เอื้องคางอ้ม กล้วยไม้ที่สำรวจพบ ที่อุทยานแห่งชาติศรีพังงา จังหวัดพังงา

เรื่องไม่ลับฉบับนักวิจัย...รู้จักกล้วยไม้ป่า ความสวยงามที่ควรอยู่คู่ป่าเท่านั้น ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขอแนะนำให้รู้จักกับกล้วยไม้ป่าอีกชนิดหนึ่งนั่นคือ เอื้องคางอ้ม Polystachya concreta (Jacq.) Garay & H.R.Sweet
โดยกล้วยไม้ชนิดนี้สำรวจพบที่อุทยานแห่งชาติศรีพังงา จังหวัดพังงา ความสูงจากระดับน้ำทะเล 50 - 1,650 เมตร เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นเทียมรูปไข่ถึงรูปกรวย มี 2 หรือ 3 ข้อ
ใบ รูปขอบขนานถึงรูปแถบ กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติเมตร โคนแคบลงเป็นก้านใบแล้วคลี่ออกเป็นรูปกาบ ปลายมนหรือหยักไม่เท่ากัน
ช่อดอก แบบกระจะหรือแบบแยกแขนง ช่อดอก ออกที่ปลายยอด ตั้งขึ้น ดอก ดอกมี 3-8 ดอก ใบประดับรูปหอกแคบจนถึงเกือบเป็นกลีบ ยาว 2-5 มิลลิเมตร
ดอกสีเหลืองอ่อน ขนาด เล็ก ก้านดอกและรังไข่ยาว 8-12 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงด้านหลังเป็นรูปไข่กลับ ป้าน กลีบเลี้ยงด้านข้างเป็นรูปไข่กลับกว้าง กลีบดอก เป็นเส้นตรงรูปหอกกลับหรือรูปลิ่ม โคนกลีบหดเป็นก้ามสั้น 3 แฉก กลีบข้างโค้งเข้า รูปไข่กลับหรือรูปไข่กลับแคบ เล็ก กลีบกลางเป็น ทรงกลม ขอบหยักและกร่อนไม่สม่ำเสมอ ปลายกลีบเว้าลึก ส่วนกลางหนาขึ้น
ประเทศไทยพบตามป่าดิบเขา และป่า ดิบแล้ง ทุกภาคของประเทศช่วงเวลาในการออกดอก สิงหาคม – กันยายน
ที่มา : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
#ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติจังหวัดสุราษฎร์ธานี #เอื้องคางอ้ม #อุทยานแห่งชาติศรีพังงา #พังงา #กรมอุทยานแห่งชาติ
โฆษณา