21 ธ.ค. เวลา 07:04 • ธุรกิจ

ส่อง! บริษัทใหญ่ ใช้ 4 แนวทาง สร้าง Green Supply Chain ชวนคู่ค้า สร้างความยั่งยืนไปด้วยกัน (Part 1)

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ธุรกิจจะยั่งยืนไม่ได้ หากขาดการจัดหาวัตถุดิบ สินค้า บริการ และกระบวนการผลิตที่ดี ดังนั้นการผลิตสินค้าที่สอดคล้องกับแนวโน้ม Green Supply Chain ต้องเริ่มต้นจากการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว หรือ Green Procurement ตามหลัก ESG ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ สร้างแรงกดดันให้ผู้ประกอบการต้องคัดเลือกผู้จำหน่ายวัตถุดิบที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงไม่มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม
แนวโน้มโลกกำลังมุ่งสู่การเป็น Sustainable Supply Chain โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับด้านสิ่งแวดล้อม ในการก้าวสู่ห่วงโซ่อุปทานที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Supply Chain) หรือในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้บริษัทข้ามชาติและผู้ประกอบการรายใหญ่ ให้ความสำคัญ กับการคัดเลือกคู่ค้าที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
จึงเป็นแรงกดดันให้ผู้ประกอบการ SME ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ใน ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้องมีการปรับกระบวนการผลิต และการประกอบธุรกิจให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามทั้งกระบวนการ
มาดูกันว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ชั้นนำทั่วโลก มีการกำหนดนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว หรือ Green Procurement ไว้อย่างไรกันบ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตใน Supply Chain ได้ปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างทันท่วงที ไม่เสียโอกาสในตลาดไปอย่างน่าเสียดาย
การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว คืออะไร?
การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว หรือ Green Procurement คือ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการ ที่นอกจากจะมุ่งให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าในด้าน การใช้จ่ายเม็ดเงินแล้ว ยังเป็นการให้ความสำคัญกับปัจจัยในการจัดซื้อจัดจ้าง 3 ด้าน ได้แก่
1) ด้านเศรษฐกิจ เช่น รักษาเสถียรภาพ และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดการผูกขาด ส่งเสริมการจ้างงาน ลดต้นทุน ลดความเสี่ยง ส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างจากผู้ประกอบการ SME และชุมชนท้องถิ่น
2) ด้านสังคม เช่น คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก คำนึงถึงค่าแรง สภาพแวดล้อม และความปลอดภัยในการทำงานของแรงงาน
3) ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้ทรัพยากร ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
นอกจากนี้ สหภาพยุโรป (EU) ได้มีการกำหนดมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน หรือ Carbon Boarder Administrative Management (CBAM) โดยตั้งแต่ปี2026 เป็นต้นไป ผู้นำเข้าสินค้า 5 รายการ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า และอะลูมิเนียม จะต้องประกาศ และซื้อใบรับรองการจ่ายค่าธรรมเนียม CBAM เพื่อให้ ครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตสินค้าที่มีการนำเข้ามาใน EU
ส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้ากลุ่ม ดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงกดดันให้ผู้ผลิตที่มีการส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวไปยัง EU ต้องเร่งปรับกระบวนการผลิตให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกสินค้าไปยังตลาด EU ไว้ได้
สำหรับนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) มีแนวปฏิบัติหลัก ดังนี้
1. คัดเลือกคู่ค้าที่มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อม
• ประเมินประสิทธิภาพคาร์บอน
• ใช้วัสดุรีไซเคิล
• ลดของเสีย
2. เกณฑ์การประเมิน
• คำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์
• ตรวจสอบใบรับรองสิ่งแวดล้อม
• วัดผลกระทบต่อระบบนิเวศ
3. เป้าหมายหลัก
• ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
• สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน
• สร้างนวัตกรรมยั่งยืน
4. เครื่องมือสำคัญ
• ซอฟต์แวร์วิเคราะห์คู่ค้า
• ระบบตรวจสอบแบบเรียลไทม์
• แพลตฟอร์มติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม
ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนนั้นมีมากมาย สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือ ความยั่งยืน (Sustainability) องค์กรจะเติบโตและสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืน โดยได้รับประโยชน์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ช่วยสร้าง Supply Chain Resilience การทำการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Procurement) คือการเข้าไปทำงานกับซัพพลายเออร์อย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะมั่นใจว่าการดำเนินงานของซัพพลายเออร์ถูกต้องตามหลักการความยั่งยืน องค์กรคุณกับซัพพลายเออร์มีเป้าหมายเดียวกัน เดินไปข้างหน้าพร้อมกัน หากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมากระทบ ซัพพลายเชนของคุณก็จะไม่หยุดชะงักเพราะคุณมีเครือข่ายซัพพลายเออร์ที่ดี
2. ลดความเสี่ยง องค์กรจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชื่อเสียงที่อาจเกิดจากการเป็นคู่ค้ากับซัพพลายเออร์ที่มีแนวปฏิบัติการทำงานที่ไม่มีธรรมาภิบาล เช่น การใช้แรงงานทาส อย่างที่เคยเห็นเป็นข่าวอยู่บ่อย ๆ
3. ลดต้นทุน องค์กรสามารถลดต้นทุนในการผลิต การจัดซื้อลงไปได้อย่างเห็นได้ชัด เพราะผลิตภัณฑ์ขององค์กรใช้ทรัพยากรน้อยลง ใช้พลังงานในการผลิตน้อยลง มีการใช้วัตถุดิบที่มาจากการรีไซเคิลเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นต้นทุนในการผลิตจะลดลงในระยะยาว
4. สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนจะทำให้เกิดความโปร่งใสในการจัดหา (Sourcing) เพื่อดูว่า ซัพพลายเออร์ที่องค์กรซื้อของด้วยได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของความยั่งยืนหรือไม่ ลูกค้าจะได้มีความมั่นใจและยอมที่จะจ่ายเงินสูงกว่าผลิตภัณฑ์ตัวอื่นในท้องตลาดเมื่อผลิตภัณฑ์ของคุณได้จัดซื้อมาอย่างมีธรรมภิบาล
สุดท้ายแล้ว องค์กรจะอยู่ได้ในอนาคต (Future-Proof) เพราะองค์กรของคุณได้เตรียมพร้อมกับความเป็นได้ของการขาดแคลนทรัพยากรที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในอนาคต
ตัวอย่างบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการทำการจัดซื้ออย่างยั่งยืน
ยกตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ชื่อดังในต่างประเทศ ที่ใช้นโยบายจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) สร้าง Green supply chain ซึ่งผลลัพธ์ของการดำเนินนโยบายของบริษัทเหล่านี้มีความน่าสนใจดังนี้
Apple Inc. มีนโยบาย Green Procurement กำหนดให้ซัพพลายเออร์ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% โดยต้องลดคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทานโดยเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2030 รวมถึงสนับสนุนโครงการพลังงานสะอาดและการฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยมีการตรวจสอบและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของซัพพลายเออร์อย่างเข้มงวด
ผลลัพธ์ที่ได้ คือ
- ลดการปล่อยคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทานได้ 61% ตั้งแต่ปี 2015
- บรรลุเป้าหมายพลังงานหมุนเวียน 100% ในปฏิบัติการระดับโลก
- ลดของเสียจากการผลิตลง 70%
- ประหยัดพลังงานกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
ตามมาด้วย Unilever ดำเนินกลยุทธ์การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว ด้วยแผน Sustainable Living Plan ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยเลือกซัพพลายเออร์ที่มีมาตรฐานความยั่งยืนสูง ลดการใช้พลาสติกใหม่ 50% ภายในปี 2025
มีการสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยและเกษตรอย่างยั่งยืน
ผลลัพธ์ที่ได้ คือ
- ลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ 44%
- ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า 1.5 พันล้านยูโรจากการริเริ่มความยั่งยืน
- เพิ่มรายได้จากแบรนด์ที่มีความยั่งยืนถึง 75%
ขณะที่ Nike มีนโยบายห่วงโซ่อุปทานสีเขียว ด้วยโปรแกรม Sustainable Apparel Coalition ลดการใช้น้ำและสารเคมีในกระบวนการผลิต และใช้วัสดุรีไซเคิลและยั่งยืน เช่น Polyester จากขวดพลาสติก รวมถึงมีการตรวจสอบสภาพแวดล้อมการทำงานของโรงงานคู่ค้า
ผลลัพธ์ที่ได้ คือ
- ลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตลง 36%
- เปลี่ยนเป็นวัสดุรีไซเคิล 75% ในผลิตภัณฑ์หลัก
- ลดของเสียจากโรงงานลง 70%
มาที่ Microsoft มีแนวทางการจัดซื้อสีเขียว โดยเป้าหมายปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2030
ด้วยการซื้อพลังงานหมุนเวียน 100% และกำหนดเกณฑ์สิ่งแวดล้อมให้ซัพพลายเออร์ และสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยีสีเขียว
ผลที่ได้ คือ
- ลดการปล่อยคาร์บอนลง 6.5 ล้านตัน นับตั้งแต่ 2012
- บรรลุพลังงานหมุนเวียน 100% แล้วในหลายประเทศ
- สร้างเศรษฐกิจระบบนิเวศน์มูลค่ากว่า 50 ล้านดอลลาร์
ส่วน Google เดินหน้ากลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทานยั่งยืน ด้วยการซื้อพลังงานหมุนเวียน 100% และลดของเสียและเพิ่มการรีไซเคิล มีการส่งเสริมประสิทธิภาพพลังงานในศูนย์ข้อมูล รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด
ผลที่ได้ คือ
ด้านพลังงานและคาร์บอน
- ลดการปล่อยคาร์บอนลง 22% ในปี 2022
- ซื้อพลังงานหมุนเวียน 100% ครอบคลุมการดำเนินงานทั่วโลก
- ประหยัดพลังงานในศูนย์ข้อมูลได้ 30% ต่อเซิร์ฟเวอร์
ด้านของเสียและการรีไซเคิล
- รีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ 22.4 ล้านชิ้น
- ลดของเสียจากการดำเนินงานลง 91%
- นำวัสดุรีไซเคิล 86% กลับมาใช้ใหม่
ด้านน้ำและทรัพยากร
- ประหยัดน้ำได้ 5.2 พันล้านลิตร
- ใช้น้ำหมุนเวียน 81% ในศูนย์ข้อมูล
- ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ลง 40%
Coca-Cola ใช้นโยบายจัดซื้อสีเขียว ด้วยการตั้งเป้าคืนน้ำสู่ธรรมชาติ 100% ลดการใช้พลาสติกใหม่ สนับสนุนเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่น และได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนมาใช้ในการผลิตด้วย
ผลที่ได้ คือ
- คืนน้ำสู่ธรรมชาติแล้วกว่า 288 พันล้านลิตร
- ลดการใช้พลาสติกใหม่ลง 20%
- ลดการปล่อยคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทานลง 24%
สุดท้ายคือ ธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่าง Walmart มีแนวทางห่วงโซ่อุปทานยั่งยืน ด้วยตั้งเป้าลดการปล่อยคาร์บอน 1 พันล้านตันภายในปี 2030 และสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อย โดยกำหนดเกณฑ์ความยั่งยืนสำหรับซัพพลายเออร์ ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด
ผลที่ได้ คือ
- ลดการปล่อยคาร์บอนได้ 230 ล้านตันตั้งแต่ 2017
- ประหยัดพลังงานกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
- สนับสนุนเกษตรกรรายย่อยกว่า 1.4 ล้านราย
ทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นว่า บริษัทใหญ่ชั้นนำ มีเป้าหมายลดคาร์บอนชัดเจน โดยเริ่มตรวจสอบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมของคู่ค้า มีการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน นวัตกรรมสีเขียว ถึงแม้จะเป็นการสร้างแรงกดดันให้คู่ค้าในซัพพลายเชนต้องปรับตัว ในการลงทุนเริ่มแรกสูง แต่จะสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน ถือเป็นการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง บริษัทไทยที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของซัพพลายเชน
1. ปตท. มุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานสะอาด และสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2. ช.การช่าง พัฒนานวัตกรรมโลจิสติกส์และก่อสร้างที่คำนึงถึงความยั่งยืน
3. เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) นำระบบเกษตรสมัยใหม่และเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาซัพพลายเชน
4. บริษัท ซีพีเอฟ ใช้แนวทาง Sustainable Sourcing เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
5. ไทยเบฟเวอเรจ นำเทคโนโลยีและมาตรฐานสากลมาพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า
ตัวอย่างนโยบายจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) ของบริษัทใหญ่ต่างๆ และเป้าหมายของแต่ละบริษัท
เริ่มจาก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF)
1. นโยบายด้านการคัดเลือกคู่ค้า
- ใช้เกณฑ์ ESG (Environmental, Social, Governance) ในการประเมิน
- คัดเลือกคู่ค้าที่มีการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมคู่ค้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2. นโยบายด้านวัตถุดิบ
- จัดซื้อวัตถุดิบจากแหล่งที่มีการจัดการอย่างยั่งยืน
- เน้นการใช้วัสดุรีไซเคิลและวัสดุทดแทน
- ลดการใช้วัตถุดิบที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง
3. นโยบายด้านบรรจุภัณฑ์
- ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้
- ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว
- พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
4. นโยบายด้านการขนส่ง
- เลือกใช้ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงาน
- วางแผนเส้นทางขนส่งเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ส่งเสริมการใช้พาหนะไฟฟ้า
5. นโยบายด้านการจัดการของเสีย
- ลดปริมาณของเสียในกระบวนการจัดซื้อ
- ส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่
- จัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
6. นโยบายด้านพลังงาน
- จัดซื้ออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูง
- สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน
- ลดการใช้พลังงานในกระบวนการจัดซื้อ
7. นโยบายด้านการพัฒนาคู่ค้า
- ให้ความรู้และฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมแก่คู่ค้า
- สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมสีเขียว
- สร้างเครือข่ายคู่ค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
8. นโยบายด้านการติดตามและประเมินผล
- กำหนดตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม
- ตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงาน
- รายงานผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใส
อีกหนึ่งตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอาหาร และเครื่องดื่ม ที่มีการปรับนโยบาย Green Procurement เพื่อสร้างความยั่งยืนใน Supply Chain คือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
ถือเป็นบริษัทที่เป็น “World Sustainability Reader” คือ ได้คะแนนสูงสุดในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม โดยรางวัลที่ได้ เช่น เรื่องบรรจุภัณฑ์ ขวดที่สามารถเอากลับมารีไซเคิลได้ ซึ่งต่อไปก็ต้องคิดว่าต้องทำอะไรมากขึ้นในวัสดุอื่นๆ หรือการปรับให้มีการใช้ไบโอพลาสติกมากขึ้นในอนาคต โดยมีเป้าหมายดังนี้
1. นโยบายด้านการจัดซื้อวัตถุดิบหลัก
• จัดซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกรท้องถิ่นโดยตรง
• ส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืน ลดการใช้สารเคมี
• สนับสนุนราคาที่เป็นธรรมแก่เกษตรกร
2. นโยบายด้านบรรจุภัณฑ์
• ลดการใช้พลาสติกใหม่ 50%
• เพิ่มสัดส่วนบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล
• พัฒนาบรรจุภัณฑ์น้ำหนักเบาลดการใช้วัสดุ
3. นโยบายด้านการขนส่ง
• ปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่ง
• ใช้พาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
• วางแผนเส้นทางขนส่งเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
4. นโยบายด้านพลังงาน
• เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน
• ติดตั้งระบบพลังงานทดแทนในโรงงาน
• ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
5. นโยบายด้านการพัฒนาคู่ค้า
• อบรมให้ความรู้ด้านการผลิตที่ยั่งยืน
• สนับสนุนการรับรองมาตรฐานสิ่งแวดล้อม
• สร้างเครือข่ายคู่ค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
6. นโยบายด้านการจัดการน้ำ
• ลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิต
• บำบัดน้ำเสียให้ได้มาตรฐาน
• นำน้ำกลับมาใช้ซ้ำในกระบวนการผลิต
ผลลัพธ์ที่ได้
1. ลดต้นทุนการผลิตระยะยาว
2. สร้างความมั่นคงในห่วงโซ่อุปทาน
3. ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
4. สร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ
5. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
ขณะที่ นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างในด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐไทย อยู่ในรูปแบบของการกำหนดเกณฑ์สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงคู่มือการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2567 ได้กำหนดเป้าหมายสัดส่วนมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐในปี 2024 อยู่ที่ 60% ของมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการประเภทเดียวกัน และได้กำหนดให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นไปสู่ 80% ในปี 2027
โดยเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่
1) สินค้าและบริการที่ได้รับการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 หรือขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานให้การรับรอง ซึ่งดำเนินการตรวจรับรองโดยบุคคลที่ 3 ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
2) สินค้าและบริการที่ได้รับการพิจารณาขึ้นทะเบียนตามเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของกรมควบคุมมลพิษ
3) ฉลากทางเลือกสิ่งแวดล้อม
ซึ่งการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นราว 1.1-1.3 ล้านล้านบาทในช่วงปี 2019-2023 หรือคิดเป็นสัดส่วน 7-8% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ดังนั้น การขับเคลื่อนให้การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมุ่งไปสู่ความยั่งยืน จึงมีความสำคัญกับด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมไทยอย่างมาก
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นว่า จากการนำหลัก ESG มาใช้เป็นแนวทางจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว หรือ Green Procurement จะเป็นกฎเกณฑ์การจัดซื้อสมัยใหม่ที่ต้องตระหนัก และใส่ใจ ผลที่ได้นั้นนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจในกระบวนการจัดหา ซึ่งเป็นต้นทางสำคัญของกระบวนการผลิตแล้ว ยังช่วยดึงดูดและรักษาความสัมพันธ์กับคู่ค้าที่ดี
ซึ่งใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และมีธรรมาภิบาล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและการทำงาน ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ที่ตรงความต้องการ อีกทั้งยังดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย ด้านบุคคลากรในองค์กร ตลอดทั้ง Supply Chain ได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม ภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย ดีต่อคุณภาพชีวิต เป็นธุรกิจโปร่งใส ที่นักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความเชื่อมั่นว่า มีประโยชน์ต่อโลกใบนี้ได้อย่างยั่งยืน
บทความครั้งต่อไป เราจะมาพูดถึง แนวทาง SME ปรับตัวอย่างไร? เพื่อไปสู่ Green Supply Chain สร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมและธุรกิจเดินหน้าเคียงคู่ไปพร้อม ๆ กันได้อย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต
อ้างอิง
โฆษณา