เมื่อวาน เวลา 04:42 • ความคิดเห็น
ฮาโลวีน คริสต์มาส พุทธ สากลโลก
เหมือนเอเชียจะชอบเอาวันเหล่านั้นมา
ในหลายๆประเทศ
ผสมกันไปหมด แม้ศาสนาต่าง
ประเพณี วัฒนธรรมต่าง นับถือต่าง
แต่วันต่างๆของไทยเรา ฝรั่งก็ไม่ได้เอาไปส่งให้กัน
แบบที่เราส่งกัน แม้จะคนที่นับถือพุทธก็ตามก็ส่งคริสต์มาสและฮาโลวีนกันมานาน
งานที่ต่างๆในไทย ก็จัด ฮาโลวีน คริสต์มาส
ปาร์ตี้แต่งผี อันนั้นเข้าใจได้ เพื่อความหลากหลายของผู้คนเชื้อชาติศาสนาที่อยู่ในประเทศไทย รวมไปถึงความบังเทิง
สนุกสนาน
1
คนพุทธก็ไปงานเหล่านี้มากมาย คืนปล่อยผี
ปล่อยความเมา เต้น สนุก คู่รัก หาแฟน สนุกกับเพื่อนฝูง
1
บางคนหรือหลายคนไม่ได้คิดอะไรมาก
ก็เลยส่งหมด แม้จะเป็นคนนับถือพุทธ และอยู่ในไทย
ก็ยังส่งภาพหรือคริสต์มาสได้แบบไม่ตะขิดตะขวงใจ
ชิวๆ เหมือนส่งกันเป็นสีสันของวันเทศกาลของต่างประเทศ
แม้จะไม่ใช่เทศกาลของเรา หรือประเทศ หรือของกลุ่มที่แตกต่างกันไป ในศาสนา คำสอน การนับถือ การยึดหลัก
การค้นหา ศึกษา ฟัง ตำนาน ประวัติศาสตร์ ที่มาที่ไป
ต้นกำเนิด ความรู้ มั่ว เอาหมด ชอบ
ไทย ลาว เขมร เกาหลี ญี่ปุ่น พม่า เวียดนาม
การตกแต่งสถานที่ แฟชั่นเสื้อผ้าโทนสีในวันเทศกาลนั้นๆ
สวัสดีปีใหม่ไทย หรือสงกรานต์ ฝรั่งที่อยู่ในต่างประเทศส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ส่งข้อความให้กันในประเทศเขา
แล้วฮาโลวีนและคริสต์มาสก็ทำให้เราชาวเอเชียในหลายๆที่
คุ้นชินเคยชินเห็นมันมากับสื่อในภาพยนตร์ต่างประเทศ
และในมิวสิควิดีโอเพลง และข้าวของตกแต่งต่างๆที่มีขายในประเทศเอเชียหลายๆที่ เห็นคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เด็กจนโต
เพราะสื่อเหล่านั้น
แต่ในประเทศเจ้าของงานคริสต์มาสกับฮาโลวีนนั้น
เขาไม่คุ้นชินคุ้นเคยกับเทศกาลไทยแบบเราหรือทางเอเชียต่างๆ
สากลต่างๆ เอเชียเอามา ตะวันตกต่างๆ เอเชียเอามา
แนวเพลง แนวหนัง แนวแฟชั่น เทศกาลดนตรี รูปแบบ
ศิลปะ ทรงผม แว่นตา กระเป๋า รถ บ้าน ปล่องผิงไฟ
ตกแต่งต้นคริสต์มาส ตกแต่งฮาโลวีน
กลายเป็นสากลของเอเชีย
เหมาหมด ร่วมหมด สนุกหมด งานจีน งานไทย งานฝรั่ง
หนังญี่ปุ่นได้แรงบันดาลใจและอิทธิพลมาจากหนังฝรั่ง
หนังฝรั่งบางเรื่องได้แรงบันดาลใจและอิทธิพลมาจากหนังญี่ปุ่นและหนังจีน
หนังฝรั่งบางเรื่องได้แรงบันดาลใจและอิทธิพลมาจากหนังเจ้ย อภิชาติพงศ์
นอกเรื่องนิดนึง แต่ก็รวมอยู่ในการเปรียบเทียบ
ประมวลผลว่า ใครตามใครมากกว่ากัน
แน่นอน เราตามเขามากกว่ามากๆ เยอะมาก ชาวเอเชีย
กับชาวฝรั่งมังค่า
คนไทยและคนเอเชียในประเทศอื่นๆ
ที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ ก็เหมือนจะชอบสีสันตกแต่งของวันศาสนาคริสต์กันเยอะ ก็เลยเป็นแบบนั้น
จะว่าขอแจมก็ได้ ขอมั่วด้วยก็ได้
โดยหลายๆคนก็แสนสุดจะชิวตามสไตล์พี่ไทย
ฝรั่งมังค่า
ฝรั่งมังค่า หมายถึง “ฝรั่ง” มีนัยความหมายว่า “คนที่ไม่ใช่พวกเรา”   คำว่า “มังค่า” สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำ “บังกล่า” (อ่านว่า บัง-กะ-หล่า)   บังกล่า คือ เบงกอล ซึ่งเป็นแคว้นใหญ่ในอินเดียทางตะวันออก
ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ชาวอังกฤษมาปกครองอินเดียอยู่ในแคว้นเบงกอล  เนื่องจากอังกฤษซึ่งเป็น “ฝรั่ง” อยู่ที่ “มังค่า”  คนไทยจึงเรียกชาวอังกฤษว่า “ฝรั่งมังค่า” ต่อมาความหมายได้ขยายกว้างออกไปหมายถึงฝรั่งชาติอื่น ๆ ด้วย
อนึ่งคำว่าฝรั่งนี้ยังมีคำขยายแสดงลักษณะต่าง ๆ อีกหลายคำ เช่น ฝรั่งตาน้ำข้าว  เพราะตาขาวมีสีขุ่นเหมือนน้ำข้าว.  ฝรั่งดั้งขอ เพราะมีจมูกโด่งรูปร่างโค้งเหมือนขอ.   ฝรั่งอั้งม้อ เพราะมีผมสีแดง  “อั้งม้อ” เป็นภาษาจีนแปลว่า “ผมแดง”
ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
โฆษณา