1 ม.ค. เวลา 16:46 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์

เดือนมกราคม 2025 📅🔭
3-01 📅
▪️ ฝนดาวตก Quadrantid แหล่งกำเนิดของฝนดาวตก Quadrantidคือดาวเคราะห์น้อย 2003 EH1
ดาวตก Quadrantid จะพุ่งสูงสุดในอัตรา เฉลี่ยประมาณ 80 ดวงต่อชั่วโมง เทียบกับดวงจันทร์
ข้างขึ้นเสี้ยว 27% จะไม่รบกวนการสังเกตการณ์ ทำให้ปี 2025เป็นปีที่เหมาะสมสำหรับการชม
ก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย 3 - รุ่งเช้า 4 มกราคม
4-01 📅
▪️โลกที่จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
โลกของเราจะถึงจุดใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
ในวันที่ 4 มกราคม เวลา 20.28 น. ที่ระยะห่าง 0.98333 AU (147,103,686 กม.) เทียบกับยาน Parker เพิ่งเข้าใกล้ที่สุดในระยะ 6.1 ล้าน กม.
12-01 📅
▪️ดาวอังคารใกล้โลกมากที่สุด
ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ระยะห่างประมาณ 96 ล้านกิโลเมตร
13-01 📅
▪️ ดาวหางสว่างที่ต้องจับตามอง
ขณะนี้มีดาวหางเพียงดวงเดียวที่มีศักยภาพที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ในปี 2025 นั่นก็คือดาวหาง
C/2024 G3 ATLAS ดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดที่ระยะ 0.094 หน่วยดารา
ศาศตร์ในวันที่ 13 มกราคมและอาจมีความสว่างมากกว่า -1 มิลลิ วินาทีหรือสว่างกว่านั้น ด้วยความสว่าง +7
14-01 📅
▪️ ดวงจันทร์เต็มดวง และบดบังดาวอังคาร
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวัตถุท้องฟ้าดวงหนึ่งโคจรผ่านหน้าอีกดวงหนึ่ง ทำให้มองไม่เห็น พระจันทร์ที่เต็มดวงจะโคจรผ่านหน้าดาวอังคาร ทำให้ดูเหมือนว่าดาวอังคารหายไป
16-01 📅
▪️ ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์
ไปอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ช่วงดังกล่าวสามารถสังเกตการณ์ดาวอังคารได้ตลอดทั้งคืน ปรากฏสว่างเป็นสีส้มสดใสบนฟ้า
18-01 📅
▪️ ดาวศุกร์และดาวเสาร์โคจรมาใกล้กัน
ในวันที่ 18 และ 19 มกราคม ดาวศุกร์และดาวเสาร์จะปรากฏใกล้กันมากบนท้องฟ้า แม้ว่าดาวศุกร์และดาวเสาร์จะอยู่ห่างกันหลายล้านกิโลเมตรในอวกาศ แต่เมื่อมองจากโลก ก็ทำให้ดูเหมือนว่าทั้งสองดวงกำลังโคจรมาใกล้กัน
29-01 📅
▪️จันทร์ดับ 19:36 น.
ปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลก ดวงจันทร์จึงหันด้านมืดเข้าหาโลก ทำให้ไม่เห็นดวงจันทร์
พาเหรดดาวเคราะห์ 4 ดวงพร้อมกัน
▪️ ดาวศุกร์วัตถุที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้าในเวลา
กลางคืน รองจากดวงจันทร์
ดาวอังคารที้สว่างมากเป็นพิเศษอยู่ตรงข้าม
ดาวเสาร์ ที่สามารถจดจำได้จากวงแหวน
(อาจจะต้องใช้กล้องโทรทรรศน์จึงจะมองเห็นได้อย่างชัดเจน) ดาวพฤหัสพี่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะของเรา และยังมีความสว่างมากอีกด้วยทั้งสี่ดวงนี้ปรากฏให้เห็นพร้อมกันบนท้องฟ้าตอนเย็น ตลอดทั้งเดือนมกราคม ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นทุกปี
ℹ️ ตำแหน่งดาวหาอย่างไรแนะนำให้ใช้ APP
แล้วทุกอย่างจะง่ายขึ้น😊 ⬇️⬇️⬇️
โฆษณา