็วางตำตาอยู่ข้างเก้าอี้ดูซีรีย์ทุกวัน ไม่อ่านก็สมควรที่จะต้องขึ้นเขาไปสำนึกผิด ปรากฏว่าอ่านแล้วชอบมาก ๆ เลยค่ะทุกคน คุณอดัมเขียนหนังสือดีมากกกกก (คนเค้ารู้มานานแล้วไหมมมม 🤣) คือเบ็นชอบที่ไม่ได้บอกแต่ทฤษฎีอย่างเดียว แต่คุณอดัมมีเรื่องเล่ามากมายมาทำให้เราเข้าใจและเห็นภาพได้ชัดขึ้นมาก ๆ
ตัวอย่างก็หลากหลายและเบ็นว่าน่าจะมีความ relevant กับพวกเราแทบทุกคนเลยค่ะ ทุกคนเคย suffer กับการเรียนภาษาที่ 2 ที่ 3 เนอะ คุณอดัมเล่าถึงคนที่พูดได้ 5-6 ภาษา และใช้เวลาฝึกแต่ละภาษาไม่นานเท่าที่เราคิดด้วย แค่เปลี่ยนวิธีคิดวิธีฝึกฝน ซึ่งเออ ... คิดแบบนั้นมันง่าย ๆ ว่ะ เราก็น่าจะทำได้นะ อะไรแบบนี้มัน amaze เราเนอะทุกคน และมันทำให้เราเชื่อว่า เออ ... ศักยภาพแฝง มันมีอยู่จริง
ในหนังสือแบ่งเป็น 3 part นะคะ
- Part แรกเขย่าความคิดเราก่อนว่าเราต้อง “คิดพัฒนา” แบบไหน
- Part สองบอกถึงวิธีสร้าง “นั่งร้าน” ว่าเราจะดึงศักยภาพแฝงของเราออกมาใช้ เพื่อข้ามผ่านอุปสรรคไปได้ยังไง
- Part สามให้แนวทางสร้าง “โอกาส” ใหม่ ๆ ให้คนรอบตัว
เบ็นชอบคนแปลด้วยค่ะ ... คำที่เบ็นคิดไม่ออกว่าจะแปลยังไงนะให้มันไม่ทื่อ ๆ คุณนิติ ชนภัณฑารักษ์ แปลได้เทพมาก ๆ เอาแค่คำว่า hidden potential … เป็นเราจะแปลยังไงนะ ศักยภาพที่ซ่อนอยู่เหรอ ... ฟังดูทื่อมะลื่อมั่กเนาะ 555 คุณนิติเค้าแปลว่า “ศักยภาพแฝง” ... อห. หล่อง่า ชอบมาก ๆ ค่ะ สำนวนแปลดีมาก ๆ อ่านแล้วลื่นไหล อ่านสนุกเพลิดเพลินมาก ๆ ค่ะ
สิ่งที่ชอบมาก ๆ มาก ๆ ๆ คือเชิงอรรถหรือ footnote ค่ะทุกคน มันทำให้เราเข้าใจเรื่องราวมากขึ้นเยอะเลย บางหน้าเบ็นก็สนุกกับเชิงอรรถเกินเรื่องไปอีก 555 ขอบคุณนักแปลและ สนพ. ที่ทำให้เล่มนี้อ่านสนุกมากขึ้นนะคะ
เอาล่ะค่ะ ... การป้ายยาจบลงแต่เพียงเท่านี้ ใครขี้เกียจอ่านข้อคิดที่เบ็นโน้ต ๆ อันที่เบ็นชอบมาจากเล่ม หรือกลัวว่าโน้ตของเบ็นจะสปอยล์ จบตรงนี้แล้วไปหาเล่มมาอ่านกันได้เรย
(ที่จริงเรื่องสปอยล์ไม่น่าจะโดนค่ะ เพราะถึงจะยาวเป็นก็จับประเด็นมาแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น บางทีก็เป็นแค่ฝอย ๆ ไม่ใช่แก่นที่นักเขียนตั้งใจจะสื่อด้วยซ้ำ 555 และส่วนตัวเบ็นว่าไม่ว่าจะหนังสือหรือการบรรยาย สิ่งที่จะทำให้เราเข้าใจลึกซึ้ง (อิน) คือรายละเอียดต่าง ๆ ที่นักเขียนหรือนักพูดยกมาให้เราอ่าน / ฟังค่ะ ดังนั้นการสรุปหรือโน้ตมันจะไม่ได้ให้ full experience นะคะ)
สำหรับใครที่อยากลองอ่านเป็นออเดิร์ฟดูก่อน อ่านต่อด้านล่างได้เลยค่ะ แต่ต้องบอกก่อนว่า โน้ตของเบ็นไม่ได้ตรงกับที่คุณอดัมเขียนเป๊ะ ๆ ทุกคำนะคะ เบ็นทดสิ่งที่เบ็นเข้าใจและเบ็นชอบมาแบ่งปันค่ะ ... ว่าแล้วก็ไปลุยกันเล้ยยย
===============
ข้อคิดจากหนังสือ
Hidden Potential
[[ Part ONE ]]
เปลี่ยนวิธีคิด (mindset)
เพื่อพัฒนาวิธีพัฒนาตัวเอง
===============
🔵
#นิสัยคือทักษะอย่างหนึ่ง
#เราฝึกได้
ข้อหมายจำสำหรับการฝึกทักษะให้เป็นนิสัยคือ...
1. ไม่สำคัญว่าเริ่มที่ไหน สำคัญว่าเราไปได้ไกลแค่ไหนมากกว่า
2. พรสวรรค์ใคร ๆ ก็มีได้ แต่โอกาสไม่ได้เป็นของทุกคน มันจะเป็นของคนที่มีพรแสวงเท่านั้น เพราะโอกาสไม่ใช่สิ่งที่จะลอยมาอยู่แทบเท้าเรา เราต้องกรุยและลุยทางออกไปหาโอกาสเอง
3. 2P2D คือคุณลักษณะ (อุปนิสัย) ที่ทำให้คนประสบความสำเร็จมากกว่า
o Proactive (ทำงานเชิงรุก)
o Prosocial (เพื่อสังคม)
o Disciplined (มีวินัย)
o Determined (จิตใจมุ่งมั่น)
4. นิสัยไม่ใช่แนวคิดหรือหลักการแต่เป็นทักษะ เป็นการเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตตามหลักการที่เรายึดถือ
5. สิ่งสำคัญคือการเข้าใจตัวเองและการควบคุมตัวเองให้อยู่มือ (คุมตัวเองไม่ได้ใครจะคุม)
6. ความได้เปรียบด้าน “ทักษะการคิด” จะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป (ในระยะยาวทักษะด้านอุปนิสัย = ความไม่ยอมแพ้ ความมุ่งมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอจะทำให้เราประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่เริ่มต้นพร้อมเราด้วยทักษะการคิดที่เหนือกว่าเรา)
7. เช่นเดียวกับที่เด็กจะปีนป่ายสิ่งที่เราสร้างให้ (คือเราต้องมีไกด์ให้เด็กที่เราจะฝึก ง่ายสุดึคือเราต้องมีล้อเสริมให้เด็กที่ยังขี่จักรยานไม่เป็นเนาะ) เพื่อเติบโตเราต้องการนั่งร้าน (scaffolding ... คือการค่อย ๆ ลองทำไป ผ่านบทเรียนของการล้ม ลุก ผิดพลาด แก้ไข ทำใหม่ โดยมีโค้ชหรือพี่เลี้ยงคอยแนะนำเรา)
8. หากมีความตั้งใจย่อมมีหนทาง หากยังมองไม่เห็นหนทางก็จำเป็นต้องแสดงเส้นทางให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนเสียก่อน นั่นคือสิ่งที่การสร้างนั่งร้านช่วยได้ เพราะถ้ายังไง๊ยังไงก็มองไม่เห็นทาง ... มนุษย์จะเลิกฝัน
9. การฝึกฝนจะไม่มีทางสำเร็จ หากปราศจากการเล่นสนุก
10. การเดินย่ำเป็นวงกลมอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการมุ่งหน้าต่อ
11. ห่วงติดรองเท้าไม่ได้ถูกสร้างมาให้คุณดึงด้วยตัวเองคนเดียว (ต้องมีคนคอยช่วยดึง = มีทีม มีพี่เลี้ยง)
12. ความสำเร็จอยู่ที่การเจริญเติบโต (ไม่ใช่ผลลัพธ์ปลายทางเท่านั้น) สิ่งสำคัญไม่ใช่ตัวกิจกรรมแต่เป็นบทเรียนที่จะได้จากกิจกรรมนั้นต่างหาก
13. โอกาส + แรงจูงใจ = การดึงศักยภาพแฝง >> ความสำเร็จ นอกจากหาโอกาสแล้ว เราต้องสร้เงแรงจูงใจฝ่สัมฤทธิ์ให้ตัวเองด้วยนะคะทุกคน เราทำไปเพื่ออะไร เราต้องรู้ค่ะ (ตามสถิติ แรงจูงใจเพื่อคนอื่นจะมีพลังมากกว่าทำเพื่อตัวเองคนเดียวนะคะ)
14. มาตรวัดที่แท้จริงสำหรับศักยภาพไม่ใช่เรื่องที่ว่าเราปีนขึ้นไปได้สูงเสียดฟ้าแค่ไหน แต่ต้องดูว่าเราผ่านอะไรมาบ้างเพื่อให้ปีนไปได้ไกลขนาดนั้น
15. “ทักษะการคิด” ช่วยให้รู้จักฉกฉวยโอกาสที่ผ่านเข้ามา
“ทักษะด้านนิสัย” ช่วยให้สร้างโอกาสขึ้นมาเอง
.
.
🔵
#พัฒนาทักษะเพื่อการพัฒนา
1. จะเติบโตได้ เราต้องสะดวกใจที่จะไม่สะดวกใจ เราต้องเป็นสิ่งมีชีวิตที่คุ้นชินกับความไม่สะดวกใจ >> คือเราต้องเก่ง “ฝืน” น่ะค่ะทุกคน
2. เพื่อจะ “เก่งฝืน” เราต้องมีความกล้า 3 ประเภท
o กล้าที่จะละทิ้งวิธีเดิม ๆ
o กล้าที่จะลงสนามแม้ยังไม่พร้อม
o กล้าที่จะผิดพลาดให้มากกว่าคนอื่น
3. จะเติบโตได้อย่างรวดเร็วเราต้องเปิดรับ ค้นหา และเพิ่มความไม่สะดวกใจ
4. ลืมรูปแบบของตัวเองไปซะ! ความถนัดไม่ใช่สิ่งตายตัว และการเน้นแต่เรื่องที่เราถนัดก็อาจปิดกั้นโอกาสในการขจัดจุดอ่อนที่เรามี จำไว้ว่า “ถ้าหนทางสบายเกินไปแปลว่าเรากำลังเดินผิดทาง”
5. การเรียนรู้ไม่ได้เป็นเรื่องของการค้นหาวิธีที่เหมาะกับเรา แต่เป็นการหาวิธีที่เหมาะกับงานนั้น ๆ >> อย่าอ้างว่าเราไม่ถนัดเขียน ถ้าเราอยากเปลี่ยนกรอบใหม่ อยากย้าย comfort zone จงเอางานเป็นหลัก ถ้าการเขียนเหมาะกับการทำงานนั้นให้สำเร็จ จงฝึกเขียน เขียนไปเรื่อย ๆ พัฒนาไปเรื่อย ๆ นอกจากได้ทำงานใหม่ ๆ เราก็จะเรียนรู้วิธีการเขียนให้ได้ดีขึ้นไปด้วย)
6. ใช้บ่อย ๆ จะได้ไม่ลืม แต่อย่าลืมว่าเราจะใช้อะไรไม่ได้ทั้งนั้น ถ้าเราจำไม่ได้ตั้งแต่แรก (การท่องจำ หรือการฝึกเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ จึงสำคัญ)
7. จงกล้าพอที่จะใช้ความรู้นั้นไปพร้อมพร้อมกับเรียนรู้มัน (คือไม่ต้องรอพร้อมค่ะ คิดถึงการฝึกภาษานะคะทุกคน ถ้ารอพร้อมทิ่งได้ทุก tenses จำศัพท์ได้ทุกคำก่อนจจะพูด ก็ไม่ต้องพูดได้กันพอดี เราต้องฝึกภาษา (และทุกอย่าง) เหมือนเราที่เราเริ่มพูดตอนเด็ก ๆ ค่ะ เราก็แค่พูดไปเลย เด็กที่ไหนเรียนไวยกรณ์ไทยก่อนพูดคำว่า แม่ หรือ หม่ำ ๆ ... ไม่มี๊)
8. หากอยากยิงตรงเป้าหมาย เราต้องเตรียมใจยิงพลาด (ยิงเยอะ ๆ พลาดเยอะ = เรียนร็เยอะ แล้วเดี๋ยวมันจะพลาดน้อยลง จนไม่พลาดเอง)
9. ทำผิดพลาดให้มากขึ้น ยิ่งเราทำพลาด เรายิ่งพัฒนาได้เร็ว ยารักษาอาการไม่สะดวกใจจากการทำพลาดที่ดีที่สุดคือ ทำพลาดให้มากขึ้น
10. หัดพูดภาษาใหม่ตั้งแต่วันแรก จำไว้ว่าเราเป็นอะไร ๆ ได้ตั้งแต่วันแรก >> เช่น เราเป็นคนพูดภาษาอังกฤษได้เลย วันนี้ บัดเดี๋ยวนี้ ไม่ต้องรอ เป็นคนพูดภาษาอังกฤษดี (รอพูดดีคือไม่ได้พูดแระชีวิตนี้) ทีนี้ ... พูดแรก ๆ มันก็ต้องบ้งกันบ้าง ตั้งเป้าหมายให้ตัวเองบ้งเยอะ ๆ ไปเลย (ในหนังสือเค้าตั้งเป้าให้ตัวเองเขินเพราะพูดอะไรผิด ๆ ได้วันละ 100 ครั้ง! ด้วยทัศนคติที่ว่า “ยิ่งผิดมากยิ่งเก่งเร็ว” ซึ่งก็เร็วจริงนะคะ เค้าพูดภาษาใหม่ได้แบบคล่องปรื๋อภายใน 6 เดือน และพูดได้หลายภาษามาก ๆ )
พูดง่าย ๆ ก็คือให้เรา learning by doing นั่นแหละค่ะทุกคน ซึ่งวิธีเรียนรู้แบบนี้ เราต้องคิดไว้ตั้งแต่ต้นเลยว่า “เรียนไปทำไปเดี๋ยวก็เก่งเอง”
.
.
🔵
#เราต้องเป็นมนุษย์ฟองน้ำ (ทะเล)
จงพัฒนาความสามารถในการดูดซับและปรับตัว
1. คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ ไม่สำคัญที่รับข้อมูลเยอะ สำคัญที่การเรียนรู้
2. Mindset x Approach = Ability to learn
o Fixed x Reactive = Rubber
o Fixed x Proactive = Teflon
o Growth x Reactive = Clay
o Growth x Proactive = Sponge
เราต้องมี growth mindset และ active ที่จะเรียนรู้นะคะ ถึงจะเป็นเจ้าฟองน้ำที่ไม่เพียงแต่ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ได้ แต่ยังดูดซับ กรอง และพัฒนาให้สิ่งที่ดูดซับมาเป็นประโยชน์กับตัวเองด้วย
ไม่งั้นเราก็อาจจะเป็นได้แค่ กะทะเทฟลอน (คือหาสิ่งใหม่ ๆ นะ แต่ดูดซับอะไรไม่ได้สักสิ่ง ทุกอย่างลื่นปรื๊ด ๆ ผ่านตัวเราไปหมดเลย) หรือดีหน่อยก็เป็นดินเหนียว (ที่รับสิ่งใหม่ได้ คือรอป้อน ต้องมีแรงกระทำ แต่ยอมปรับตัวเอง เลยสามารถปั้นเป็นอะไร ๆ ได้) แย่สุดเราอาจจะเป็น ก้อนยาง (ที่ไม่อยากได้ใคร่ดีอะไร ไม่เคยจะหาอะไรใหม่ ๆ เล้ย ไม่หือไม่อือ แถมจะปั้นเป็นอะไรใหม่ ๆ ก็ยากเย็น)
3. อย่าขอคำติชม จงขอคำแนะนำ
4. ไม่ใช่ทุกคำแนะนำจะใช้ได้เสมอไป เจ้าฟองน้ำที่รัก ... จง “กรอง” เราต้องดูว่าคนที่ให้คำแนะนำนั้น แคร์เราจริง ๆ หรือเปล่า เค้ารู้จักเราไหม เข้าใจเป้าหมายเรา และต้องการให้เราพัฒนาไปตามเป้าหมายของเราจริงหรือเปล่า แล้วเค้ามีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ ไหม ... ต้องสวบกันให้ได้ 3 วงนะทุกคน (Care x Familiarity x Credibility)
5. ไม่ใช่แค่ดูดซับอย่างเดียว ฟองน้ำที่ดีต้องยอมให้คนอื่นดูดซับได้ดีด้วย >> ฟองน้ำที่ดีไม่ใช่แค่ดูดซับมาใช้เองเท่านั้น แต่ต้องแน่ใจว่าเวลาส่งต่อ คนที่เราส่งต่อจะสามารถดูดซับและนำไปใช้ได้ด้วย (คือแกต้องเข้าใจมากพอ จนสามารถย่อย และถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย ๆ ด้วยว่าซั่นเถอะเจ้าฟองน้ำเกรดทริปเปิ้ลเอ+++)
6. ไม่ใช่แค่ดูดซับอย่างเดียว ฟองน้ำที่เริ่ดต้องสร้างสรรค์ด้วย >> ต่อยอด ขยาย กลายเป็นองค์ความรู้ เป็นปัญญาของตัวเองได้
.
.
🔵
#เราต้องเป็นมนุษย์พันธุ์ไม่สมบูรณ์แบบ
1. รอยแตกมีอยู่ในทุกสิ่งเพราะอย่างนั้นแสงสว่างจึงส่องผ่านเข้ามาได้ (วะบิซาบิ) ตัวอย่างที่งดงามของแนวคิดนี้คือ “โบสถ์แห่งแสง” ของคุณทาคาโอะ อันโดะ ค่ะ
2. “เราต้องรู้ตัวเองว่ารอยตำหนิแบบไหนคือสิ่งที่ยอมรับได้” - ทาคาโอะ อันโดะ
3. เป็น Perfectionist ไป ก็ไม่ไปไหน เพราะ...
o เราจะไม่เห็นทั้งป่า เห็นแต่ต้นไม้
o เราจะหลีกเลี่ยงงานที่ไม่คุ้นเคยและมีโอกาสพลาด ทักษะจึงแคบ
o เราจะมัวแต่โทษตัวเองในอดีต ไม่ปล่อยให้ตัวเองในอนาคตได้เรียนรู้
ทั้ง 3 ข้อนั้นทำให้การเติบโตของเราหยุดชงัก
4. เลิกเป็น perfectionist ทำยังไง?
o ละวางอุดมคติที่เป็นไปไม่ได้
o มาสู่มาตรฐานที่ทำได้จริง
o แล้วค่อย ๆ ยกระดับมาตรฐานขึ้นเรื่อย ๆ
5. อย่าตั้งเป้าว่าจะดีที่สุด เพราะไม่รู้ว่า “ดีที่สุด” มันอยู่ตรงไหน จงตั้งเป้าให้ชัดเจนและท้าทาย (วัดได้ แบบ SMART Goals นั่นเองค่ะทุกคน 😊)
6. เลิกตำหนิตัวเองในอดีต
มุ่งไปที่ความก้าวหน้าในปัจจุบัน
ถ้ารู้สึกว่า “ไม่มีอะไรดีเลยวันนี้”
ให้ถามตัวเองว่า...
“เราทำดีกว่าเมื่อวานไหม
เราช่วยใครให้ทำได้ดีกว่าเดิมหรือยัง”
7. ไม่มีดีที่สุด เราต้องทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมเสมอ
8. เราต้องฟังคนอื่น แต่คนที่พอใจที่สุดในงานของเราควรเป็นตัวเราเองด้วย ถามตัวเองด้วยว่าถ้ามันเป็นงานชิ้นเดียวในชีวิต เราจะภูมิใจกับมันไหม
===============
นั่นเป็น “ทดความคิด” ที่เบ็นจดไว้จากการอ่าน part แรกของ “Hidden Potential” ของคุณ Adam Grant ค่ะ หวังว่าเพื่อน ๆ จะได้ประกายความคิดไปเปิดโหมด “ฟองน้ำ” ของตัวเองบ้างไม่มากก็น้อยนะคะ ส่วนตัวเบ็นชอบเรื่องการ เริ่มเลย ... เราเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่วันแรกมาก ๆ ค่ะ เพื่อน ๆ ชอบเรื่องไหนมาแชร์กันได้นะคะ
ใด ๆ คือตอนแรกเบ็นคิดว่าจะรวบตึงทุกอย่างทำเป็น post เดียว แต่ปรากฏว่าเขียน ๆ ไปมันยาวขึ้นเรื่อย ๆ 555 แค่ part เดียวโน้ตนี้ก็ยาวมากแล้ว เลยจะแยก “ทดความคิด” จากเล่มนี้ออกเป็น 3 part ตามหนังสือนะคะ ฝากติดตามตอนอื่น ๆ ด้วยน้าค้าทุกคน
สุดท้าย ... เบ็นยังคงเชียร์ให้เพื่อน ๆ ลองไปหาอ่านฉบับเต็มกันนะคะ เพราะเบ็นคิดว่าเพื่อนแต่ละคนก็อาจจะทดมาได้ไม่เหมือนกัน ใครที่ชอบอะไรต่างจากนี้ก็มาคุย มาแลกเปลี่ยนกันได้ใต้ post นี้เลยค่ะ เบ็นก็อยากเรียนรู้จาก “ฟองน้ำ” อื่น ๆ เช่นกัน 🥰💖💖🧽
------------------------
💖💖🥰🥰💖💖
#BennOte #bp_ben
#benji_is_reading
#HiddenPotential
#AdamGrant
#benbookgallery
#KnowledgeSharing
#BensGoodWords
#benji_is_drawing
#benji_is_learning
#inspirationalquotes
#perspectiveshift
💖💖🥰🥰💖💖
#BennOte #bp_ben
#benji_is_reading
#HiddenPotential
#AdamGrant
#benbookgallery
#KnowledgeSharing
#BensGoodWords
#benji_is_drawing
#benji_is_learning
#inspirationalquotes
#perspectiveshift
โฆษณา