5 ชั่วโมงที่แล้ว • ภาพยนตร์ & ซีรีส์

ภาพยนต์ว่ายิ่งใหญ่ตลอดการแล้ว เบื้องหลังยิ่งไปกันใหญ่

เชื่อหรือไม่ว่า...The Lord of the Rings (LOTR) เป็นหนังที่ถ่ายพร้อมกันทีเดียวสามภาครวด แล้วค่อยๆ Release ออกฉายทีละภาคในปี 2001, 2002 และ 2003
และเชื่อหรือไม่ว่า...ค่ายหนัง New Line Cinema ยอมทุ่มเงินถึงกว่าร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และวางใจให้ผู้กำกับ ‘ปีเตอร์ แจ็คสัน’ รับผิดชอบภาพยนต์ฟอร์มยักษ์เรื่องนี้ ทั้งที่เป็นภาพยนต์ฟอร์มยักษ์เรื่องแรกของผู้กำกับแจ็คสันเอง แถมก่อนหน้ายังมีโชว์ฝีมือกำกับหนังอย่าง ‘The Frighteners (1996)’ ไปซึ่งเรียกได้ว่ายังไม่เวิร์คเท่าไหร่ทั้งรายได้ และคำวิจารณ์
ที่สำคัญกว่าคือค่ายหนังยังจะกล้าทุ่มเงินนี่สิ! ทั้งที่ทางค่ายกำลังร่อแร่จะเอาตัวไม่รอดอยู่แล้ว กับการไฟเขียวสร้างหนังแฟนตาซีสเกลมหึมา ทั้งที่ความนิยมในตอนนั้นมักจะเป็นหนังแนวไซ-ไฟ (Star Wars: Episode I - The Phantom Menace) แอคชั่ค/ไซ-ไฟ (The matrix, Independence day, Amageddon) หรือไม่ก็แนวดราม่ากึ่งหายนะ (Titanic)
เรียกได้ว่าเดิมพันหมดหน้าตัก แบกรับทุกความเสี่ยง
แต่ผลที่ได้กลับเกินคาดเมื่อโปรเจคดังกล่าวได้สร้างภาพยนต์อมตะขึ้นหิ้งตลอดการ
ด้วยทุนสร้าง 281 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สามารถกวาดรายได้สูงถึง 2,911 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  รวมถึงการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์รวมกันมากถึง 30 รางวัล ซึ่งสามารถคว้ารางวัลดังกล่าวมาครองได้สำเร็จถึง 17 รางวัล
นี่คงจะเป็น...ความบ้าบิ่นของการลงทุนสร้างหนังซักเรื่องที่ไม่เคยมีมาก่อน และคงไม่มีให้เห็นกันอีกง่ายๆ แน่
ไม่แปลกที่หนังสือแนวแฟนตาซีขึ้นหิ้งตลอดการจะอยากมีใครซักคนหยิบมาทำเป็นหนังซักเรื่อง แต่ลองคิดเมื่อ 20 ปีก่อนที่เทคโนโลยีไม่ได้มาไกลขนาดนี้ ใครมันจะไปกล้าหยิบมาทำ จนกระทั่งผู้กำกับสุดทะเยอทะยาน ‘ปีเตอร์ แจคสัน’ ตัดสินใจว่ามันถึงเวลาของภาพยนต์เรื่องนี้แล้ว ปัญหาก็คือ...
ในตอนนั้น ปีเตอร์ แจคสันเป็นเพียงผู้กำกับหนังทุนต่ำจากแดนไกลจากนิวซีแลนด์ ผลงานกำกับที่สร้างชื่อคือภาพยนต์สยองขวัญ ‘Bad taste (1987)’ และหนังดราม่าวิเคราะห์ตัวละครอย่าง ‘Heavenly Creature (1994)’ ทำให้เป็นที่จับตามอง จนถูกเรียกให้มากำกับหนังฮอลลีวูดฟอร์มกลางๆ อย่าง The’ Frighteners (1996)’ ซึ่งผลคือล้มเหลว คำวิจารณ์ก็ค่อนข้างเลวร้ายอยู่ที่เดียว
‘ผมเชื่อเรื่องการที่คนเราต้องผลักดันตัวเองอยู่ตลอดเวลา และในฐานะของคนทำหนัง ผมก็คิดว่า The Lord of the Rings  เปรียบเสมือนจอกศักดิ์สิทธิ์ที่อัศวินอยากแสวงหามาให้ได้ หากครั้งหนึ่งในชีวิตผมได้ทำมันและทำอย่างน่าภาคภูมิใจ ผมก็คงพร้อมจะเกษียณจากวงการได้ทันทีเลย’
คำอธิบายง่ายๆ ของแจ็คสันที่ทำให้ผู้กำกับคนนี้ยังสู้ต่อเดินหน้าไฟเขียวให้กับโปรเจคในฝันของตัวเอง
แน่นอนว่าแจ็คสันไม่ใช่คนแรกที่คิดดัดแปลงนิยายเรื่องนี้ แต่นั่นแหละ หลายคนยังกังวลเรื่องทุนสร้าง และความยากในการดัดแปลงด้วย จนหลายครั้งก็พยายามที่จะปั้นเรื่องออกมาให้ได้ภาคเดียว ซึ่งแจคสันรู้ว่าอย่างน้อยเลยมันต้องมี 2 ภาค
หนังเหลือภาคเดียวนี่นึกภาพไม่ออกเลย จะเอาอะไรไปยัดยังไง แถบจะเรียกว่าต้องตัดพาร์ทต้นไม้เอนท์ และโรฮันทิ้งได้เลย หลังจากเสนอโปรเจคให้ค่ายหนังเดิมที่เคยทำด้วย แล้วเจ้าของบอกว่ามันให้ได้แค่หนังภาพเดียว แจ็คสันก็ตระเวรขายหนังให้กับสตูดิโออื่นเลย เรียกว่าใช้ความพยายามอย่างมาก (อย่างที่เล่าไปว่าหนังแฟนตาซีมันไม่ใช่เทรนตอนนั้น) จนมาได้ค่ายหนังใจป๋าอย่าง New Line Cinema ซึ่งสภาพกำลังร่อแร่ แต่ตัวซีอีโอ บ็อบ เชย์ กลับไฟเขียวให้กับโปรเจคนี้
ถึงขั้นบอกว่ามันจะทำสองภาคได้ไง ต้องเป็นสามภาคสิ
‘Thank god for that decision’ Christopher lee (คนแสดงซารูแมน) พูดในเบื้องหลังการถ่ายทำ
เงินทุนก็ให้ อนุมัติให้ต่อถึงสามภาคอีก งานนี้ไม่ได้มาง่าย ๆ เรียกว่าหลังไฟเขียว ปีเตอร์ แจ็คสันก็ทุ่มสุดตัวเลย
แจ็คสันเล่าว่า การทำหนังสามภาคพร้อมกันนี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ในระหว่างที่ถ่ายทำภาคแรก ก็ต้องตรวจสอบชุดตัวละครของภาคสองแล้วว่าโอเคมั้ย แล้วยังต้องดูฉากของภาคสามอีกว่าเป็นยังไงมั่ง สมองต้องทำงานกลับไปกลับมาแบบนี้ตลอด ระหว่างนั่งถ่ายฉากหลัก ก็ต้องหันไปดูจอมอนิเตอร์อีกตัวถ่ายบรรยากาศกองสอง ยกหูโทรศัพท์คุยกับผู้กำกับกองสองเสร็จ ก็กลับมาถ่ายฉากทเดิมต่อ...งานเป็นแบบนี้อยู่ 9 เดือน ซึ่งมันคงจะเกิดขึ้นเพียงครั้งแรก และครั้งเดียวในชีวิตผมแล้วแหละ!
หลังจากการถ่ายทำตลอด 15 เดือน ตัวอย่างแรกก็ได้เปิดตัวในวันที่ 27 เมษายน 2000 ซึ่งสร้างกระแสความตื่นเต้นกับหนังไตรภาคชุดนี้อย่างมาก และยิ่งขึ้นไปอีกในงานเทศกาลเมืองคานส์ 6 เดือนก่อนกำหนดฉายจริงของ The Fellowship of the Ring ในเดือนธันวาคม จากการฉายตัวอย่างหนังยาว 26 นาที เรียกได้ว่าได้รับเสียงตอบรับอย่างอบอุ่นยิ่งกว่าหนังในสายการประกวดอีก จนนั่นแหละหนังไตรภาคชุดนี้ก็ได้มากอบกู้สตูดิโอเล็กๆ นี้ได้อย่างสวยงาม
LOTR ได้มาปลุกกระแสหนังแฟนตาซีให้โลดแล่นบนจอภาพยนต์ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Narnia Eragon หรืออื่นๆ แต่ก็ใช่ว่าหนังทุกเรื่องจะรอดเสมอไป อย่างว่า หนังแฟนตาซีเป็นอะไรที่ทำยากมากจริงๆ อย่างสตูดิโอ New Line Cinema เองที่ได้ LOTR มาชุบชีวิต แต่สุดท้ายก็มาจบชีวิตด้วยหนังแฟนตาซีอย่าง The Golden Compass (2007)
1
นั่นเป็นเหตุผลให้การทุ่มทุนสร้างแบบหอบรับความเสี่ยงขนาดนี้ไม่น่าจะมีให้เห็นบ่อยๆ
ซึ่งต้องขอบคุณทีมงานสร้าง  LOTR จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นแรงศรัทธาของสตูดิโอ และผู้กำกับ การเคารพต้นฉบับ การเคารพแฟนหนังสือ ตัวแจ็คสันเองไม่ใช่แฟนหนังสือ LOTR มาตั้งแต่แรก แต่ก็เป็นคนที่รู้ว่าจะต้องทำหนังแฟนตาซีออกมาอย่างไร พยายามเคารพต้นฉบับที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นเรื่องราวก็ต้องมีการดัดแปลงเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายสำหรับผู้ชมอีกมากที่ยังไม่เคยรู้จักเรื่องนี้มาก่อนเช่นกัน
ที่มา
1. วาริน นิลศิริกุล. นิตยสาร The tales of Middle-earth: Everything about the hobbit & The Lord of the Rings: Middle-earth Movies.
2. นิตยสาร BIOSCOPE ฉบับต้อนรับภาคจบ  "The Return of the King”: 25 เหตุผลที่เราต้องรัก ปีเตอร์ แจ็คสัน. https://pantip.com/topic/32231483
โฆษณา