เมื่อวาน เวลา 05:41 • หนังสือ

4 เทคนิคที่จะทำให้เรา"ต่อรองได้ดีขึ้น"

อ้างอิงจากหนังสือ:ต่อรองให้ได้ แบบไม่ถอย GETTING TO YES
ผู้เขียน: Roger Fisher,William Ury,Bruce Patton
การต่อรองเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว แต่หลายครั้งเรามักจะใช้วิธีการต่อรองที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความขัดแย้งจนทำลายความสัมพันธ์ลง
ในบทความนี้ดรีมจากเรียนรู้วันละเรื่อง จะมาชวนทุกท่านคุยถึง 4 เทคนิคที่จะทำให้เรา"ต่อรองได้ดีขึ้น" จากหนังสือการเจรจาในตำนานอย่าง Getting to yes กันครับ
.
.
1.แยกผู้คน"ออกจากปัญหา"
คือการที่เราไม่เอาคนไปผูกกับปัญหา จนมองว่าเขาเป็นศัตรูและโฟกัสไปที่ปัญหาเพียงอย่างเดียว เพื่อหาทางที่ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจและได้รับการแก้ปัญหา
เช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์รถเสีย แทนที่จะเอาแต่บ่นแฟนว่าทำไมไม่เตรียมพร้อมหรือเช็คสภาพรถก่อนออกจากบ้าน ก็โฟกัสว่าจะตามช่างจากไหนหรือจะเดินทางต่อยังไงดี เป็นต้น
ผู้คนและปัญหาไม่ใช่สิ่งเดียวกันนะครับ สิ่งที่เราจะต้องโจมตีและแก้ไขให้ได้ก็คือปัญหาไม่ใช่ผู้คนนั่นเอง
.
.
2.โฟกัสไปที่สิ่งที่"อีกฝ่ายต้องการจากการเจรจา"
คือการที่เราโฟกัสว่าอีกฝ่ายต้องการอะไรจากการเจรจาต่อรองนี้ มากกว่าโฟกัสไปที่สิ่งที่เราต้องการเพียงอย่างเดียว
เพราะถ้าเรารู้ว่าอีกฝ่ายต้องการอะไร เราก็มีโอกาสที่จะหาหรือนำสิ่งนั้นมาเสนอจนทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลง
และคนคนหนึ่งมีสิ่งที่ตัวเองต้องการหรือสนใจมากกว่าหนึ่งเสมอ ดังนั้นจงหามันให้เจอและลองคิดวิธีที่จะตอบสนองความต้องการดูนะครับ
.
.
3.มองหาทางเลือกที่"ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจและได้ประโยชน์"
หลังจากที่เรารู้ความต้องการของเขาแล้ว ขั้นต่อไปก็คือร่วมกันเสนอทางเลือกที่ทั้งสองฝ่ายต่างพึงพอใจและได้ผลประโยชน์ทั้งคู่
เช่น เจนอยากชวนแฟนหนุ่มของเธอให้ไปส่งและรอรับที่ร้านทำเล็บด้วย แต่แฟนหนุ่มไม่อยากไปเพราะมันน่าเบื่อที่จะต้องไปรอ
เธอเลยหาร้านที่อยู่ในห้างและมีโรงหนังที่แฟนของเธอจะได้ไปดูหนังเรื่องที่เขาอยากดูเพื่อรอเธอทำเล็บ เป็นต้น
เน้นย้ำว่ามันต้องเป็นทางเลือกที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์และรู้สึกพึงพอใจนะครับ
ถ้าเป็นการแบ่งกันคนละครึ่งแบบที่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่ได้รู้สึกพึงพอใจ มันจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย
ดังนั้นลองคิดทบทวนดูว่าจะมีสิ่งไหนที่จะทำให้ทั้งคู่ต่างก็ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการจนรู้สึกพึงพอใจดูนะครับ
.
.
4.ใช้เกณฑ์หรือ"สิ่งที่เป็นมาตรฐานมาตัดสิน"
คือการที่เราใช้เกณฑ์ที่ถูกกำหนดโดยกฎหมายหรือสังคมมาใช้เป็นตัววัดเพื่อทำการตัดสินที่ยุติธรรมให้กับทั้งสองฝ่าย
เช่น ผู้เช่าอยากได้ห้องเช่าที่ราคาถูก แต่ผู้ให้เช่าอยากให้เขาจ่ายค่าเช่าที่สูง
ทั้งคู่ก็เลยตัดสินใจเอาราคาเช่าโดยเฉลี่ยของพื้นที่นั้นมาคำนวณและตัดสินดูว่าจะกำหนดค่าเช่าที่เท่าไหร่ดี
การที่เราใช้เกณฑ์หรือมาตรฐานที่เป็นสากลมาใช้ในการตัดสิน จะทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่รู้สึกว่าตัวเองถูกเอาเปรียบเพราะมันถูกกำหนดโดยบุคคลที่ 3 ซึ่งไม่มีผลได้ผลเสียกับทั้งคู่นั่นเอง
.
.
ใครที่อยากมี Community ดีๆที่ทำให้เราเติบโตขึ้นเสมอและอยากเรียนรู้เรื่องการเงิน
ผ่านคลาสเรียนเรื่องเงินฟรีและการเล่นเกมกระแสเงินสด สามารถกดลิงค์ใน Comment ได้เลยนะครับ
นี่เป็นแค่ส่วนเล็กๆจากความรู้ในหนังสือที่ผมได้ตกผลึกมาเท่านั้น ถ้าอยากได้ความรู้แบบจัดเต็ม ลองซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านกันได้นะครับ
.
.
ถ้าท่านอ่านมาถึงตรงนี้ ผมขอบคุณผู้อ่านทุกๆท่าน ที่เสียสละเวลามีค่าของท่านมาอ่านบทความนี้ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์และช่วยทำให้ชีวิตของท่านดีขึ้นนะครับ
ถ้าท่านใดมีคำติชมหรือความเห็นก็สามารถ Comment ไว้ได้เลยนะครับเราจะได้เรียนรู้มุมมองใหม่ๆไปด้วยกันนะครับ
#หนังสือน่าอ่าน #เรื่องน่ารู้ #นิสัย #อ่านใจคน #ต่อรองให้ได้แบบไม่ถอย #gettingtoyes #ปรัชญาชีวิต #เจรจา #จิตวิทยา #ข้อคิดดีดี #เกร็ดความรู้ #ความรู้ #ข้อคิดสอนใจ #ข้อคิดดีๆ #แรงบันดาลใจ #learn #learneveryday #เรียนรู้วันละเรื่อง #bookthreads
โฆษณา