1 ม.ค. เวลา 12:36 • ข่าว

เซเลนสกี้สั่งปิดท่อส่งก๊าซจากรัสเซียแล้ว

ชาวยุโรปเตรียมโบกมือลาค่าแก๊ซราคาถูก
2
โวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ ผู้นำยูเครนหักดิบรัสเซีย ตัดสินใจไม่ต่อสัญญาท่อส่งก๊าซกับบริษัท Gazprom ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในท่อส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LPG) เส้นทางหลักจากรัสเซีย ผ่านยูเครนไปยังประเทศต่างๆในยุโรป นับเป็นการจบข้อตกลงการขนส่งก๊าซระหว่างรัสเซีย และยูเครน ที่ยาวนานถึง 33 ปี
4
เซเลนสกี้ประกาศกร้าวว่า ยูเครนจะไม่ยอมให้รัสเซียหากินบนเลือดเนื้อของชาวยูเครนได้อีก ซึ่งการยกเลิกสัญญาท่อส่งก๊าซจากรัสเซียก็ถือเป็นอีกหนึ่งชัยชนะของยูเครนเช่นกัน
5
สัญญาท่อส่งก๊าซ ระหว่างรัสเซีย และ ยูเครนนี้ มีขึ้นตั้งแต่ปี 1991 โดยบริษัท Gazprom และ Naftogaz ของยูเครน โดยรัสเซียจะส่งก๊าซธรรมชาติเหลวผ่านท่อก๊าซในยูเครนไปยังประเทศในยุโรปฝั่งตะวันตก ที่สร้างรายได้ให้กับรัสเซียไม่น้อยกว่า 5 พันล้านเหรียญในแต่ละปี ในขณะที่ยูเครนจะได้ส่วนแบ่งจากค่าบริการขนส่งก๊าซ ซึ่งจะมีการต่อสัญญาทุกๆ 5 ปี
3
ซึ่งรัสเซียเคยเกือบจะไม่ได้ต่อสัญญามาแล้วครั้งหนึ่งจากกรณีการผนวกไครเมียของรัสเซียในปี 2014 ส่วนการต่อสัญญาครั้งล่าสุดคือปี 2019 ก่อนที่จะเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนอย่างจริงจังในปี 2022 ที่คราวนี้ เซเลนสกี้ ยืนยันที่จะไม่ต่อสัญญาท่อส่งก๊าซกับรัสเซียอีกต่อไปแล้ว ให้มันจบในยุคของกี้ฯ นี่แหล่ะ
1
ดังนั้นการส่งก๊าซของรัสเซียผ่านยูเครนจะสิ้นสุดลงทันทีตั้งแต่เวลา 8 โมงเช้าของวันที่ 1 มกราคม 2025 นี้เป็นต้นไป
ส่วนบรรดาชาติในยุโรปที่เป็นลูกค้ารัสเซีย ก็พอจะคาดการณ์ไว้บ้างแล้วว่า ยูเครนต้องงัดไม้เด็ดปิดท่อส่งก๊าซรัสเซียเข้าสักวัน จึงประกาศนโยบาย ทยอยลดการพึ่งพาก๊าซ และน้ำมันจากรัสเซียมาตั้งแต่ก่อนจะเกิดสงครามในยูเครนเสียอีก
2
จากตัวเลขในปี 2021 ชาติยุโรปเคยนำเข้าพลังงานจากรัสเซียถึง 40% แต่ลดลงเหลือเพียง 10% ในปี 2023 ซึ่งเป็นผลพวงจากมาตรการคว่ำบาตรของพันธมิตรชาติตะวันตกร่วมด้วย
3
แต่ทั้งนี้ ก็มีหลายชาติทางยุโรปตะวันออก ที่ยังนำเข้าพลังงานจากรัสเซียอยู่ ดังนั้นการปิดท่อของยูเครน ย่อมส่งผลต่อประเทศดังกล่าว อาทิ มอลโดวา ออสเตรีย และ สโลวาเกีย ที่ตอนนี้เริ่มมีข่าวการขาดแคลนพลังงานใช้ในประเทศกันแล้ว
1
ดังนั้น ผลพวงจากสงคราม และการตัดสินใจของผู้นำยูเครน ทำให้รัสเซียกระอักเลือดได้ก็จริง เพราะเส้นทางขนส่งน้ำมันผ่านยูเครน กระทบตลาดหลักของรัสเซีย แต่ก็ทำให้ชาวยุโรปส่วนใหญ่ร่วมกินเลือดไปกับยูเครนด้วย
1
เพราะชาติในยุโรปตะวันตก ต้องหันไปนำเข้าพลังงานจากแหล่งอื่น อาทิ นอร์เวย์ การ์ตา และสหรัฐอเมริกา ที่มีราคาแพงกว่า ที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันในท้องตลาด และค่าไฟฟ้าทั่วยุโรปราคาสูงขึ้นกว่า 5% แล้ว
2
ส่วนยูเครนเอง ก็สูญรายได้จากส่วนแบ่งค่าขนส่งจาก Gazprom กว่าปีละ 1 พันล้านเหรียญเช่นกัน และยังสร้างความขุ่นเคืองใจให้กับเพื่อนบ้านย่านยุโรปตะวันออก ที่กำลังเดือดร้อนจากการขาดแคลนก๊าซในช่วงกลางฤดูหนาว
1
ด้านรัสเซีย ก็ยังพอมีเส้นทางขนส่งก๊าซอื่นๆอยู่ เช่น ท่อก๊าซ TurkStream ในทะเลดำ แต่ก็ต้องหาตลาดทดแทนอื่นๆ เช่น จีน และ อินเดีย
1
ดังนั้น การปิดท่อส่งก๊าซฝั่งยูเครน อาจจะไม่กระทบต่อการส่งออกก๊าซธรรมชาติของรัสเซียมากเท่ากับ สงครามของรัสเซียในยูเครนที่ยืดเยื้อ และการคว่ำบาตรจากประเทศที่เคยเป็นคู่ค้าพลังงานของรัสเซียต่างหาก ที่ทำให้เจ็บหนักจริงๆ
1
แต่นั่นก็หมายถึงการที่ชาวยุโรปอื่นๆ ต้องทำใจโบกมือลาพลังงานราคาถูกจากรัสเซีย และพร้อมที่จะจ่ายแพงกว่า หรือหันมาพึ่งพาแหล่งพลังงานทางเลือกอื่นๆ ที่อาจจะยังไม่สะดวกใช้ได้ดั่งใจในช่วงเวลาอันใกล้นี้
1
****************
ติดตามบทความของ "หรรสาระ" เพิ่มเติมได้ที่
Facebook - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
Twitter - @HunsaraByJeans
Blockdit - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
แพลทฟอร์มคุณภาพ ไม่ปิดกั้นการมองเห็นเนื้อหา
****************
แหล่งข้อมูล
โฆษณา