25 ธ.ค. 2024 เวลา 09:28 • ข่าวรอบโลก

“(ห)มาบ้า” MABA – Make America Bigger Again

ทรัมป์ขู่ สะเทือนเลือนลั่นทั้งสองฝั่งแอตแลนติก วิเคราะห์ก้าวต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น
แผนการที่ทรัมป์ประกาศออกมาเมื่อไม่นานนี้ (จะยึดคลองปานามา และซื้อกรีนแลนด์ เมื่อ 22 ธันวาคม) ก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงในทั้งสองฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติก (ยุโรป กับ ละตินอเมริกา) ทางการเดนมาร์กประกาศว่ากำลังรีบจัดสรรงบประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์ เพื่อเสริมสร้างการป้องกันเกาะกรีนแลนด์ ทหารเดนมาร์กจำนวนมากจะถูกส่งไปที่นั่นพร้อมอาวุธโดรนและเรือลาดตระเวน [1]
นึกเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เดนมาร์กกำลังต้องป้องกันตนเองจากภัยคุกคามของสหรัฐอเมริกา? ยิ่งไปกว่านั้นวิกฤตรอบเกาะกรีนแลนด์อาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อศักยภาพทางทหารของเพนตากอน ท้ายที่สุดแล้วมันจะส่งผลกระทบต่อฐานทัพอากาศ Thule ที่อเมริกาเช่าเขาอยู่บนกรีนแลนด์ พร้อมระบบติดตามการยิงขีปนาวุธซึ่งอยู่บนเกาะแห่งนี้ การย้ายฐานทัพนี้ออกจากกรีนแลนด์นั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
ฐานทัพอากาศสหรัฐ Thule บนเกาะกรีนแลนด์ เครดิตภาพ: U.S. Air Force photo by Staff Sgt. Carlos Ferran
ดูแล้วที่ปรึกษาของทรัมป์คงอยากบอกเขาว่า “ไม่ควรซื้อเกาะแห่งนี้ตอนนี้” (ราวกับเหมือนทรัมป์พูดไปเหมือนโยนหินถามทาง) แต่สิ่งที่ทรัมป์ควรทำตอนนี้คือให้ธุรกิจชาวอเมริกันรีบเข้าถึง “แหล่งแร่แรร์เอิร์ธในกรีนแลนด์” (ก่อนหน้านี้จีนนำหน้าได้เริ่มเข้าไปสำรวจและทำธุรกิจแร่แรร์เอิร์ธในกรีนแลนด์แล้ว)
1
แต่การเจรจากับทางการโคเปนเฮเกนเพื่อขอสัมปทานจะเป็นเรื่องยาก เพราะทรัมป์ขู่ว่าจะขึ้นภาษี และเดนมาร์กจะตอบโต้กลับไม่ยอมอนุมัติ ความแตกแยกภายในนาโตจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น
1
เครดิตภาพ: Global Atlas of Environmental Justice
ในส่วนของแผนการของทรัมป์ที่จะยึด “คลองปานามา” คืนทำให้เกิดปฏิกิริยาเชิงลบที่คล้ายคลึงกันจาก “เม็กซิโก” และ “โคลัมเบีย” ทั้งสองประเทศอยู่ภายใต้การปกครองของฝ่ายซ้ายที่ค่อนข้างเย็นชาต่อสหรัฐอเมริกา และละตินอเมริกาโดยรวมได้เคลื่อนตัวไปทางซ้ายอย่างมีนัยสำคัญในช่วงห้าปีที่ผ่านมา อิทธิพลของวอชิงตันอ่อนลงอย่างมาก และจีนกลายเป็นหุ้นส่วนการค้าหลักของทวีปอเมริกาใต้ [2]
ดังนั้นแล้วการเจรจาเกี่ยวกับอนาคตของคลองปานามาด้วยการให้สิทธิพิเศษแก่ธุรกิจของชาวอเมริกันก็มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นยากเช่นกัน
รายละเอียดข่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ทรัมป์พูดถึง “คลองปานามา” และ “กรีนแลนด์” สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความที่ทางเพจได้ลงไว้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
ในบางแง่ (เท่านั้น) ทรัมป์ดูเหมือนกำลังพยายามฟื้นฟูแนวนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ แบบ “ลัทธิมอนโร” (ลัทธิโดดเดี่ยว) ปัญหาเดียวคือในยุคของไบเดน อำนาจครอบงำของสหรัฐฯ ในโลกใหม่เกิดสั่นคลอนอย่างมาก การย้อนกลับไปใช้แนวนโยบายแบบมอนโรนี้จะทำได้ยากแล้ว หากเขาคิดจะทำจริงๆ
“ลัทธิมอนโร” หรือนโยบายโดดเดี่ยวของอเมริกาเกิดขึ้นในสมัยประธานาธิบดีมอนโร ปี ค.ศ. 1823 (ตรงกับปลายรัชสมัย ร.2) ใจความหลักประมาณคือ อเมริกาจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับอาณานิคมของสเปนในทวีปอเมริกา แต่ถ้าประเทศยุโรปใดเข้ามากดขี่ประเทศในอเมริกาถือว่าเป็นภัยคุกคามของอเมริกา อเมริกาไม่ยอมให้ยุโรปเข้ามาล่าอาณานิคมเพิ่มในทวีปอเมริกา อเมริกาจะไม่เข้าไปยุ่งเรื่องกิจการภายในยุโรป
1
อเมริกาใช้แนวนโยบายตามลัทธิมอนโรมาจนถึงหลัง WWII ในสมัยประธานาธิบดีแฮรี ทรูแมน หลังจาก WWII ในฐานะผู้ชนะสงครามก็เปลี่ยนมาใช้แนวนโยบายแบบ “ลัทธิทรูแมน” แทนมอนโร คือการที่เข้าไปยุ่งในกิจการของต่างประเทศ (เหมือนที่เราเรียกว่าตำรวจโลก) และมีสิทธิ์ไม่พอใจและลงโทษหรือคว่ำบาตรคนที่ทำไม่พอใจให้ การที่ทรัมป์พยายามปล่อยให้สงครามยูเครนดูแลจัดการรวมถึงช่วยเหลือโดยประเทศนาโตในยุโรปเองก็เอนไปทางลัทธิมอนโร
2
เรียบเรียงโดย Right Style
25th Dec 2024
  • เชิงอรรถ:
<เครดิตภาพปก: X @EricTrump>
โฆษณา