2 ม.ค. เวลา 05:45 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ก.พาณิชย์ ส่งเสริม สินค้าซอฟต์พาวเวอร์ ผ้าไทย เสนอผ่าน มังงะ-ชุดกิโมโน

ก.พาณิชย์ ส่งเสริม สินค้าซอฟต์พาวเวอร์ ผ้าไทย เสนอผ่าน มังงะ-ชุดกิโมโน ดัน Series - Y หนุน ยอดส่งออกสินค้าไทยไปตลาดญี่ปุ่น
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(DITP) ได้จัดกิจกรรม “HAPPY WINTER THAI FESTIVAL” ที่ Daikanyama, T-Site ระหว่างวันที่ 14 - 25 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นคอมมิวนิตี้มอลขนาดใหญ่ที่คึกคักไปด้วยทุกเพศทุกวัยและครอบครัว มาใช้เวลาว่างร่วมกันโดยได้เยี่ยมชมการจัดโซนแสดงสินค้าซอฟต์พาวเวอร์ไทยทั้งโซนจัดแสดง“มังงะ (การ์ตูน)” ที่เขียนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผ้าไทย
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(DITP) ได้จัดกิจกรรม “HAPPY WINTER THAI FESTIVAL” ที่ Daikanyama, T-Site
ผลงานศิลปะ และของตกแต่งบ้านที่ใช้ผ้าไทยจากโครงการ “ผ้าไทย ใส่ให้สนุก”/ “คาแรกเตอร์ไทย / “แฟชั่นไทย” เช่น กระเป๋าจักสาน และกิโมโนที่ทําด้วยผ้าไทย/ และโซน “เครื่องสําอาง สินค้าสปาของไทย” เพื่อ ส่งเสริมสินค้าซอฟต์พาวเวอร์ไทย ให้ชาวญี่ปุ่นเลือกซื้อสินค้าไทยต้อนรับเทศกาลปีใหม่ และยังมี Soft Power สาขาดนตรี จัด MEET & GREET ศิลปิน Series-Y ของไทย ซึ่งคาดว่าจะสร้างการรับรู้ได้ถึง 140,000 คน
ภายในงาน ยังมีการลงนาม MOU จำนวน 3 ฉบับ ระหว่าง DITP กับ บริษัท MIARAWASHIYA LLC ซึ่งเป็นบริษัทต้นสังกัดของนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่นชื่อดัง เพื่อเผยแพร่ ผ้าไทย ผ่านมังงะ (การ์ตูน) ญี่ปุ่น โดยได้เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ช่วงเดือนธันวาคมนี้ ก่อนจะรวมเล่มจัดพิมพ์เผยแพร่ในญี่ปุ่นและในไทย ภายในปี 2568 ถือเป็นช่องทางใหม่ที่จะช่วยขยายการรับรู้ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ในญี่ปุ่น และต่อยอดการเล่าเรื่องไปยังสินค้าซอฟต์พาวเวอร์เป้าหมายของไทยอื่นๆได้ด้วย
สินค้าซอฟต์พาวเวอร์ไทย
ฉบับที่ 2 DITP ร่วมมือกับบริษัท KEN-ELEPHANT (เคน) ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าขนาดเล็ก (Miniature mascot) ผ่านตู้กาจาปอง (Capsule Toy) โดยจะทำสินค้าขนาดเล็กเกี่ยวกับสินค้าและบริการไทยในรูปแบบ Thailand Official Gashapon เป็นซีรีส์ ๆ ละ 5 รายการสินค้า เช่น เด็กคู่ธงชาติไทย เบียร์ไทย ผลไม้กระป๋อง มาม่า และรถไฟที่ญี่ปุ่นมอบให้ไทย
และไทยนำมาตกแต่งเป็นขบวนรถท่องเที่ยว เป็นต้น โดยซีรีส์แรก จะเริ่มวางจำหน่ายในปี 2568 เป็นต้นไป ซึ่งตลาดกาจาปองญี่ปุ่น เป็นตลาดที่ใหญ่มากโดยมี
มูลค่าตลาดกว่า 64,000 ล้านเยน ประมาณ 14,500 ล้านบาท) โดยมีถึงกว่า 700,000 ตู้ทั่วประเทศ
และฉบับที่ 3 สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (SACIT) ลงนามบันทึกความเข้าใจ กับ บริษัท Omiya (โอมิยะ) แบรนด์กิโมโนเก่าแก่ระดับต้น ๆ ของญี่ปุ่น เพื่อใช้ผ้าไทย ภายใต้โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ผลิตกิโมโนจำหน่ายทั่วประเทศญี่ปุ่น สร้างมูลค่าส่งออก และสร้างภาพลักษณ์ของผ้าไทยในระดับสากล ถือเป็นการเชื่อมโยงวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างกัน ที่จะต่อยอดการส่งออกของไทยไปตลาดญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น
ลงนาม MOU จำนวน 3 ฉบับ ระหว่าง DITP กับ บริษัท MIARAWASHIYA LLC
สำหรับความร่วมมือระหว่าง SACIT กับ บริษัท OMIYA ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 1914 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ตั้งอยู่ในเมืองเกียวโต ถือเป็นแบรนด์กิโมโนเก่าแก่ระดับต้น ๆ ของญี่ปุ่น มีชื่อเสียงในเรื่องการนำลายต่างๆ และผ้าต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับไลฟ์สไตล์ของคนในปัจจุบัน แต่ยังคงแบบแผนดั้งเดิมตามมาตรฐานกิโมโนของญี่ปุ่น โดยจะร่วมมือใช้ผ้าไทยมาผลิตกิโมโนจำหน่ายทั่วประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้ผ้าไทยในระดับสากล คาดว่า
จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างมูลค่าส่งออกให้ผ้าไทย สร้างภาพลักษณ์ของผ้าไทยที่ดีในระดับสากล และสร้างการรับรู้ให้เป็นที่แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น ผ่านชุดกิโมโน ซึ่งเป็นซอฟต์พาวเวอร์
อย่างหนึ่ง
ขณะเดียวกัน ยังมีการกิจกรรมส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย MEET & GREET กับศิลปิน Series - Y กิจกรรม Meet and Greet โดยมีศิลปิน Series Y เข้าร่วมรวม 14 ราย จาก 5 บริษัท และกิจกรรมพบมาสเตอร์อลิซ หรือซินแสอลิซ (นักโหราศาสตร์ชื่อดังของไทย) และพบปะกับวีทูบเบอร์ (VTuber) ของไทยด้วย
นอกจากนี้ นายพิชัย กล่าวด้วยว่า ในปี 2568 จะเดินหน้าส่งเสริมสินค้าซอฟต์พาวเวอร์ไทยไปตลาดทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ซอฟต์พาวเวอร์ไทย ไม่ว่าจะเป็นคนไทย สินค้าไทย ร้านอาหารไทย และศิลปิน Series Y ถือเป็นเสน่ห์ของประเทศไทยอยู่แล้ว หลังจากนี้ ย้ำว่า กระทรวงพาณิชย์ จะเดินหน้าโปรโมทสินค้าซอฟต์พาวเวอร์ไทยไปตลาดต่างประเทศ
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : https://www.pptvhd36.com/wealth/trick-trend/239524
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา