22 ธ.ค. 2024 เวลา 00:39 • ความคิดเห็น
คำนี้ฮิตกันมากเลยนะคะ ในหมู่พ่อแม่ของคนรุ่น Gen BB & Gen X ซึ่งสองเจนนี้ ปัจจุบันเป็นคนรุ่นกลางเก่ากลางใหม่ อาจเป็นพ่อแม่ของ Gen Y-Z บางคนขยับไปเป็นปู่ย่าตายายของ Gen Alpha
คำๆนี้สะท้อนคตินิยมแบบ Ageism ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบอาวุโสนิยม (Seniority) ที่สังคมไทยยึดติดมานาน (พอๆกับคำว่า กตัญญู พระในบ้าน เป็นพี่ต้องเสียสละ เป็นน้องต้องเคารพพี่ เหล่านี้เป็นต้น) โดยอาจไม่ได้ดูบริบทแวดล้อมอย่างรอบด้าน
หลายคนเอาคำๆนี้ไปพูดกับลูกหลานตัวเอง ด้วยเหตุผลนานาประการ เช่น ตอนละอ่อนเคยเชื่อแล้วรอด เพราะตอนนั้นยังคิดอะไรไม่ค่อยเป็น ไม่ค่อยรู้อะไรมาก ไม่มีทางเลือกมากนัก ฯลฯ
ส่วนพวกหัวกบฎ ตอนวัยรุ่นวัยฮอร์โมนอาจทำได้แค่ฮึดฮัดฟึดฟัด ครั้นพอโตมาหน่อยก็เลยต่อต้าน หรือไม่อีกทีก็..พอแก่ตัวลงก็ดันลืมไปว่าเคยหัวร้อนเพราะคำๆนี้ แล้วก็ดั๊นเอามาพูดซ้ำเหมือน déjà vu
มีคำอธิบายในทางจิตวิทยาว่า เมื่อเราเชื่อในอะไรสักอย่าง สมองคนเราจะมองหาเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อนั้น ในทางกลับกัน ถ้าไม่เชื่อ สมองก็จะมองหาแง่เพื่อโต้แย้งอยู่เสมอ
โดยสรุปคือ..
จะเชื่อฟัง ปฏิบัติตาม หรือต่อต้าน โต้แย้ง ฯลฯ
ล้วนเป็นไปตามชุดประสบการณ์ชีวิตของคนๆนั้นนั่นแล
ไม่ได้เกี่ยวกับว่า ใครเป็นคนพูด เคยอาบน้ำร้อน นอนมุ้ง เสื่อผืนหมอนใบ หรือเกิดก่อนเกิดหลัง!!
อันนี้แถมให้ค่ะ
ในฐานะที่เป็นคนรุ่นกลางเก่ากลางใหม่ เป็นทั้งคนที่เคยเชื่อและเคยต่อต้าน เราได้ข้อสรุปกับตัวเองว่า..
"ถ้าพอจะรู้ตัวว่าวิจารณญาณของตน ยังไม่แข็งแกร่งหรือมั่นคงพอ ก่อนจะเชื่อหรือต่อต้านคำพูดของใคร ให้ดูว่าคนที่พูดนั้นน่ะ ชีวิตเค้าเป็นยังไงในปัจจุบัน แล้วเราอยากมีชีวิตแบบเขารึป่าว"
1
แค่นี้ก็พอจะบอกได้ว่า ผู้ใหญ่คนนั้นสามารถเป็นแบบอย่างให้เราได้หรือไม่ คำพูดของเขา เราควรเก็บไปคิดต่อหรือปล่อยผ่าน
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆเช่น ป้าข้างบ้าน ผัวป้าเป็นลุงขี้เมาตับแข็ง ลูกชายป้าเป็น jobless ถึงป้าจะอาบน้้ำร้อนน้ำเดือดมาก่อน ก็คงไม่มีใครให้ค่ากับคำพูดของแกเท่าไหร่
โฆษณา