เมื่อวาน เวลา 14:50 • ข่าว

โบคาไวรัส อันตรายต่อเด็กอย่างไร

นอกจากโนโรไวรัสที่กำลังระบาดอยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว(จริงๆก็หนาวแล้วแหละ) แบบนี้ อีกชื่อที่ได้ยินไม่บ่อย แต่แอบน่ากังวลไม่น้อยกว่า โนโรสไวรัส ก็คือเชื้อที่ก่อโรคในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร แต่อันตรายร้ายแรงกว่าที่คิดอย่าง "โบคาไวรัส" ที่เรียกได้ว่ามาไม่มาก แต่แอบน่ากลัวเลยทีเดียว
โบคาไวรัส (Human Bocavirus: HBoV) เป็นไวรัสในกลุ่ม พาโวไวรัส (Parvovindae) พบครั้งแรกเมื่ปี พ.ศ.2548 จากเด็กที่มีอาการโรคทางเดินหายใจในสวีเดน เป็น single-stranded DNA ขนาดเล็ก 5,300 นิวคลิโอไทล์ ก่อโรคในมนุษย์เท่านั้น ปัจจุบันมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ HBoV1 ก่อโรคระบบทางเดินหายใจอักเสบทั้งส่วนบนและส่วนล่างได้แก่ คออักเสบ เยื่อแก้วหูอักเสบหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบส่วน HBoV 2 ถึง 4 มักก่อโรคระบบทางเดินอาหารอักเสบ
โบคาไวรัสมักก่อโรคในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี สามารถติดเชื้อได้โดยการหลั่งสารช่วยหายใจจากจมูก ลำคอ และปาก สามารถตรวจพบเชื้อในทางเดินอาหารได้บ้าง แต่น้อยกว่าทางเดินหายใจ เชื้อสามารถอยู่ในทางเดินหายใจได้นานสุดถึง 75 วัน
แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น ไอ น้ำมูกไหล มีไข้ อาจมีอาการทางระบบทางเดินอาหารเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงได้บ้าง
ในร่ายที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการ หายใจลำบาก หายใจดังเสียงฮืดๆ นอกจากนี้ โบคาไวรัสสามารถก่อโรคแทรกซ้อนในระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาจเป็นอันตรายถึงแกชีวิตได้
จากการศึกษาพบว่าเด็กปกติอายุ 18 ถึง 24 เดือนเคยติดเชื้อและมีภูมิคุ้มกันแล้วร้อยละ 40 เมื่ออายุมากกว่า 2 ปีภูมิคุ้มกันเพิ่มเป็นร้อยละ 99 (โดยเฉลี่ยเด็กมีภูมิคุ้มกันร้อยละ 76.6 นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อไวรัสโบคายังอาศัยอยู่ในทางเดินหายใจโดยไม่ก่อโรคและไม่มีอาการแสดงทางคลินิกได้ร้อยละ 20-40
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่เฉพาะเจาะจงกับโบคาไวรัส เป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาเพื่อลดไข้ ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ และอยู่บ้านให้ห่างจากคนอื่นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
ถึงแม้จะบอกว่ายังไม่มีการรักษาจำเพาะเจาะจง แต่การอยู่บ้านแล้วกินยาแก้ไข้เฉยๆก็เป็นเรื่องที่อันตราย เพราะเราไม่สามารถแน่ใจได้เลยว่าเราเป็นโบคาไวรัสหรือเปล่า เนื่องจากช่วงนี้โควิดก็ยังระบาดเพิ่มขึ้น อีกทั้งการไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
โบคาไวรัสป้องกันได้ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ป้องกันการติดเชื้อ กินอาหารที่สุก สะอาด หมั่นล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาด(โบคาไวรัสเป็น non-Enveloped virus เจลแอลกอฮอล์ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ) หลีกเลี่ยงใช้สิ่งของ และการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
เหนือสิ่งอื่นใด หากมีอาการดังกล่าว อย่านิ่งนอนใจ รีบพาไปพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
อ้างอิง
โฆษณา