เมื่อวาน เวลา 08:00 • ธุรกิจ

ผู้ประกอบการไทย ควรทำอย่างไร? ในวันที่ถนนทุกสาย มุ่งสู่ "Net Zero Pathway"

ลดคาร์บอน = ลดโลกร้อน?
ในยุคที่ทุกธุรกิจตื่นตัวเรื่อง Net Zero และการลดการปล่อยคาร์บอน หลายองค์กรเริ่มเดินหน้าเปลี่ยนแปลง แต่คำถามคือ "สิ่งที่เรากำลังทำนั้น ถูกต้องจริงหรือ?" และเราควรเริ่มต้นอย่างไรในวันที่ถนนทุกสาย มุ่งสู่ Net Zero Pathway
Recap น่ารู้จาก 3 Young Startup Ledaers บนเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 ในหัวข้อ "Climate Tech: Breaking Barriers to a Cleaner Planet" คุณนัชชา เลิศหัตถศิลป์, คุณมาย การุณงามพรรณ และ ดร.วโรดม คำแผ่นชัย
Carbon Footprint "วัดเพื่อลด"
การประเมิน Carbon Footprint คือ "กุญแจสำคัญ" ที่ช่วยให้องค์กรเข้าใจปัญหาการปล่อยคาร์บอนที่แท้จริงในธุรกิจ และเป็นจุดเริ่มต้นที่องค์กรสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"ปัญหาใหญ่" ที่ไทยกำลังเจอ
1. การขาดข้อมูล (Data)
องค์กรและผู้ประกอบการไทยไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอน ทำให้เสียโอกาสในการแข่งขัน สำหรับบริษัทที่ต้องการทำธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้
2. ขาดระบบพิสูจน์ผลลัพธ์ที่ชัดเจน (Proof)
แม้องค์กรจะตื่นตัวเรื่องการลดพลังงาน ลดการปล่อยคาร์บอน แต่ยังขาดระบบที่จะมาพิสูจน์ได้ว่า สิ่งที่ทำออกมานั้นถูกต้องหรือไม่ (auditable proof) จนอาจทำให้เกิด “Greenwashing”
3. ขาดการทำงานร่วมกัน
เรายังขาดการทำงานร่วมกัน ระหว่างภาครัฐ เอกชน และแหล่งเงินทุน ขาดพื้นที่ในการลองผิด-ลองถูก ขาดกลุ่มตัวอย่างที่มากพอที่จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์สมมติฐาน และพัฒนาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ หรือรูปแบบ แนวคิด วิธีการ ที่สามารถไปใช้ได้จริง
แล้ว "เรา" ควรทำอย่างไร?
การร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน คือกุญแจสำคัญ!!
1. ต้องกล้าที่จะโปร่งใส เพื่อหาจุดบกพร่อง และเข้าช่วยเหลือ
=> เช่น การสร้าง Data-Driven System เก็บข้อมูลการปล่อยคาร์บอน ที่จะช่วยทั้งในองค์กร ที่จะเห็นได้ว่า "ควรโฟกัส" ที่จุดไหน เพื่อลดคาร์บอนให้ได้มากสุด และคืนทุนเร็วสุด หรือมองเห็นภาพรวมในระดับประเทศว่า จุดไหนควรลงไปให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนที่สุด
2. ยอมรับความแตกต่าง และสร้างมาตราฐานที่ทัดเทียมนานาชาติ
=> ไม่ใช่ทุกองค์กรที่จะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีในระดับเดียวกัน การมีผู้นำจะช่วยเร่งการแข่งขัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวม อีกทั้งองค์กรขนาดเล็กเอง ก็สามารถที่จะเข้าถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับตัวเองได้เช่นกัน
3. ร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่ม Startup
=> ปัจจุบันประเทศไทยมี Startup จำนวนมาก แต่ยังไม่มีคอมมูนิตี้ที่ทำให้คนกลุ่มนี้มารวมกัน การที่ต่างคนต่างทำงาน ส่งผลต่อการจ้างงานของลูกค้า หากเรานำความสามารถที่หลากหลายของแต่ละ Startup มารวมกันแล้วออกเป็นแผนหรือแนวทางในการแก้ปัญหาที่คลอบคลุม จะช่วยสร้างความสะดวก แก้ปัญหาได้ตรงจุด และทำให้ลูกค้าสามารถวางแผนการลงทุนได้ดีมากขึ้น
4. สร้าง Sandbox เพื่อทดลอง
=>เพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจ Startup และ SMEs มีพื้นที่พัฒนานวัตกรรม รองรับความผิดพลาด เพื่อหาทิศทางที่เหมาะสมและยั่งยืน
เพราะอะไร? SMEs ไทย ถึงควรเริ่มปรับตัว!!
1. ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะ SMEs ที่ทำธุรกิจกับต่างประเทศ
2. ลูกค้ายินดีจ่ายเพิ่ม เราสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าเราได้มากขึ้น
3. มีงบประมาณที่ให้มาเพื่อสนับสนุน
4. รู้ก่อน ป้องกันก่อน เพราะหากเนิ่นนานไป อาจต้องใช้ต้นทุนที่สูงขึ้นในการแก้ปัญหา
5. ผลประโยชน์ที่จะได้เพิ่มเติม จากนโยบายภาครัฐที่ออกมาเพื่อสนับสนุน
อยากรู้จักเรามากขึ้น?
🌐 คลิก: www.futuretaleslab.com
📌 ติดตามที่ Blockdit: https://www.blockdit.com/futuretaleslab
#FutureTalesLAB #USElection #2024Election #MQDC #TheStandard #TheStandardEconomicForum2024 #YoungLeadersDialogue #AI #Education #Technology #Upskill #Workforce #Skills
โฆษณา