Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอสายดาร์ก
•
ติดตาม
1 ม.ค. เวลา 06:31 • สุขภาพ
หมอ...มันมียาที่ฉีดแล้วหลับไปเลยมั้ย ช่วยฉีดให้ผมได้มั้ย ผมพร้อมแล้ว
หมอที่ทำพาลิทุกคนต้องเคยเจอ “คนไข้ขอฉีดยาให้ตายแน่นอน” แต่เราไม่ได้ทำแบบนั้น สิ่งที่เราทำมีแตกต่างหลากหลายขึ้นกับคนไข้ เคสนี้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ได้ทำการดูแล
เป็นผู้ชายอายุ 70 กว่า ถ้ามองภายนอก ไม่ใช่แค่ดูไม่เหมือนคนป่วย แต่เรียกได้ว่าดูหนุ่มกว่าอายุมากๆ ถ้าไม่บอกก็คงไม่รู้ว่าเขาเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย และเวลาก็กำลังนับถอยหลัง…
2
ด้วยความที่คนไข้เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากๆ
ในด้านครอบครัว เขามีลูกสาว 1 คน ที่รักเหมือนดวงใจ ภรรยาก็ยังแข็งแรงดีอยู่ เขาได้ถ่ายทอดทุกอย่างให้กับลูกสาวคนเดียวของเขา ไม่ว่าจะเป็นทักษะชีวิต หรือการทำงาน ถือว่าเป็นพ่อลูกที่สนิทกันมาก ทำงานด้วยกัน เที่ยวด้วยกัน ออกกำลังกายด้วยกัน วิ่งด้วยกัน ลูกสาวเคยพูดว่า ป๊าเป็นเหมือนเพื่อน เป็นเหมือนโค้ช เป็นที่ปรึกษา เป็น comfort zone ของเขามาตลอด
9
แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่จะไปตัดสินว่าเขาควรมีความสุข…
ตรงกันข้าม เขากำลังอยู่ในห้วงความทุกข์มากๆ ทุกข์ขนาดให้หมอฉีดยาให้ตาย
หลังจากสอบถามตัวโรคได้ความว่า พ่อบอกว่า เป็นมะเร็งปอดมา 2 ปี ระยะ 4 ตั้งแต่แรก พ่อไม่ได้บอกใคร
2
...ใช่ค่ะ พ่อไม่ได้บอกใครเลย ไม่ว่าภรรยาหรือลูกสาวคนเดียวของเขา พ่อเข้าสู่การรักษาด้วยตัวเอง ตัดสินใจทุกอย่างด้วยตัวเอง เมื่อฉันถามพ่อว่า เพราะอะไรถึงไม่บอกใคร พ่อตอบว่า “ก็เรายังรู้เรื่องดี ตัดสินใจได้ ก็จัดการเอง ไม่ต้องลำบากใคร มันวุ่นวายหน่ะหมอ ส่วนเรื่องการจัดการทรัพย์สิน ก็จัดการเรียบร้อยแล้ว ไม่มีอะไรต้องห่วง ผมพร้อมตายแล้ว”
2
1
ระหว่างที่พูดคุยกัน พ่อถามหลายครั้งว่า “ผมมีเวลาเหลือเท่าไหร่ ผมพร้อมแล้ว อยู่แบบนี้มันลำบากคนอื่น” คนไข้ส่วนมาก ถ้ายังตัดสินใจเองได้อยู่ มักจะพูดคล้ายๆกัน ทำนองว่า “ไม่อยากเป็นภาระของใคร”
2
สิ่งที่ฉันทำคงเป็นการรับฟังและสะท้อนให้เห็น และพยายามทำให้เขาเห็นคุณค่าตัวเองมากขึ้น
ฉันมักจะถามว่า “เพราะอะไรพ่อถึงคิดว่าเป็นภาระ นะคะ”
พ่อตอบว่า “ก็นี่ไง คนอื่นต้องมาดูแลเรา เขาก็ไปทำงานเขาไม่ได้”
ฉันสะท้อนว่า “ฉันรับรู้ได้ ว่าพ่อรู้สึกไม่สบายใจและรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ ไม่แข็งแรงเหมือนก่อน ไม่สามารถทำอะไรที่ชอบได้”
2
1
พ่อพูดต่อว่า “ชีวิตนี้ ทำที่อยากทำมาหมดแล้ว ไม่มีอะไรเสียดาย ทุกอย่างก็จัดการให้ลูกหมดแล้ว ผมพร้อมตายแล้วหมอ ฉีดให้ผมตายเลยได้มั้ย”
1
ฉันคุยกับพ่อครั้งนึงนานๆ เพื่อที่จะได้เข้าใจพ่อ และหาช่องให้พ่อเห็นความสุขในแต่ละวันให้ได้
2
ฉันเข้าใจพ่อบางมุม เช่น เข้าใจว่าบางคนที่ประสบความสำเร็จแบบสุดๆ พอไม่มีอะไรให้ประสบความสำเร็จอีกมันก็ไม่รู้จะมีความสุขได้อย่างไร ที่สำคัญ ชีวิตพ่อทำงานมาทั้งชีวิต ดังนั้น งานคือชีวิตเลยก็ว่าได้ งานสำเร็จ = มีความสุข ดังนั้น พอไม่ได้ทำงาน เพราะเตรียมที่จะตาย ถ่ายงานให้ลูก ตอนนี้เลยไม่มีอะไรทำ ก็เลยเชื่อมโยงว่า ไม่มีทางจะมีความสุขได้อีก
1
หรือบางครั้ง ฉันเองก็แอบคิดว่า คนที่ประสบความสำเร็จมาเยอะมากๆทุกด้าน ชีวิตมีความสุข ครบทุกอย่าง อาจจะหาความสุขได้ยากกว่าคนปกติมั้ย เหมือนชีวิตเค้าอาจจะเคยเจอแต่ความสำเร็จยิ่งใหญ่มากๆ มาเยอะ จนความสุขธรรมดาอาจจะลืมไป เช่น การที่เราไม่คลื่นไส้ กินข้าวอร่อย มันก็เรียกว่าเป็นความสุข ฉันคิดว่าเป็นภาวะต่อมความสุข ถูก desensitized หรืออาจจะถูกทำให้ดื้อก็ได้
4
แต่ฉันมองว่า เรื่องนี้ สอนกัน พูดให้กันไม่ได้ง่ายๆ อาจจะให้เวลาเขาได้รับรู้ความสุขง่ายๆแบบนี้ได้ด้วยตัวเอง
ตรงกันข้าม ฉันดูจากอาการพ่อ พ่อมีเวลาอีกเป็นเดือนเลย กว่าวันนั้นจะมาถึง พ่อยังมีโอกาสทำอะไรที่มีความสุขได้อีกเยอะ และฉันจะปล่อยให้คนไข้ถามหาวันตายทุกวันไม่ได้แน่
จริงๆช่วงที่พูดคุย ฉันได้ยินเสียงในหัวตัวเองหลายครั้ง ว่า เทียบกับคนไข้คนอื่นที่เคยขอให้ฉีดยาให้ตาย พ่อถือว่า ดูดี อาการน้อยกว่าคนอื่นมากๆ แต่ฉันเรียนรู้มามากแล้ว ว่าความทุกข์แต่ละคนขนาด ความเข้มข้นไม่เท่ากัน
2
คนป่วยเท่ากัน ไม่ได้แปลว่าจะทุกข์เท่ากัน
จึงไม่เอาไม้บรรทัดไปวัดความทุกข์สุขของใคร
1
เคสนี้ก็เช่นกัน ฉันเลือกที่จะไม่ตัดสิน แต่ขอพยายามเข้าใจว่าอะไรคือความทุกข์ของพ่อ
ฉันเริ่มจากคุยสิ่งที่พ่อชอบ สิ่งที่ภาคภูมิใจ และความสำเร็จต่างๆที่ผ่านมา พ่อเริ่มสนุก เริ่มเล่าตั้งแต่นั่งรถเข้ากรุงเทพ ตอนเด็กๆ รับจ้างทำงาน จนกระทั่งมาเปิดธุรกิจเอง ล้มลุกคลุกคลาน สร้างครอบครัว จนวันที่มีฐานะมั่นคง พ่อก็ยังคงทำงานต่อ จนมาเจอว่าเป็นมะเร็ง ถึงเริ่มเตรียมส่งต่องานให้ลูก
1
ฉันถามถึงสิ่งที่พ่อชอบ เช่นการออกกำลังกาย พ่อก็เล่าให้ฟังว่า ทำงานเครียด ออกกำลังกายช่วยได้ ก็เลยทำมาตลอด ทำจนติดเป็นนิสัย ทั้งวิ่ง และเวท (มิน่าหล่ะ พ่อถึงดูดีอยู่มากแม้ป่วยหนัก)
พ่อเล่าให้ฟัง เมื่อก่อนตอนวิ่ง พ่อตื่นตีสี่ไปวิ่ง วิ่งเสร็จก็ไปทำงาน ทำงานเลิกก็วิ่งต่อ เช้า 10 โล เย็น 10 โล พ่อเล่าสายตาเต็มไปด้วยความสุข
แต่ก็ได้ไม่นาน พ่อก็กลับมาเศร้า ตอนนี้มันไม่ได้แล้วไงหมอ ทำอะไรที่อยากทำไม่ได้แล้ว ก็เลยอยากพอแล้ว
ฉันพยักหน้ารับรู้ ไม่มีคำปลอบใดๆ ไม่มีคำพูดใดที่จะทำให้พ่อรู้สึกพอใจกับวันนี้ที่เป็นอยู่ได้ เพราะรู้ว่าพูดไปก็คงไม่ได้ช่วยอะไร
ฉันเลยถามพ่อกลับ งั้นวันนี้มันยังไม่ถึงเวลาที่ร่างกายอนุญาตให้พ่อได้พัก พ่อคิดว่ามีอะไรบ้างที่พ่อทำได้ แล้วจะทำให้พ่อมีความสุขได้
พ่อนั่งคิด.....นิ่งไปพักหนึ่ง ฉันเองก็อดตื่นเต้นไม่ได้ หวังลึกๆว่าพ่อจะคิดได้
ซักพักพ่อเอ่ย.. “ก็ไม่มีแล้วแหละหมอ”
ฉันได้แต่ยิ้ม แล้วบอกว่า ไม่เป็นไรค่ะพ่อ วันนี้พ่อยังคิดไม่ออกไม่เป็นไรนะคะ ค่อยๆทบทวนได้ค่ะ ถ้าวันไหนมี พ่อบอกหมอนะ หมออยากรู้ เผื่อทำอะไรให้พ่อมีความสุขได้ นั่นเป็นงานของหมอเลย
งั้นเอาวันนี้ก่อน วันนี้พ่อมีตรงไหนรู้สึกไม่สบายตัวบ้าง หมอช่วยทำให้สบายขึ้นก่อนดีกว่า
แล้วพ่อก็เล่าให้ฟังเรื่องอาการปวดให้ฟัง รวมไปถึงอาการคลื่นไส้หลังได้ยาแก้ปวดจากรพ.เดิม
ตอนเล่าพ่อบอกว่า “ปวดไม่เยอะหรอก ไม่ต้องทำไรก็ได้”
ฉันได้ฟัง ก็คิดว่า งั้นเอาง่ายๆก่อน บางทีพ่ออาจจะอยากจากไป เพราะไม่สบายตัวเยอะก็ได้ แม้จะบอกว่าปวดไม่มาก แต่บางครั้งคนที่มีความอดทนสูงมากๆ ก็อาจจะทนกับความเจ็บได้มาก เพื่อที่จะไม่ต้องใช้ยา และคิดว่าพ่ออาจจะเป็นคนกลุ่มนี้ได้
ผ่านไปหลายวัน พ่ออาการปวดดีขึ้นมาก ดูสดชื่นขึ้น แต่ยังถามอยู่ ว่าจะอยู่ถึงเมื่อไหร่
ฉันก็ยิ้มๆ แล้วก็ตอบว่า “หมอก็ไม่รู้ รู้แต่ทุกคนมีเวลาของตัวเอง แล้วเวลาก็เดินหน้าไปเรื่อยๆด้วย”
พ่อก็ยิ้มๆ “เร็วหน่อยก็ดีเนอะหมอ”
“แต่เมื่อเวลานั้นมาถึง หมอก็จะไม่ได้ยื้อพ่อค่ะ” ฉันรับปากพ่อไป
3
มีวันหนึ่งเราได้คุยกันลึกๆ พ่อยังคงถามว่า เวลาของเขาเหลือนานมั้ย ฉันก็ไม่มีคำตอบให้เหมือนเดิม แต่ถามถึงการเตรียมพร้อมเมื่อวันนั้นมาถึง
2
หลายเคสที่ฉันเจอ ปากบอกไม่กลัวตาย บางครั้งพอถึงเวลานั้นจริงๆ กลับดูกลัว ลนลาน หรือ ดูยังไม่พร้อมจะจากไป ฉันมักจะขอถามให้แน่ใจ ในเคสที่ยอมรับความตายได้แล้ว ว่าได้มีการเตรียมความพร้อมแล้วจริงๆหรือยัง
ฉันถามถึงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงชีวิตของพ่อ ให้พ่อได้เล่า ถามถึงความภาคภูมิใจ และถามถึงเรื่องที่เสียใจ หรือเสียดาย ถามถึงสิ่งหรือคนที่พ่ออยากขอบคุณ ถามถึงสิ่งหรือคนที่พ่ออยากจะขอโทษ
ถึงตรงนี้ มักจะเป็นบทสนทนาที่มีน้ำตา พ่อเล่าให้ฟังถึงเรื่องที่อยากขอบคุณและขอโทษ พ่อร้องไห้ น้ำตาไหลพราก ฉันให้พ่อได้ร้อง ไม่ขัดใดๆ หลังจากพ่อเริ่มนิ่ง พ่อยิ้มและขอบคุณที่ได้คุยกัน
4
ก่อนออกมา พ่อบอกว่า “ได้คุยวันนี้ ดีเหมือนกัน เพิ่งรู้ว่าผู้ชายก็ร้องไห้ได้ ได้ร้องมันก็ดีเหมือนกันนะ”
จริงๆเป็นความเชื่อที่ว่า ผู้ชายต้องเข้มแข็ง ห้ามร้องไห้ การมีน้ำตาเป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนแอ ซึ่งมันไม่จริงเลย การที่เรามีน้ำตานั้น เกิดจากความเอ่อล้นของความรู้สึกบางอย่าง เช่น เสียใจ ดีใจ โกรธ ใดๆก็ได้ ซึ่งบางครั้งมันก็ท้นออกมาเป็นน้ำตา ที่มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะใช้น้ำตา เป็นที่ระบายความเอ่อล้นของความรู้สึกนั้นๆได้ ไม่เกี่ยวกับเพศ ไม่เกี่ยวกับอายุ ฉันดีใจที่มีพื้นที่ให้พ่อแสดงความรู้สึก
2
หลังจากคุมอาการได้ ปรับยาจนพ่อนอนได้ดีขึ้น ให้ยาตาม schedule ตารางชีวิตของพ่อ ไม่ใช่ run ตามตารางพยาบาล นอกจากผลการรักษาดีขึ้นแล้ว ยังทำให้พ่อมี sense of control ได้อีกครั้ง พ่อเริ่มมีโปรแกรมทำนู่นทำนี่มากขึ้น มีสั่งอาหารอร่อยๆมาทาน พร้อมแบ่งให้ทีม
2
พ่อเริ่มมีอาการเหนื่อยมากขึ้น ปวดมากขึ้นจากโรคที่ลุกลาม ทำให้ต้องใช้ยาคุมอาการขนาดสูงฉีดเข้าเส้นเลือด มีอาการปรับยาตามกิจกรรมของพ่อ เพื่อให้พ่อสบายตัวที่สุด
1
ช่วงที่อยู่รพ. มีช่วงฉลองวันเกิดของพ่อกับครอบครัว ลูกสาวเขียนการ์ด ระบายด้วยสีไม้ เขียนว่า รักป๊าที่สุดในโลก (วาดรูปโลก) พร้อมแต่งห้องง่ายๆ ด้วยกระดาษสีแบบที่เราติดบอร์ดตอนเด็กๆ
2
เหมือนรู้ใจว่าพ่อเป็นคนเรียบง่าย ไม่ต้องมีอะไรหวือหวา ไม่สิ้นเปลือง และครอบครัวก็สั่งอาหารมาทานที่รพ.ด้วย
3
มีวันที่พ่อนัดหมอไปทานอาหารนอกรพ. เป็นเนื้อย่างร้านโปรด ที่พ่อทานมา 30 กว่าปี
ด้วยความที่พ่อต้องใส่อ๊อกซิเจนตลอด การไปกินเนื้อย่างน่าจะใส่อ้อกซิเจนไม่ได้ แต่ให้ยาแก้ปวดแก้เหนื่อนแบบฉีดได้
เลยต้องมีการซักซ้อมเหตุการณ์หลังบ้าน แอบไม่ให้พ่อรู้ เพื่อ เพราะถ้าพ่อรู้คงไม่ยอมแน่ๆ เพราะพ่อชอบอะไรเรียบง่าย
แต่ทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี น่าจะเป็นมื้อที่ดีที่สุดมื้อนึงของพ่อเลย
2
หลังจากนั้น พ่อยังได้ไปทานข้าวกับครอบครัวอีกหลายมื้อ แน่นอนพ่อไปพร้อมยาฉีดคุมแก้ปวด เพราะอาการปวดของพ่อต้องใช้ยาเยอะมาก
2
หลังๆ พ่อก็ไม่ได้ถามถึงเวลาที่เหลือแล้ว มีรอยยิ้มมากขึ้น เวลาเจอ คำพูดของพ่อก็เปลี่ยนไป พ่อก็จะบอกว่า “อยู่แบบนี้ก็ดีนะหมอ สบายดี ที่นี่ดีนะหมอ ขอบคุณที่ทำที่แบบนี้”
3
ฉันดีใจที่พ่อได้ใช้เวลาที่มีสร้างรอยยิ้มให้ตัวเองและคนรอบข้าง
1
....แต่โรคก็ดำเนินไปข้างหน้าเช่นกัน
ช่วงสัปดาห์ท้ายๆ พ่อเหนื่อยหอบมากขึ้น ทำกิจกรรมไม่ได้แบบเดิม การปรับยาคุมอาการต้องใช้มากขึ้นมาก จนพ่อหลับเป็นส่วนมาก แต่เวลาไปเยี่ยมพ่อก็ยังมีรอยยิ้ม และตื่นมาถามฉันว่า ใกล้แล้วใช่มั้ยหมอ ไม่ยื้อนะหมอ
ฉันได้แต่บีบมือพ่อแล้วตอบว่า “ค่ะ ไม่ยื้อค่ะพ่อ สัญญา”
6
พ่อจากไปไม่นานหลังจากที่ร่างกายทรุดลง แทบไม่มีช่วงติดเตียง
และวันสุดท้าย พ่อยังหล่อมากๆเหมือนวันแรกที่เจอกัน
1
แบบนี้แหละ ที่ฉันเรียกว่า จากไปแบบสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การไม่ถูกยื้อความตายด้วยเครื่องมือแพทย์ การไม่ถูกทำในสิ่งที่คนไข้ไม่ต้องการ การได้รับการดูแลอย่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มีการคุมอาการไม่สุขสบายต่างๆอย่างดี ไม่ปล่อยให้ทรมาน 
5
เพราะสุดท้ายแล้ว แม้เราจะเลือกวันตายไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะตายอย่างมีศักดิ์ศรีได้เสมอ
2
สำหรับคนที่เรียกร้องให้ประเทศไทยมีการุณยฆาต อยากให้รู้จักสิ่งนี้ก่อน ที่เรียกว่าการดูแลแบบ Palliative care
ให้ทุกพื้นที่ในไทย มีการดูแลแบบ Palliative care ที่ทั่วถึงเสียก่อน ที่จะมาขอให้ฉีดยาให้ตาย เพราะนาทีที่เรายังหายใจอยู่นี้แบบมีสติอยู่นี้ คือของขวัญที่ดีที่สุดของเรา
4
สวัสดีปีใหม่ค่ะ
เราโชคดีที่กำลังจะมีปีใหม่
2
แต่อย่าลืมสวัสดีนาทีปัจจุบัน และสวัสดีนาทีใหม่ด้วยนะคะ
1
พญ.นิษฐา เอื้ออารีมิตร
1
93 บันทึก
189
15
134
93
189
15
134
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย