Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SpacenScience TH
•
ติดตาม
9 ชั่วโมงที่แล้ว • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ดาวศุกร์อาจเป็นนรกมาตั้งแต่แรก
ทีมนักดาราศาสตร์ได้พบว่าดาวศุกร์ไม่เคยเอื้ออาศัยได้เลย แม้ว่าความสงสัยหลายสิบปีของเราก่อนหน้านี้บอกว่า ดาวเคราะห์เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดครั้งหนี่งน่าจะคล้ายกับโลกมากกว่าที่เป็นในปัจจุบัน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ศึกษาองค์ประกอบเคมีในชั้นบรรยากาศดาวศุกร์และบอกว่าภายในดาวเคราะห์นั้นในปัจจุบันแห้งเกินกว่าที่จะเคยมีน้ำในมหาสมุทรบนพื้นผิวได้ แต่ดาวเคราะห์น่าจะเป็นพิภพที่ร้อนทารุณมาตลอดความเป็นมาของมัน ผลสรุปที่ได้เผยแพร่ในวารสาร Nature Astronomy มีนัยยะต่อความเข้าใจความเป็นอัตลักษณ์ของโลก และสำหรับการสำรวจหาชิวิตบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
ในขณะที่ดาวเคราะห์นอกระบบหลายดวงมีสภาพคล้ายดาวศุกร์ แต่การศึกษาบอกว่านักดาราศาสตร์ควรจะตีวงมาที่ดาวเคราะห์นอกระบบที่ดูคล้ายโลกมากกว่า แทน
ในแง่ระยะทาง ดาวศุกร์และโลกดูไม่ต่างจากกันมาก มันแทบจะมีขนาดเท่ากันและเป็นดาวเคราะห์หินเหมือนกับโลก แต่เมื่อพิจารณาใกล้ชิดมากขึ้น ดาวศุกร์กลับดูคล้ายแฝดตัวร้าย มันปกคลุมด้วยเมฆทึบที่เป็นกรดกำมะถัน และพื้นผิวก็ร้อนแผดเผาด้วยอุณหภูมิเกือบ 500 องศาเซลเซียส ร้อนมากพอที่จะหลอมตะกั่วได้ และความดันชั้นบรรยากาศ 92 เท่าของความดันโลกที่ระดับน้ำทะเล
แม้จะรู้ว่ามันมีสภาวะที่สุดขั้วเช่นนี้มาหลายสิบปี แต่นักดาราศาสตร์ก็สืบสวนว่าดาวศุกร์เคยมีมหาสมุทรของเหลวที่เหมาะสมที่จะค้ำจุนชีวิตหรือไม่ หรือจะมีสิ่งมีชีวิตบนอากาศในรูปแบบที่พิสดารใดๆ ในเมฆหนานี้ในปัจจุบัน หรือไม่
เราไม่ทราบแน่ชัดว่าดาวศุกร์ค้ำจุนหรือเคยค้ำจุนชีวิตได้หรือไม่ จนกว่าเราจะส่งยานไปในช่วงสิ้นทศวรรษนี้ Tereza Constantinou นักศึกษาปริญญาเอกที่สถาบันดาราศาสตร์ เคมบริดจ์ กล่าว แต่จากที่มันไม่น่าจะเคยมีมหาสมุทร ก็ยากที่จะจินตนาการว่าดาวศุกร์จะเคยค้ำจุนสิ่งมีชีวิตอย่างที่พบบนโลกได้ ซึ่งต้องการน้ำในสภาพของเหลว
เมื่อสำรวจหาสิ่งมีชีวิตในแห่งหนอื่นในกาแลคซีของเรา นักดาราศาสตร์มุ่งเป้าไปที่ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์แม่ในเขตเอื้ออาศัยได้(habitable zone) ซึ่งมีอุณหภูมิที่เหมาะสมที่จะมีน้ำของเหลวปรากฏบนพื้นผิวดาวเคราะห์ได้ ดาวศุกร์จึงให้ขีดจำกัดว่าเขตเอื้ออาศัยได้รอบดาวฤกษ์หนึ่งๆ จะอยู่ที่ไหน
แม้ว่ามันจะเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด แต่ดาวศุกร์ก็มีความสำคัญต่อวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์นอกระบบเนื่องจากมันให้โอกาสอันเป็นอัตลักษณ์ในการสำรวจดาวเคราะห์ที่พัฒนาอย่างแตกต่างอย่างมากกับโลกของเรา ซึ่งอยู่ที่ขอบของเขตเอื้ออาศัยได้พอดี Constantinou กล่าว
แบบจำลองสามมิติที่สร้างจากคอมพิวเตอร์แสดงพื้นผิวดาวศุกร์ ใกล้ยอดของ Maat Mons หนึ่งในสถานที่บนดาวเคราะห์ที่อาจจะมีกิจกรรมภูเขาไฟในตอนนี้ การปะทุภูเขาไฟและก๊าซที่พ่นออกมากลายเป็นหนึ่งในชิ้นส่วนปริศนาความเป็นมาของดาวศุกร์
มีทฤษฎีหลัก 2 อย่างที่อธิบายว่าสภาวะบนดาวศุกร์อาจจะพัฒนาเป็นมาอย่างไร ตั้งแต่ที่มันก่อตัวเมื่อ 4.6 พันล้านปีก่อน ข้อแรกก็คือสภาวะบนพื้นผิวดาวศุกร์ครั้งหนึ่งเคยแย็นพอที่จะมีน้ำของเหลวได้ แต่เกิดปรากฏการณืเรือนกระจกกู่ไม่กลับ(runaway greenhouse effect) จากกิจกรรมภูเขาไฟทั่วดาวเคราะห์ เป็นสาเหตุให้ดาวเคราะห์ร้อนขึ้นเรื่อยๆ ทฤษฎีที่สองก็คือ ดาวศุกร์ก่อตัวขึ้นมาก็ร้อนแล้ว และไม่เคยมีน้ำของเหลวควบแน่นบนพื้นผิวของมันได้เลย
ทั้งสองทฤษฎีมีพื้นฐานมาจากแบบจำลองภูมิอากาศ แต่เราต้องการจะใช้เส้นทางอื่นโดยมีพื้นฐานจากการสำรวจองค์ประกอบเคมีในชั้นบรรยากาศดาวศุกร์ในปัจจุบัน Constantinou กล่าว เพื่อรักษาให้ชั้นบรรยากาศดาวศุกร์เสถียร สารเคมีใดๆ ที่ถูกดึงออกจากชั้นบรรยากาศก็น่าจะถูกเติมเข้าไปด้วย เนื่องจากภายในและภายนอกดาวเคราะห์มีการสื่อสารทางเคมีที่คงที่ต่อกันและกัน
นักวิจัยคำนวณอัตราการทำลายน้ำ, คาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนิลซัลไฟด์ ปัจจุบันในชั้นบรรยากาศดาวศุกร์ ซึ่งจะต้องถูกเติมโดยก๊าซจากภูเขาไฟเพื่อรักษาให้ชั้นบรรยากาศเสถียร การเติมก๊าซเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโดยกิจกรรมภูเขาไฟ กลายเป็นหน้าต่างสู่ภายในของดาวเคราะห์หินอย่างดาวศุกร์ เมื่อแมกมาเอ่อขึ้นจากชั้นแมนเทิลขึ้นสู่พื้นผิว มันจะปล่อยก๊าซจากส่วนที่ลึกในดาวเคราะห์ออกมาด้วย
พื้นที่ภูเขาไฟใน Sif Mons(ในเขตสีแดง) ช่วยให้ภายในดาวเคราะห์มีปฏิสัมพันธ์กับชั้นบรรยากาศได้
บนโลก การปะทุภูเขาไฟเกือบทั้งหมดเป็นไอ เนื่องจากภายในโลกที่อุดมไปด้วยน้ำ แต่จากองค์ประกอบก๊าซภูเขาไฟที่จำเป็นต่อการค้ำจุนชั้นบรรยากาศดาวศุกร์ นักวิจัยพบว่าก๊าซภูเขาไฟบนดาวศุกร์มีไอน้ำมากที่สุดที่ 6% เท่านั้น การปะทุที่แห้งอย่างนี้บอกถึงภายในของดาวศุกร์ แหล่งของแมกมาที่ปล่อยก๊าซภูเขาไฟออกมาก็แทบไม่มีน้ำเช่นกัน
หรือถ้าดาวศุกร์เคยมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่ งานของเราก็บอกว่า มันไม่เคยควบแน่นกลายเป็นมหาสมุทรของเหลวได้เลย แต่ดาวศุกร์ในยุคต้นน่าจะมีชั้นบรรยากาศที่มีไอน้ำจำนวนมากแทน Constantinou อธิบาย เมื่อเวลาผ่านไปหลายพันล้านปี ไอน้ำในชั้นบรรยากาศนี้ก็น่าจะถูกทำลายด้วยแสง(photodissociation) แยกโมเลกุลน้ำออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน โดยไฮโดรเจนซึ่งเบากว่าจะค่อยๆ หนีออกสู่อวกาศ สุดท้ายจะทำให้ดาวศุกร์มีสภาวะแห้งแล้งอย่างที่เป็นทุกวันนี้
ในช่วงสิ้นทศวรรษนี้ ปฏิบัติการดาวินชี(DAVINCI) ของนาซาจะสามารถทดสอบและยืนยันว่าดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่แห้งแล้งทารุณต่อชีวิตมาอย่างยาวนานจริงหรือไม่ โดยยานจะบินผ่านหลายครั้งและส่งโพรบลงสู่พื้นผิว แม้ว่าโพรบนี้ไม่ได้ออกแบบมาให้รอดพ้นการทำลายในระหว่างลดระดับลง แต่โอกาสบนพื้นผิวดาวศุกร์เพียง 7 วินาทีที่ได้ก็คุ้มค่า ผลสรุปที่ได้น่าจะช่วยนักดาราศาสตร์ตีวงเป้าหมายให้แคบลงเมื่อสำรวจหาดาวเคราะห์ที่อาจจะค้ำจุนชีวิตในวงโคจรรอบดาวฤกษ์อื่น
สมมุติฐานว่าดาวศุกร์อาจเคยมีมหาสมุทรอยู่ อาจต้องสั่นคลอนเมื่องานวิจัยใหม่พบว่าดาวศุกร์ไม่น่าจะมีน้ำของเหลวควบแน่นบนพื้นผิวได้เลย
ถ้าดาวศุกร์เคยมีความสามารถเอื้ออาศัยได้ในอดีต มันก็น่าจะหมายความว่าดาวเคราะห์อื่นๆ ที่เราได้พบแล้ว ก็อาจจะเอื้ออาศัยได้ด้วยเช่นกัน เครื่องมืออย่างกล้องเวบบ์เหมาะสมที่สุดในการศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดาวฤกษ์แม่ คล้ายกับดาวศุกร์ แต่ถ้าดาวศุกร์ไม่เคยเอื้ออาศัยได้เลย ก็ทำให้ดาวเคราะห์ที่คล้ายดาวศุกร์ในแห่งหนอื่น ก็มีความเป็นไปได้น้อยลงที่จะเป็นว่าที่สถานที่ที่มีสภาวะที่เอื้ออาศัยได้
เราน่าจะอยากพบว่าดาวศุกร์ครั้งหนึ่งเคยเป็นดาวเคราะห์ที่คล้ายกับโลกมากกว่านี้ ดังนั้นก็จึงเป็นเรื่องเศร้าที่ได้พบว่าไม่เป็นอย่างนั้น แต่สุดท้ายแล้ว ก็มีประโยชน์มากกว่าในการมุ่งเป้าสำรวจหาดาวเคราะห์ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะค้ำจุนชีวิต อย่างน้อยก็ชีวิตในแบบที่เรารู้จัก
แหล่งข่าว
phys.org
: astronomers deal a blow to theory that Venus once had liquid water on its surface
space.com
: did Venus ever have oceans to support life, or was it “born hot”?
sciencealert.com
: we thought Venus was like Earth gone bad. What if we were wrong?
ดาราศาสตร์
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย