11 ม.ค. เวลา 00:00 • หนังสือ

บทความ Blockdit ตอน ของขวัญให้ชาวโลก

โลกเรามีสิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ระดับสุดยอดจำนวนมาก ยกตัวอย่าง เช่น ไม้ขีดไฟ ยาปฏิชีวนะ เข็มขัดนิรภัย อินเทอร์เน็ต คิวอาร์โค้ด คาราโอเกะ ฯลฯ สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ย่อมสามารถสร้างความร่ำรวยให้นักประดิษฐ์ได้แน่นอน
เมื่อใครคนหนึ่งประดิษฐ์งานสักชิ้นหนึ่งที่เป็นนวัตกรรม ทุกคนจะบอกเขาให้รีบไปจดสิทธิบัตร เพราะมันจะสร้างเงินทองมากมาย
แต่ไม่ทุกคนคิดอย่างนั้น นักประดิษฐ์หลายคนไม่ได้ปรารถนาความร่ำรวย พวกเขาทำงานเพื่อให้โลกดีขึ้น
1
นี่ย่อมสวนทางกับปรัชญากำไรสูงสุดที่ครอบงำโลกปัจจุบัน
2
มันต้องใช้สมองพิเศษคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ แต่ต้องใช้หัวใจพิเศษจริงๆ มอบสิ่งประดิษฐ์เป็นของขวัญให้ชาวโลก
5
-1-
ในอดีตโรคโปลิโอเป็นโรคร้ายแรง เกิดจากไวรัส มีคนตายเพราะโรคนี้มากมาย คนที่รอดก็พิการตลอดชีวิต
นักไวรัสวิทยาชาวอเมริกัน โจนาส ซอล์ค (Jonas Salk) เป็นหัวหอกโครงการคิดค้นวัคซีน จนสำเร็จ ด้วยความร่วมมือของหมอ บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่รวมหลายแสนคน
เมื่อทำวัคซีนสำเร็จ มีคนถาม โจนาส ซอล์ค ว่า “ใครเป็นเจ้าของสิทธิบัตรวัคซีน?”
ซอล์คตอบว่า “ประชาชน”
เขาบอกว่า “มันไม่มีสิทธิบัตรครับ คุณสามารถมีสิทธิบัตรดวงอาทิตย์หรือ?” (There is no patent. Could you patent the sun?)
8
-2-
เซอร์ เฟรเดอริค แกรนท์ แบนติง (Sir Frederick Grant Banting) เป็นแพทย์ชาวแคนาดาที่พยายามหาทางรักษาโรคเบาหวาน
หลังจากล้มลุกคลุกคลานกับวิธีการสกัดยาต่างๆ ในปี 1920 แบนติงและ ชาร์ลส์ เบสต์ กับนักเคมีหลายคนก็พบวิธีสกัดอินซูลินสำเร็จ
แบนติงขายสิทธิบัตรอินซูลินให้มหาวิทยาลัยโทรอนโตเป็นเงินแค่ 1 เหรียญ บอกว่า “อินซูลินไม่ใช่ของผม มันเป็นของโลก” (Insulin does not belong to me, it belongs to the world.) เพื่อให้ยาเข้าถึงคนทั้งโลกจริงๆ
3
-3-
ไม้ขีดไฟเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญมากของมนุษยชาติ พกง่าย ใช้ง่าย ช่วยทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น และอาจช่วยชีวิตคนเดินทางได้
ไม้ขีดไฟประดิษฐ์โดยนักเคมี จอห์น วอล์คเกอร์ (John Walker) ในราวทศวรรษ 1820s
แต่เขาไม่จดสิทธิบัตร เขาต้องการให้ทุกคนในโลกใช้มันได้
6
-4-
1
Nils Ivar Bohlin วิศวกรและนักประดิษฐ์ของวอลโว ผู้ประดิษฐ์เข็มขัดนิรภัยแบบ three-point มันกลายเป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้คนขับปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
ในสหรัฐฯ มันช่วยชีวิตคนปีละหลายล้าน
ผู้ประดิษฐ์ไม่จดสิทธิบัตร เพื่อประโยชน์ต่อชีวิตคนทั้งโลก
5
-5-
เมาส์คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันทุกวันนี้ เป็นสิ่งประดิษฐ์ของ ดักลาส อิงเกลบาร์ท (Douglas Engelbart เมาส์อันแรกที่เขาสร้าง ทำด้วยไม้ เขาจดสิทธิบัตรในปี 1963 ก็จริง แต่ปล่อยให้มันหมดอายุ ไม่นานก่อนที่มันกลายเป็นอวัยวะสำคัญของคอมพิวเตอร์
ผู้ประดิษฐ์ไม่เคยขอค่าสิทธิบัตรและผลประโยชน์ใดๆ จนกระทั่งเขาตายในปี 2013
5
-6-
QR codes ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันถูกประดิษฐ์โดยบริษัท Denso Wave ของญี่ปุ่นในปี 1994 เพื่อใช้ตามชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงงานอัตโตมัติ
1
Denso Wave จดลิขสิทธิ์และตั้งชื่อมันว่า QR code แต่พวกเขาไม่สงวนลิขสิทธิ์ อนุญาตให้ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก
4
-7-
ชาวโลกที่รักเสียงเพลงนิยมคาราโอเกะมาก มันกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ของคน เครื่องเล่นคาราโอเกะประดิษฐ์โดย ไดสึเกะ อิโนอูอิ (Daisuke Inoue 井上 大佑) ในปลายทศวรรษที่ 1960
คาราโอเกะแปลตรงตัวว่า วงดนตรีที่ว่างเปล่า สามารถร้องเพลงโดยไม่ต้องมีวงดนตรีจริงๆ
1
เขาเป็นนักดนตรีมาแต่เด็ก ตอนวัยรุ่นทำงานทำเทปเสียงประกอบ (back-up) สำหรับพวกนักธุรกิจที่ชอบมาร้องเพลงในบาร์ ประดิษฐ์เสร็จสรรพในปี 1971 แต่เขาก็ไม่เคยจดสิทธิบัตร และหาเงินจากสิ่งประดิษฐ์นี้
4
-8-
ในปี 1993 สิ่งประดิษฐ์กำเนิดขึ้น และเปลี่ยนโลกแทบจะหน้ามือเป็นหลังมือ
มันคือสิ่งที่เรียกว่า World Wide Web
วันนั้นคือวันที่ 30 เมษายน 1993 World Wide Web ปรากฏตัวใน public domain
1
เว็บไซต์นั้นง่ายในการใช้ แค่ใช้สิ่งที่เรียกว่า browser พิมพ์ใน URL แล้วกดปุ่ม return
นี่ก็คือกำเนิดอินเทอร์เน็ตอย่างเป็นทางการ
มันเป็นผลงานของ ทิม เบอร์เนอร์-ลี (Tim Berners-Lee) นักวิจัยวัย 37 ในแล็บฟิสิกส์ CERN ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
1
ที่มาของไอเดียนี้ จากคำสัมภาษณ์ของ ทิม เบอร์เนอร์-ลี ในปี 1996
“เกือบทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องรู้ในชีวิตประจำวันของคุณถูกเขียนไว้แล้ว ณ ที่ใดที่หนึ่งข้างนอกโน่น และในช่วง 1980s แน่ใจได้เลยว่ามันถูกเขียนลงในคอมพิวเตอร์ที่ไหนสักแห่ง มันเป็นเรื่องน่าหงุดหงิดที่การลงแรงของคนต่างๆ ที่พิมพ์ในเครื่อง ไม่ได้ถูกนำมาใช้ ในเมื่อความจริง ทั้งหมดสามารถถูกนำมารวมด้วยกัน และใครๆ ก็เข้าถึงได้ ทุกอย่างจะง่ายขึ้นมากสำหรับทุกคน”
3
ผลงานนี้น่าจะทำให้เขาร่ำรวยมหาศาล แต่เขาไม่ทำ ไม่จดสิทธิบัตร ไม่มีค่าใช้จ่าย
1
แม้ว่าตามหลักการ งานประดิษฐ์ของเขาจะตกเป็นของ CERN เพราะเขาเป็นลูกจ้างขององค์กรนี้ และ CERN สามารถหาประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตได้ แต่เขาโน้มน้าวใจให้ CERN ยก World Wide Web เป็นสมบัติของมนุษยชาติ
4
อีกทั้งเขาเชื่อว่า ถ้าให้ฟรีแก่ชาวโลก จะทำให้มันก้าวหน้ามากขึ้น
2
และมันก็จริงตามที่เขาคิด
-9-
เราทุกคนเคยชินกับรูปกราฟิกหน้ายิ้ม มันเป็นผลงานของศิลปินอเมริกัน ฮาร์วีย์ รอส บอล (Harvey Ross Ball)
งานชิ้นนี้รับจ้างวาดให้บริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งในปี 1963 โจทย์คือเขียนภาพที่สร้างกำลังใจให้คนในบริษัท แต่รูปนี้กระจายออกจากสำนักงานอย่างรวดเร็ว แพร่ไปทั่วโลก
รูปอิโมจิหน้ายิ้มเป็นสัญลักษณ์สากลของโลก แต่ศิลปินผู้นี้ไม่เคยจดลิขสิทธิ์
2
เขาได้รับค่าจ้างเขียนรูปนี้เพียง 45 ดอลลาร์
งานหน้ายิ้มก็จุดประกายให้เกิดอิโมจิอื่นๆ
1
ต่อมาเข้าก่อตั้งมูลนิธิ Harvey Ball World Smile Foundation ในปี 1999 เป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรเพื่อเด็ก
1
นอกจากสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้แล้ว ยังมีอีกไม่น้อยที่ผู้คิดค้นไม่คิดหาผลประโยชน์จากสิ่งที่ประดิษฐ์คิดค้น เช่น Monoclonal antibodies (โปรตีนจากแล็บที่ใช้รักษามะเร็ง) แถบแม่เหล็กของบัตรเครดิต เกม Tetris ฯลฯ
2
คนเหล่านี้มีหัวใจใหญ่
4
และทำให้ใบหน้าชาวโลกมีรอยยิ้ม เหมือนอิโมจิหน้ายิ้มที่ไร้ลิขสิทธิ์
5
โฆษณา