Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bangkok Bank SME
•
ติดตาม
27 ธ.ค. 2024 เวลา 13:28 • ธุรกิจ
Supply Chain ปรับตัวอย่างไร? กับนโยบายจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) สู่Net Zero(Part 2)
บทความก่อนหน้านี้ เราได้กล่าวถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ชั้นนำทั่วโลกและในประเทศ มีการกำหนดนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว หรือ Green Procurement ไว้อย่างไรกันบ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตใน Supply Chain ได้ปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างทันท่วงที บทความนี้เราจะกล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการหันมาใส่ใจเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) โดยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ วัฏจักรชีวิตของสินค้าและบริการมากขึ้น
เพราะทั่วโลกกำลังมุ่งเน้นไปที่การดูแลและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แบรนด์ที่ไม่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงกำลังจะค่อย ๆ หายไปในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า Sustainable Supply Chain จึงเป็นเทรนด์ใหม่ของคนทำธุรกิจ ที่ไม่ใช่แค่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและโลกเท่านั้น แต่ยังดีต่อธุรกิจอีกด้วย เพราะช่วยให้ธุรกิจเติบโตเร็วแบบก้าวกระโดด ลดต้นทุนในระยะยาว และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับผู้ประกอบการ SME
Green Supply Chain คืออะไร
เป็นแนวทางการบริหารจัดการกระบวนการผลิตสินค้าที่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ที่กำลังได้รับความนิยมในแวดวงอุตสาหกรรม ด้วยการเอาแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาโซ่อุปทานเดิม ซึ่งแตกต่างจากการบริหาร Supply Chain ทั่ว ๆ ไป ที่เน้นหาสินค้าที่มีคุณภาพตามที่ต้องการและราคาถูก โดยที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากนัก
ขณะที่ Green Supply Chain จะมุ่งเน้นลดการใช้ทรัพยากร และต้องเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งการจัดซื้อ จัดจ้าง วัสดุ สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีสะอาดในทุกกระบวนการผลิต บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ การจัดส่งสินค้า การวางแผนกลยุทธ์และการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระบวนการคืนสินค้าจากผู้ซื้อกลับมายังผู้ขาย
ดังนั้นการทำธุรกิจแบบ Green Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพ ต้องทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อผลลัพธ์รอบด้านที่ไม่เป็นเพียงแค่กำไรทางธุรกิจ เพราะหลักความยั่งยืนต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและผู้คนในท้องถิ่นนั้น ด้วย
การก้าวสู่ Green Supply Chain ต้องมีองค์ประกอบหลักอะไรบ้าง?
การจัดการซัพพลายเชนที่ยั่งยืน ต้องมี 3 องค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้
1. Green Supply Chain การบริหารจัดการการผลิตและซัพพลายเชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ โดยเฉพาะการจัดหาวัสดุที่ยั่งยืน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การลดการสร้างขยะ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยให้องค์กรมุ่งเน้นความยั่งยืนไม่ได้สนใจเพียงด้านกำไรทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย
2. Transparent Supply Chain การเปิดเผยที่มาและข้อมูลในกระบวนการซัพพลายเชนให้โปร่งใส ตั้งแต่แหล่งของวัตถุดิบ การตรวจสอบ การขนส่ง ไปจนถึงกระบวนการกำจัดของเสียต่าง ๆ เพื่อให้รู้ถึงวิธีการผลิต แหล่งที่มาของสินค้า และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ช่วยให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน เพื่อเพิ่มความไว้วางใจและสร้างความโปร่งใสในกระบวนการทำงาน
Cr. ภาพ: https://www.kuebix.com/circular-supply-chain-missing-link/
3. Circular Supply Chain ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในซัพพลายเชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสีย วัตถุดิบ สินค้าที่หมดอายุ รวมถึงพลังงาน ให้สามารถนำกลับไปใช้ได้ใหม่ ลดการสูญเสียที่ไม่จำเป็นหรือเป็นศูนย์ โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตลาด ลูกค้า และทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ด้วยเหตุนี้ แทนที่ความสัมพันธ์ของแต่ละขั้นตอนจะเป็นไปในลักษณะของการส่งมอบงานแล้วจบไป แต่จะเป็นการใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจาก Sustainable Supply Chain จะครอบคลุมทั้งการบริหารจัดการซัพพลายเชน การเปิดเผยที่มาของข้อมูล ไปจนถึงการนำของเหลือหรือของใช้แล้วจากการผลิต กลับไปรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบในการผลิตอีกครั้ง เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
เหตุผลที่ SME ควรหันมาให้ความสำคัญ เรื่อง Green Supply Chain
Green Supply Chain เป็นผลลัพธ์ที่สร้างความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจในระยะยาว โดยมีข้อดีที่สำคัญดังต่อไปนี้
- ลดต้นทุนการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการซัพพลายเชน จากผลการสำรวจองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีโครงการในการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนพบว่า การที่คู่ค้าบริษัทต่าง ๆ สามารถลดการปล่อยมลพิษได้ จะช่วยให้องค์กรลดต้นทุนในกระบวนการต่าง ๆ ได้มากถึง 12.4 พันล้านดอลลาร์ และมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพาร์ทเนอร์ในระยะยาว
- ช่วยเพิ่มยอดขาย ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มพิจารณาถึงแหล่งที่มาของสินค้าหรือบริการที่ตนเองได้รับมากยิ่งขึ้น ข้อมูลจาก Euromonitor พบว่า 64 % ของผู้บริโภคเชื่อว่า เขาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้โลกได้ ผ่านการซื้อสินค้าและบริการของพวกเขา ดังนั้นผู้ประกอบการควรให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับที่มาของวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ผลิตโดยใคร
วิธีการขนส่งแบบไหน และส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร หากธุรกิจสามารถสื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้ถึงเรื่องความใส่ใจในเรื่องความยั่งยืนของธุรกิจเราได้แล้ว ก็จะสามารถเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น
- สร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีให้บริษัท โดยผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่า และยอมที่จะจ่ายเงินเพิ่มมากกว่าปกติ
- ลดความเสี่ยงการถูกแบนจากผู้บริโภคและประเทศที่ใส่ใจเรื่องสภาพแวดล้อม
เห็นได้จากการที่หลายประเทศทั่วโลกมีแคมเปญแบนพลาสติก ตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักรมีมาตรการห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (single-use plastic) เป็นมาตรการที่ต่อเนื่องจากการประกาศห้ามใช้ไมโครบีดส์ (Microbeads) ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และการเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช่พลาสติกรีไซเคิล
- สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ไม่ใช่ธุรกิจการฟอกเขียว (Greenwashing) ที่อ้างว่าตนเองลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแต่ไม่ได้ทำจริง
- สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ สามารถต่อยอดสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสังคมได้มากยิ่งขึ้นลดความเสี่ยง สามารถรักษาชื่อเสียงของแบรนด์ได้อย่างยั่งยืน ไม่มีปัญหาเรื่องการกีดกันด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมตามมา ซึ่งปัจจุบันมีหลายกลุ่มประเทศที่ห้ามการนำเข้าสินค้าที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น EU ออกกฎ EU Deforestation-free products ห้ามการนำเข้าสินค้าที่ทำลายป่าหรือทำให้ป่าเสื่อมโทรม
สิ่งสำคัญคือ องค์กรควรมีการสื่อสารให้ผู้นำในองค์กรมีความเข้าใจและมีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน และมีการตั้งวัตถุประสงค์ในเรื่องการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนที่ชัดเจน สามารถวัดได้ โดยกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กร ควรมีความสอดคล้องกับพันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร นอกจากนั้นองค์กรยังควรมีการสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนให้กับผู้บริโภคซึ่งเป็นส่วนปลายน้ำ
ซึ่งเป็นความท้าทายของธุรกิจ SME ยุคใหม่ที่จะสามารถสร้างความยั่งยืน (Sustainability) ให้เกิดขึ้นได้ทั้งระบบของห่วงโซ่อุปทาน
แล้วซัพพลายเชนต้องปรับตัวอย่างไร กับนโยบาย Green Procurement ของบริษัทใหญ่
ซัพพลายเชนต้องปรับตัว 4 ประการหลัก
1. ยกระดับมาตรฐานสิ่งแวดล้อม
- พัฒนากระบวนการผลิตลดคาร์บอน
- สร้างนวัตกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2. รายงานข้อมูลโปร่งใส
- มีการจัดทำและเปิดเผยข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)
ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://www.bangkokbanksme.com/en/6sme3-esg-carbon-footprint
- สร้างระบบตรวจสอบย้อนกลับ
3. พัฒนาทักษะบุคลากร
- อบรมความรู้สิ่งแวดล้อม
- สร้างวัฒนธรรมองค์กรยั่งยืน
4. ลงทุนเทคโนโลยีสะอาด
- นำระบบดิจิทัลมาติดตามผล
- เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต
การปรับกระบวนการทำงานสู่ Green Supply Chain ต้องทำอย่างไร?
Green Supply Chain สำหรับธุรกิจที่ผลิตสินค้ารวมไปถึงธุรกิจบริการ สามารถนำเอาหลักการมาประยุกต์ใช้ได้ โดยการปรับปรุงกระบวนการทำงานตั้งแต่การจัดซื้อจัดจ้างไปจนถึงการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า โดยหลัก ๆ ประกอบไปด้วย 4 กระบวนการดังนี้
1. Green Procurement
การสร้างความแข็งแกร่งและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ผู้ประกอบการ ตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ การออกแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และการกระจายสินค้าให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและข้อเรียกร้องด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ธรรมชาติของประเทศคู่ค้า ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการค้าระหว่างประเทศ เป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดพร้อมกับขยายการเติบโตทางการส่งออก ทั้งตลาดในอาเซียน ตลาดยุโรป และตลาดสหรัฐ
2. Manufacturing
กระบวนการผลิต มีหน้าที่สำคัญที่จะต้องใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตให้คุ้มค่า โดยที่กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถลดปริมาณของเสียได้อย่างดี ในขณะที่ยังสามารถรักษาคุณภาพของสินค้าตามมาตรฐานที่กำหนดได้ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการผลิต เพราะเมื่อไม่เกิดของเสีย (Zero Waste) ต้นทุนในการผลิตจะลดลง รวมถึงยังทำให้อัตราการคืนสินค้าของลูกค้าน้อยลง ซึ่งหมายความว่า การสิ้นเปลืองทรัพยากรในการผลิตก็จะน้อยลงตามไปด้วยเช่นกัน
และพยายามนำเอาหลัก Circular Supply Chain ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจ ที่เน้นการใช้ทรัพยากรตลอดกระบวนการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้ ความสำคัญกับการเลือกใช้วัตถุดิบ ด้วยการนำวัสดุรีไซเคิล วัสดุชีวภาพ หรือวัสดุที่นำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีหลักการดังนี้
- ออกแบบเพื่อหมุนเวียนใช้ซ้ำ
- ลดการใช้ทรัพยากรใหม่
- ยืดอายุผลิตภัณฑ์
- นำกลับมาใช้ใหม่
- ใช้พลังงานสะอาด/หมุนเวียน
- ลดการใช้น้ำและพลังงาน
- ลดของเสียในกระบวนการผลิต
- ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการผลิต
3. Warehousing
กระบวนการคลังสินค้า ต้องมีการตรวจสอบเพื่อหาว่า จุดไหนที่สามารถพัฒนาให้เกิดการประหยัดต้นทุนได้ และกระบวนการใดที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า ซึ่งหลัก ๆ คือ การพัฒนากระบวนการทำงานต่าง ๆ เพื่อบริหารสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพขึ้น เช่น มีสินค้าคงคลังน้อยลง ไม่มีสินค้าที่หมดอายุ มีการจัดการแบบ FIFO เป็นต้น
เพราะสินค้าคงคลังถือเป็นต้นทุนหนึ่งที่จะต้องมีการดูแลรักษา ยิ่งมีสินค้าคงคลังมาก ก็มีต้นทุนในการเก็บรักษามากเช่นกัน รวมไปถึงการคำนึงถึงชุมชมรอบข้าง และนำเอาหลัก Reduce Reuse และ Recycle มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
• REDUCE ด้วยการลดใช้พลังงานในส่วนที่ไม่จำเป็น การนำวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมาใช้ เพราะจะทำให้น้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการจัดส่งเหมาะสม และน้ำหนักที่ลดลงนอกจากจะทำให้ราคาค่าขนส่งลดลงแล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานจากการจัดส่งสินค้าได้อีกด้วย และ อีกวิธีคือการนำเอาระบบ Paperless มาใช้เพื่อลดการใช้กระดาษลง และช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น ถือเป็นการพัฒนากระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
• REUSE: หลักการง่าย ๆ คือพยายามนำสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ภายในคลังสินค้ากลับมาใช้ใหม่ ซึ่งหลัก ๆ ของคลังสินค้าก็มักจะเป็น PALLET ที่ทำจากไม้ หรือไม่ก็พลาสติก หรือบางบริษัทมีการปรับใช้บรรจุภัณฑ์แบบ returnable packaging แต่เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวยังมีราคาแพงและไม่สามารถควบคุมได้ว่า จะได้รับบรรจุภัณฑ์นั้นคืนมาหลังจากขายสินค้าไปแล้ว ทำให้ไม่เป็นที่นิยมใช้มากเท่าที่ควร ฉะนั้นธุรกิจควรที่จะพัฒนากระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้สามารถควบคุมได้และง่ายต่อการคืนของลูกค้า
ซึ่งจะช่วยให้สามารถนำบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวกลับมาใช้ซ้ำได้อีกหลายต่อหลายครั้ง
• RECYCLE: การ recycle วัตถุดิบต่าง ๆ ภายในคลังสินค้าสามารถช่วยลด waste ได้ และมีหลายกรณีที่บริษัทควรจะดำเนินการ เช่น การทิ้งแบตเตอร์รี่ น้ำมัน และสารเคมีอย่างถูกวิธี เป็นต้น
ทั้งนี้ พนักงานเองควรมีส่วนที่จะทำให้หลัก 3RS ประสบความสำเร็จ โดยจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้เข้ากับวิธีการใหม่ ๆ เพื่อที่จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และชุมชม ไปพร้อม ๆ กัน
4.Transportation
ธุรกิจที่ต้องการจะนำเอาหลัก Green Supply Chain มาใช้ จะต้องวิเคราะห์ถึงขั้นตอนการขนส่งสินค้าของตนเอง เพื่อหาวิธีการที่จะทำให้การขนส่งที่เหมาะสมกับของตนเอง ซึ่งการจะทำได้อย่างนั้น จะต้องอาศัยการวางแผนเกี่ยวกับสินค้าให้เหมาะสมกับประเภทของรถ เพื่อรวมสินค้า การศึกษาเส้นทางการเดินรถเพื่อให้การส่งขนรวดเร็ว รวมถึงการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการขนส่ง
เพื่อประหยัดพลังงาน การทำ BACKHAUL MATCHING เพื่อไม่ให้เกิดการเดินรถที่สูญเปล่า รวมไปถึงการตรวจเช็คสภาพรถให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้การขนส่งมีปัญหา ซึ่งจะเป็นการสิ้นเปลืองมากกว่าเดิม
ตัวอย่างบริษัทใน Supply Chain ที่มีการปรับตัวตามนโยบาย Green Procurement
Supply Chain ของบริษัทต่างประเทศ:
1. Apple
• บริษัท Foxconn (ผู้ผลิตชิ้นส่วน)
- ติดตั้งระบบพลังงานทดแทน
- พัฒนาระบบรีไซเคิลน้ำ
• บริษัท TSMC (ผู้ผลิตชิป)
- ใช้พลังงานสะอาด 100%
- พัฒนากระบวนการผลิตแบบประหยัดน้ำ
2. IKEA
• บริษัทผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในเวียดนาม
- ใช้ไม้จากป่าปลูกที่ได้รับการรับรอง
- ลดการใช้สารเคมีในการผลิต
• บริษัทขนส่งในไทย
- ใช้รถบรรทุกก๊าซธรรมชาติ
- ออกแบบบรรจุภัณฑ์ประหยัดพื้นที่
Supply Chain ของบริษัทไทย
1. เครือ CP Foods
• คู่ค้าโรงสี (ผู้ผลิตข้าวและอาหารสัตว์)
- ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว และอื่น ๆ มาจากแหล่งผลิตที่มีการปลูกอย่างยั่งยืน
- ผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งปลูกที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย
- ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า 100% (Zero Deforestation)
- งดการเผาแปลงเกษตรหลังเก็บเกี่ยวให้เป็นศูนย์ (Zero Burn)
- ปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวแบบลดการใช้น้ำ
- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี
• บริษัท ฟาร์มไก่สมบูรณ์ จำกัด
- ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ในฟาร์ม
- ใช้ระบบจัดการของเสียแบบไร้กลิ่น
• บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) (ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์)
- ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ แบบ “Light weight” เพื่อลดการใช้วัตถุดิบ และลดการใช้พลังงานลง
- ใช้พาเลทในคลังสินค้า ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล Post-Consumer Resin (PCR) จากถุงพลาสติกใช้แล้วในครัวเรือน
- มีการ คำนวณ Carbon footprint Product เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการการผลิต หรือเรียกว่า Carbon Reduction
• บริษัท อารีฟู้ดส์ เทรดดิ้ง จำกัด (ผู้จัดหากระเทียมและพริกให้กับซีพีเอฟมานาน 12 ปี)
- สนับสนุนเกษตรกรและผู้ผลิตในท้องถิ่น
• บริษัท เอ.เอ็น.บี. บรรจุภัณฑ์ จำกัด (ผู้ผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก ให้กับซีพีเอฟมานาน 20 ปี)
- จัดหาวัตถุดิบ ที่ไม่ทำลายป่า
2. SCG Packaging
• บริษัท กระดาษรีไซเคิลไทย จำกัด
- พัฒนาระบบคัดแยกวัสดุอัตโนมัติ
- ลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิต
• บริษัท ขนส่งสีเขียว จำกัด
- ใช้รถบรรทุก EV ในการขนส่ง
- วางแผนเส้นทางแบบประหยัดพลังงาน
การปรับตัวที่สำคัญ
1. การลงทุนในเทคโนโลยีสะอาด
2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. การปรับปรุงกระบวนการผลิต
4. การจัดการของเสียและการรีไซเคิล
5. การฝึกอบรมพนักงาน
ผลลัพธ์ที่ได้
1. ต้นทุนการผลิตลดลงในระยะยาว
2. ได้รับการยอมรับจากบริษัทแม่
3. เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
4. พนักงานมีความภูมิใจในองค์กร
5. สร้างความยั่งยืนในธุรกิจ
จากการที่ผู้ประกอบการ SME ใน Supply Chain นำหลักการ ESG มาใช้เป็นแนวทางในการเปลี่ยนผ่าน (Transition) ไปสู่ Green Supply Chain เพื่อผลิตสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศผู้นำเข้าที่เข้มงวดเรื่องสิ่งแวดล้อม และมีความสอดคล้องไปกับแนวโน้มโลกที่กำลังมุ่งสู่การเป็น Green Supply Chain เพื่อรักษาบทบาทในการเป็นผู้ส่งออกสินค้าต่าง ๆ ไว้ได้นั้น ผู้ประกอบการ SME ในห่วงโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับกระบวนการผลิตที่มีความยั่งยืน (Sustainability)
โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบรายที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า รวมถึงไม่มีประเด็นความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม เมื่อเทียบกับผู้จำหน่ายวัตถุดิบในสินค้าประเภทเดียวกัน
ดังนั้นการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน จะช่วยสร้าง Resilient Supply Chain เนื่องจากจะส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทาน ที่จะนำมาซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีภายในห่วงโซ่อุปทาน ทำให้เกิดความร่วมมือในการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ การจัดซื้อจัดจ้างที่มีการกระจายคำสั่งซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากผู้ผลิตหลายราย โดยเฉพาะคำสั่งซื้อจากผู้ประกอบการ SME จะช่วยกระจายความเสี่ยงในการพึ่งพาวัตถุดิบจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในการผลิตสินค้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้
อ้างอิง
https://www.sdgmove.com/2022/12/16/green-supply-chain-integration-on-performance/
https://www.thailandplus.tv/archives/746554
https://netzero-events.com/supplier-engagement-strategies-to-slash-scope-3-emissions/
https://globalcompact-th.com/news/detail/1337
https://www.tris.co.th/sustainable-supply-chain/
https://www.thairath.co.th/money/business_marketing/marketing/2037837
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย