22 ธ.ค. 2024 เวลา 20:17 • การตลาด

รู้จักกลยุทธ์น่านน้ำหลากสี Ocean Strategy (Red-Blue-Green-White)

การวางแผนกลยุทธ์การตลาดแบบ Ocean Strategy
หลายคนคงเคยได้ยินการวางแผนกลยุทธ์การตลาดแบบ Ocean Strategy หรือ กลยุทธ์น่านน้ำ สามารถแบ่งได้หลายสี อาทิ Red Ocean, Blue Ocean, Green Ocean และ White Oceanทั้งนี้ ผู้บัญญัติศัพท์คำว่า Red Ocean และ Blue Ocean คือ Chan Kim & Renée Mauborgne เพื่อกำหนดขอบเขตการกลยุทธ์การตลาดแต่ละประเภท
กลยุทธ์ Red Ocean คือ
กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง หรือ Red Ocean คือการทำธุรกิจในอุตสาหกรรมที่มีความต้องการสูง มีคู่แข่งจำนวนมาก และแข่งขันดุเดือด ทำให้ผู้ประกอบการต้องแข่งขันกันด้วยราคาเป็นหลัก พยายามลดต้นทุน เน้นขายสินค้าราคาถูก และจำนวนมาก หากมองภาพรวมเป็นเค้ก 1 ก้อน ที่ต้องแบ่ง 10 ส่วน โดยที่ลูกค้ามีจำนวนเท่าเดิม ใครๆ ก็อยากได้เค้กก้อนใหญ่ที่สุด นั่นแหละ Red Ocean
จุดเด่นของ Red Ocean
  • แข่งขันท่ามกลางคู่แข่งมหาศาล
  • ใช้ประโยชน์จากความต้องการที่มีอยู่แล้ว
  • ให้ความสำคัญกับต้นทุนและกำไร
  • เน้นแข่งขันด้วยราคา
  • ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย โปรโมชัน ลด-แลก-แจก-แถม
กลยุทธ์ Blue Ocean คือ
หาก Red Ocean คือกลยุทธ์ที่แข่งขันอย่างอย่างดุเดือด Blue Ocean หรือกลยุทธ์น่านน้ำสีฟ้า เป็นการทำธุรกิจที่แสวงหาความแตกต่าง ด้วยครีเอทสินค้าใหม่ขึ้นมา หรือพัฒนาสินค้าเดิมที่มีอยู่ให้มีมูลค่ามากขึ้น ซึ่งจะมีคู่แข่งไม่มากเมื่อเทียบกับกลยุทธ์ในน่านน้ำอื่นๆ การจะเติบโตในกลยุทธ์ Blue Ocean ผู้ประกอบการต้องวางแผนอย่างดี รู้จักคู่แข่งและผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง เพื่อพัฒนาสินค้าที่ตรงความต้องการ และเหนือคู่แข่ง
จุดเด่นของ Blue Ocean
  • บุกตลาดใหม่ที่คู่แข่งน้อย
  • ไม่ต้องโฟกัสคู่แข่ง แต่ต้องพัฒนาหรือต่อยอดสินค้าให้ดียิ่งขึ้น
  • สร้างความต้องการใหม่
  • มุ่งเพิ่มมูลค่าสินค้า
  • พยายามลดต้นทุน เช่น Nintendo เมื่อบริษัทต้องการลดต้นทุน สิ่งแรกที่ทำคือ การตัดบางสิ่งบางอย่างออก ทาง Nintendo ลดคุณภาพการประมวลผลและกราฟิก และในเวลาเดียวกัน Nintendo ได้เปิดตัวจอยเล่นเกมแบบไร้สายเพื่อสร้างความแตกต่างกับสินค้าที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น
กลยุทธ์ Green Ocean คือ
ทั้ง 2 กลยุทธ์ข้างต้นจะเน้นที่การขาย ส่วน Green Ocean หรือกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว จะเน้นที่ความยั่งยืน และสร้างภาพลักษณ์องค์กร
และเมื่อมองจากเทรนด์ความชอบและพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคนี้ที่มักเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือดีต่อโลกใบนี้ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า, แก้วกาแฟย่อยสลายได้ – หลอดกระดาษ, เสื้อผ้าที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล หรือเครื่องสำอางที่ไม่ทดลองกับสัตว์ เป็นต้น
Green Ocean อาจไม่ใช่กลยุทธ์ที่แข่งขันกันรุนแรงในด้านราคาหรือโปรโมชั่น แต่เป็นการแข่งขันในแง่ภาพลักษณ์องค์กร ด้วยการสร้างความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม จริงๆ แล้ว Green Ocean ถือเป็นการทำ CSR รูปแบบหนึ่ง ที่สร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภครู้ว่าองค์กรมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และไม่ได้มุ่งหวังที่ผลกำไรอย่างเดียว
ธุรกิจที่ต้องการนำกลยุทธ์ Green Ocean มาใช้ นั้นต้องมองอย่างรอบด้าน และไม่ได้จำกัดแค่การทำ CSR อย่างเดียว แต่ยังนำมาใช้ได้อีกหลายส่วน อาทิ Green Design, Green Logistics, Green Marketing เป็นต้น
โดยรวมแล้วกลยุทธ์ Green Ocean สามารถตอบสนองความต้องการผู้บริโภคที่ต้องการเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และตอบแทนสังคม
จุดเด่นของ Green Ocean
  • เป็นธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดสนใจสิ่งแวดล้อม
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้องค์กร
  • เน้นการสร้างรายได้จากการพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์กลยุทธ์
  • สามารถทำธุรกิจได้ปกติ โดยที่ทำ CSR ร่วมด้วย
กลยุทธ์ White Ocean คือ
เมื่อเปรียบเทียบกับทั้ง 4 กลยุทธ์ White Ocean หรือ กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว เป็นกลยุทธ์ที่ทุกองค์กรควรมีมากที่สุด เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำธุรกิจ ทั้งการมีจริยธรรม คุณธรรม จรรยาบรรณ ซื่อสัตย์ และสุจริต
โดยสิ่งเหล่านี้มักถูกบรรจุอยู่ในวิสัยทัศน์ หรือพันธกิจขององค์กรอยู่แล้ว เป็นแนวคิดการทำงานและการหารายได้บนพื้นฐานความดี
จุดเด่นของ White Ocean
  • สะท้อนวิสัยทัศน์ขององค์กร
  • เน้นความยั่งยืน
  • เป็นธุรกิจไม่มุ่งหวังผลกำไร เน้นให้ประโยชน์ต่อสังคม
  • Gen Y และ Gen Z ที่ให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมหนึ่งใน
ข้อมูลจาก
โฆษณา