29 ธ.ค. 2024 เวลา 07:17 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

สงครามโดรน: เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการรบในศตวรรษที่ 21

การทำสงครามด้วยโดรน (Drone Warfare) ได้กลายเป็นแนวทางใหม่ที่มีความสำคัญในความขัดแย้งทั่วโลก โดยเฉพาะในสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งโดรนได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการทำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นยำและเฉพาะเจาะจง ด้วยต้นทุนที่ต่ำและความเสี่ยงที่น้อยกว่าการใช้กำลังพล โดยเฉพาะการใช้โดรนขนาดเล็ก บินในระยะต่ำ
โดรนมีต้นทุนต่ำและความเสี่ยงน้อย โจมตีเป้าหมายได้โดยไม่ต้องส่งกำลังพลไปยังพื้นที่อันตราย ซึ่งลดความสูญเสียของชีวิตมนุษย์
เทคโนโลยีการตรวจจับและการเล็งเป้าหมายของโดรนทำให้สามารถโจมตีเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ มีความเสียหายข้างเคียงน้อย
และโดรนหลบหลีกระบบป้องกันภัยทางอากาศได้ดี เนื่องจากมีขนาดเล็ก บินต่ำและมีความคล่องตัวสูง
แม้ว่าโดรนจะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็ยังมีจุดอ่อนสำคัญที่ต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารและนำทางที่มีเสถียรภาพเพื่อควบคุมแบบ Real time ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สามารถถูกโจมตีหรือรบกวนได้ง่าย
หากฝ่ายตรงข้ามรบกวนสัญญาณสื่อสารหรือระบบนำทางได้ จะทำให้โดรนไปไม่ถึงเป้าหมายและถูกทำลาย
ในขณะเดียวกัน การรบกวนสัญญาณสื่อสารและนำทาง ก็มีผลให้ฝ่ายตั้งรับต้องสูญเสียความสามารถในการควบคุมการจราจรทางอากาศของฝ่ายตนไปด้วย ซึ่งมีผลเสียต่อเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการรบไป
เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากโดรนโดยมีผลข้างเคียงต่อโครงสร้างพื้นฐานน้อย ระบบป้องกันภัยทางอากาศจึงต้องได้พัฒนาเพิ่มเติม เพื่อให้ตรวจจับเป้าขนาดเล็กและแยกแยะจากสภาพแวดล้อมเช่น นก ได้ด้วย กับมีอาวุธที่มีต้นทุนต่อการยิงต่ำ เช่น การใช้เลเซอร์หรือไมโครเวฟพลังงานสูง ในการทำลายโดรน
ความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของกองทัพ
ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและนำทางที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง โดรนจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในสนามรบในอนาคต พัฒนาเร็ว การพัฒนาระบบต่อต้านจึงต้องรวดเร็วตามไปด้วย ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างกำลังพลและงบประมาณด้านความมั่นคงอย่างมาก การพัฒนาระบบอาวุธและกำลังพลจะต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีนี้
ในที่สุด สงครามด้วยโดรนไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของเทคนิคทางทหาร แต่ยังเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์และการปรับตัวของทั้งสองฝ่ายในยุทธวิธีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
โฆษณา