1 ม.ค. เวลา 06:44 • ข่าวรอบโลก

ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Jeju Air 2216

- เครื่องบินนี้เป็นเครื่องบิน Boeing 737-800 ไม่ใช่ 737-MAX ที่เกิดอุบัติเหตุหลายครั้งก่อนหน้า และประจำการมาตั้งแต่ปี 2009 กับ Ryan Air ก่อนย้ายมาประจำการกับ Jeju Air (ซึ่งเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2015 และไม่เคยมีอุบัติเหตุร้ายแรง) ในปี 2017
- เครื่องบินลำนี้เพิ่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อไม่กี่วันก่อน แต่ดูเหมือนเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินทางการแพทย์ที่มีคนป่วยบนเครื่อง
- เครื่องบินลำนี้มีผู้โดยสาร 175 คนจาก 189 ที่นั่ง และมีลูกเรืออีก 6 คน บิน red eye จากสนามบินสุวรรณภูมิไปยังสนามบิน Muan และเตรียมลง runway 01 จากทางทิศใต้
- เครื่องบินออกเดินทาง 02:28 ช้ากว่าเวลาเดินทางที่กำหนดไว้ชั่วโมงเศษ
- ก่อนเครื่องร่อนลง ATC ได้แจ้งนักบินว่ามีฝูงนกบินอยู่ในบริเวณ เวลาประมาณ 8:57
- 8:59 นักบินแจ้งว่า มีนกชนเครื่อง และประกาศ Mayday และนำเครื่องขึ้น เพื่อ go around จังหวะนี้ ข้อมูลของ ADS-B ที่ทาง Flightradar 24 ใช้ในการเก็บข้อมูลเครื่องบินหยุดทำงาน ขณะความสูง 500 ฟุตจากพื้นดิน และมีคลิปแสดงว่า นกชนเข้ากับเครื่องยนต์ที่ 2 ด้านขวาของเครื่อง
4
- 9:00 นักบินนำเครื่องขึ้น และหันเครื่องกลับ
1
- 9:01 นักบินขอลงจอดฉุกเฉินที่ runway 19 ในทิศทาง 180 จาก runway 01 และได้รับอนุญาต
- 9:02 นักบินนำเครื่องลงที่ 1,200 เมตร จาก runway ความยาว 2,800 เมตร
1
- คลิปแสดงให้เห็นว่า เครื่องยนต์ที่ 1 ด้านซ้ายดูเหมือนจะไม่ทำงาน flap, slat, spoiler ไม่กาง เหมือนเป็น clean configuration มากกว่า landing configuration
- thrust reverser ทำงานจากเครื่องยนต์ขวาด้านเดียว ด้านซ้ายดูเหมือนไม่ได้เปิด
2
- เครื่องบินลงจอดที่ความเร็วน่าจะสูงกว่า 160 knot สูงกว่าความเร็วปกติ 130-140 knot
2
- ล้อไม่ได้กางออกเลย
3
- นี่กลายเป็นว่า เครื่องบินลงจอดในภาวะที่แย่มากๆ ในทุกๆ มิติ ความเร็วสูงเกิน เหลือ runway น้อย ไม่มีเบรกล้อ ไม่มีเบรกเครื่องยนต์เต็มที่ ไม่มี flap, slat, spoiler ช่วยลดความเร็ว คนเต็มลำ ไม่มีเวลาเผาน้ำมัน
13
- แถมสุดทาง runway 19 ยังมีแท่นคอนกรีตที่ติดตั้งเสาอากาศที่มีเนินดินถมอยู่ ห่างออกไป 250 เมตรหลังสุด runway ซึ่งจริงๆ สูงเพียง 7 ฟุต ถ้าล้อกางปกติ ก็คงจะไม่ได้ชนกับตัวเครื่อง แต่พอล้อไม่กาง เครื่องบินเลยชนเข้าเต็มๆ
4
วิเคราะห์สถานการณ์
1
- นกชนอาจจะทำให้เครื่องยนต์ดับ
5
- นักบินทำ go around น่าจะสั่งพับล้อที่กางออก เพื่อลด drag และเร่งเครื่องเพื่อให้ go around ได้
- นักบินตีโค้งแคบ และเร็วมาก ทำให้ตำแหน่งของเครื่องอยู่เกือบกลาง runway ตอนวกกลับมา
- มีความเป็นไปได้ว่า นักบินอาจจะรีบร้อน อาจจะปิดเครื่องยนต์ผิดเครื่อง แทนที่จะปิดเครื่อง 2 อาจจะปิดเครื่อง 1 จนอาจจะเสีย hydraulic ไป
15
- พอวางแผนจะเอาเครื่องลง แต่ hydraulic ไม่ทำงาน เลยกางล้อ กาง flap, slat, spoiler โดยใช้ hydraulic ไม่ได้
1
- กล่องดำกอบกู้ได้ แต่ความซวยคือ กล่อง flight data recorder ดันไม่ได้เสียบ cable เข้าระหว่าง power unit กับ storage unit ตอนนี้ เลยอาจจะต้องพึ่งข้อมูลจาก CVR (Cockpit Voice Recorder) ที่อัดเสียงในห้องนักบินแทน ส่วนกล่อง FDR คงต้องพึ่งทาง Boeing และทาง NTSB ให้ตรวจสอบเพิ่มเติมว่าพอจะดึงอะไรออกมาได้บ้างไหม
3
Myth
- เครื่อง 737 มีน้ำหนักลงจอดสูงสุด (MLW) ไม่น้อยกว่าน้ำหนักขึ้นบินสูงสุด (MTOW) จึงไม่จำเป็นต้องมีระบบทิ้งน้ำมันเชื้อเพลิง จึงไม่ได้ติดตั้งเอาไว้ และไม่สามารถทิ้งน้ำมันก่อนร่อนลงจอดได้
2
- ร่อนลงจอดบนน้ำไม่ได้ปลอดภัยกว่าเลย ลงเร็วขนาดนี้ ลงจอดบนน้ำ เหมือนกระแทกคอนกรีตดีๆ นั่นเอง แถมยังไม่มีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือ จะต่างก็ตรงเพลิงไหม้ที่มีน้ำช่วยดับไฟ แต่ผู้โดยสารก็อาจจะจมน้ำก่อนเช่นกัน
3
- อย่างกัปตัน Sally ของ United Airlines ยังถูกสอบสวน เพราะตัดสินใจเอาเครื่องลงจอดในน้ำ แทนที่จะไปลงสนามบินใกล้เคียง เพราะการลงจอดในน้ำ ไม่ใช่ทางเลือกหลักในการลงจอดฉุกเฉิน
1
- ไม่มีเวลาให้ฉีดโฟมช่วย เพราะนักบินลงจอดฉุกเฉิน เพียงไม่กี่นาทีให้ทางสนามบินเตรียมการเลย
- รถดับเพลิงออกไปพยายามช่วยไวมาก เพียงแค่ 1-2 นาที แต่ไฟลุกเร็วมาก คนที่รอด คือ เจ้าหน้าที่ประจำเครื่อง 2 คนที่นั่งส่วนท้ายหลังเครื่องที่หลุดออก เลยรอดมาได้
1
- 737-800 ไม่ได้ใช้ runway ยาวมากในการลงจอดปกติอยู่ 1,600 เมตร แต่นักบินนำเครื่องลงก็เหลือ runway แค่ 1,600 เมตรแล้ว ยังไงก็ไม่พอในการลงจอดฉุกเฉิน
- แท่นคอนกรีตนั้นไม่ใช่กำแพง เป็นเพียงฐานของเสาอากาศ และมีเนินดินถม ไม่ได้สูงมาก อยู่ห่างสุด runway 250 เมตร ซึ่งไม่ได้ผิดมาตรฐาน การโทษคอนกรีต เหมือนโทษปี่โทษกลอง ในสนามบินที่ runway ยาว 2,800 เมตร
3
ข้อสงสัย
4
- ทำไมต้องรีบเอาเครื่องลง ควรพยายามหาทางทำให้เครื่องอยู่ในอากาศนานที่สุด เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ก่อน
3
- ทำไมไม่ทำตาม checklist ซึ่งคิดว่าไม่ได้ทำแน่ๆ เพราะ checklist ต้องใช้เวลาหลายนาทีในการตรวจสอบ
2
- นักบินผู้ช่วยมีประสบการณ์เพียง 1,650 ชั่วโมง และเริ่มเป็นนักบินผู้ช่วยมาตั้งแต่ปี 2023 ในขณะที่กัปตันมีชั่วโมงบินถึง 6,823 ชั่วโมง อาจจะทำให้ไม่กล้าแย้งกับกัปตัน เลยอาจจะมีปัญหา crew resource management คล้ายกับเหตุการณ์ Korean Air 801
2
- ถ้ามีความเสี่ยงเรื่องนก สนามบินอื่นที่มีความเสี่ยงมักมีการยิงปืนไล่นกกัน แต่ดูเหมือนสนามบินนี้จะไม่มี
1
- ถ้ารีบร้อนปูนนี้ จะมีโอกาสแค่ไหนที่ปิดเครื่องผิด และไม่ได้ตรวจระบบ hydraulic ให้ดี ไม่มีเวลา start APU มาช่วย backup
4
- ระบบ hydraulic มี system A และ B แถมยังมีระบบ standby อีกระบบ ถ้ามีเวลา ยังไงก็น่าจะทำให้มันทำงานได้ ยังไม่แน่ใจว่า ทำไมต้องรีบเอาเครื่องลง
1
- และต่อให้ระบบ hydraulic ทำงานไม่ได้ ยังไงๆ ก็สามารถเอาล้อลงด้วยมือได้ การลงจอดโดยไม่เอาล้อลง ดูเหมือนเป็นการฆ่าตัวตายชัดๆ เสี่ยงสุดๆ จะเอาเครื่องลงยังไง ก็ต้องพยายามเอาล้อลงให้ได้
2
ถ้าให้ฟันธงสาเหตุของการตกครั้งนี้ ผมฟันธงแบบมั่วๆ เลยว่าเป็น Pilot error ครับ แต่สาเหตุที่แท้จริงน่าจะต้องรอ NTSB ตรวจสอบ คาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนครับ
7
ที่มา:
โฆษณา