Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 08:00 • ธุรกิจ
คนไทยกินกาแฟ ‘เพื่อตื่น’ เน้นอเมริกาโน่ ส่วนต่างชาติชอบท็อปปิ้งท่วมๆ กิน 1 ครั้ง เฉียด 200 บาท/แก้ว
ตลาดกาแฟแข่งขันสูง แต่ “The Coffee Club” ยังโตต่อ ประเมินสิ้นปีกำไรบวก 10% ปีหน้าเล็งเปิดเพิ่มอีก 4-5 สาขา เผยอินไซต์คนไทยชอบทานกาแฟเบสิค “อเมริกาโน่-ลาเต้-เอสเพรสโซ” สวนทางต่างชาติเน้นเมนู “Overload” ท็อปปิ้งฉ่ำ ผลไม้ท่วมๆ ราคาเฉียด 200 บาท/แก้ว
สมรภูมิร้านกาแฟดุเดือดตั้งแต่เชนใหญ่ไปจนถึงร้านค้าขนาดเล็ก หากดูจากภาพรวมการแข่งขันในปีที่ผ่านมาอาจดูเป็น “งานช้าง” สำหรับร้านที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ทว่า ระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา “เดอะ คอฟฟี่ คลับ” (The Coffee Club) กลับพลิกสถานการณ์จากภาวะขาดทุนสะสมเฉียด “800 ล้านบาท” สู่การทำกำไรได้ครั้งแรกในรอบ 7 ปี โดยมี “นงชนก สถานานนท์” ผู้จัดการทั่วไป เดอะ คอฟฟี่ คลับ ทำการปรับแผน-ปิดสาขาบางส่วนในช่วงวิกฤติแพร่ระบาดใหญ่ จนทำให้ผลประกอบการดีขึ้นต่อเนื่อง
จากจำนวน 70 สาขา ก่อนปี 2562 หัวเรือใหญ่ “เดอะ คอฟฟี่ คลับ” ตัดสินใจปิดไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง จนเหลืออยู่ราวๆ 30 แห่ง กระทั่งปัจจุบันหลังจากทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง “เดอะ คอฟฟี่ คลับ” มีหน้าร้านอยู่ทั้งสิ้น 42 แห่ง พร้อมกับสาขาใหม่แกะกล่องที่ตั้งอยู่บริเวณด้านล่างหอสมุดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือสาขา MDCU
โดยความพิเศษของสาขานี้ยังเป็นการเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง พร้อมกับราคากาแฟที่ถูกกว่าสาขาอื่นๆ เริ่มต้นที่แก้วละ 60 บาท จากปกติ 120 บาท และหากเป็นบุคลากรทางการแพทย์จะได้รับส่วนลดไปอีกเหลือเพียงแก้วละ 48 บาทเท่านั้น
ทั้งนี้ ผู้บริหารเปิดเผยอินไซต์พฤติกรรมการบริโภคกาแฟให้ฟังว่า คุณหมอชอบกินกาแฟคั่วอ่อนมากกว่าคั่วเข้ม อาจเป็นเพราะต้องกินวันละหลายแก้ว ส่วนภาพรวมของคอกาแฟในสาขาอื่นๆ ที่พบ โดยเฉพาะสาขาที่อยู่ภายในตึกสำนักงานมักสั่งกาแฟเบสิคเป็นหลัก อาทิ อเมริกาโน่ เอสเพรสโซ ลาเต้ คาปูชิโน และแฟลตไวท์ คนกลุ่มนี้เน้นกินกาแฟแบบ “Functional” คือกินเพื่อให้ตื่นพร้อมทำงาน เป็นกิจวัตรที่ตื่นเช้ามาต้องกินกาแฟ ฉะนั้น ราคากาแฟที่คนทำงานสั่งจะไม่แพงมาก
ตรงกับข้ามกับสาขาต่างจังหวัดที่มีกลุ่มนักท่องเที่ยวเยอะ ซึ่งเมนูขายดีจะอยู่ในกลุ่ม “Dessert Drink” หนักไปทางท็อปปิ้ง ผลไม้ ไอศกรีม ออกแนวเมนู “Overload” รวมถึงเมนูปั่นก็จะมียอดสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมาก กระทั่งเมนู “Acai Bowl” ก็พบว่า ขายดีที่สาขาต่างจังหวัดมากกว่าเช่นกัน บางแห่งมีออเดอร์เกิน 20 ถ้วยต่อวัน สูงสุดอยู่ที่ 30 ถ้วยต่อวันก็มี
มองในภาพรวมแล้ว “เดอะ คอฟฟี่ คลับ” ก็ดูจะไปได้สวย อยู่ในช่วง “ขาขึ้น” มากกว่าปีไหนๆ ผู้บริหารเปิดเผยกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ปีนี้มีการเติบโตเป็นบวก เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วราวๆ 9% ที่สำคัญยังมีกำไรมากกว่าเดิมอย่างน้อย 20 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่ปี 2566 “เดอะ คอฟฟี่ คลับ” ผ่านจุดคุ้มทุนไปได้แล้ว
ปีนี้ “นงชนก” แง้มว่า น่าจะได้กำไรเฉียดๆ “20 ล้านบาท” ระบุว่า ขณะนี้ธุรกิจกลับมาเป็นแบรนด์ที่มีกำไรสูงได้แล้ว หลักๆ ก็มาจากการตัดสินใจปิดสาขาในช่วงล็อกดาวน์มากกว่าครึ่งหนึ่ง จาก 70 แห่ง เหลือเพียง 30 แห่ง จากนั้น จึงค่อยๆ ศึกษา เพื่อทยอยเปิดบนโลเกชันที่มีศักยภาพมาเรื่อยๆ
ด้านความท้าทายในปีหน้าสำหรับตลาดกาแฟ “นงชนก” ให้ความเห็นว่า มีการแข่งขันที่สูงขึ้นจริง เรื่องวัตถุดิบเมล็ดกาแฟก็เป็นอีกชาเลนจ์ที่ต้องเจอ แบรนด์ได้หาทางบาลานซ์ไปพร้อมๆ กับการพิจารณาอินไซต์ของกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากมุมมองต่อร้าน “เดอะ คอฟฟี่ คลับ” จากฝั่งผู้บริโภค ยังรู้สึกว่า ร้านขายกาแฟแพง การขึ้นราคาจึงอาจไม่ใช่คำตอบ ตรงไหนที่ยังไหวก็จะยังแบกรับไปก่อน เพราะร้านเองก็ต้องแข่งขันกับกาแฟเจ้าอื่นๆ ในท้องตลาดด้วย
อ่านต่อ:
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1158838
#กรุงเทพธุรกิจ
บันทึก
10
3
10
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย