22 มี.ค. เวลา 00:00 • หนังสือ

บทความ Blockdit ตอน ไม่ต้องรอให้ถึงจุดหมาย จึงค่อยมีความสุข

แมทธิว ริคารด์ (Matthieu Ricard) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เขาเรียนจบปริญญาเอกสาขาพันธุกรรมโมเลกุลจากสถาบันปาสเตอร์ กรุงปารีส
4
ชีวิตของเขาก็คงเหมือนนักวิชาการทั่วไป ทำงาน มีครอบครัว เกษียณ และจากโลกไป
แม้ยังอยู่ในวัยหนุ่ม เขารู้สึกเบื่อหน่ายชีวิตที่เขากำลังอยู่ และคงจะอยู่ไปตลอดชีวิต เขารู้ว่ามีบางสิ่งขาดหายไปในชีวิต
วันหนึ่งหลังจากที่เขาเห็นว่า เขาไม่อาจหาความหมายของชีวิตได้จากโลกตะวันตก เขาก็มุ่งตะวันออก
3
เขามุ่งหน้าไปที่อินเดีย ไปศึกษาพุทธทิเบต ณ อารามแห่งหนึ่งที่กาฐมาณฑุ เนปาล เทือกเขาหิมาลัย
4
เขากลายเป็นพระทิเบต
เขากล่าวว่า การแสวงหาความสบาย หรือที่เขาใช้คำว่า pleasant sensations (ความรู้สึกสุขสบาย) ไม่ใช่สิ่งเดียวกับความสงบสุข แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องปฏิเสธความรู้สึกสุขสบายเมื่อมันมาหา เพียงแต่เราต้องระวังว่าความรู้สึกสุขสบายไม่ใช่สิ่งถาวร และไม่ได้รับประกันความสุขโดยธรรมชาติ
5
เราทุกคนปรารถนาความสุข แต่เราอาจไม่รู้จริงๆ ว่าความสุขคืออะไร
3
ความสุขเกิดจากอะไร เป็นคำถามที่มนุษย์ถามกันเองมาตั้งแต่มีมนุษย์บนโลก ความคิดของคนจำนวนมากคือการมีวัตถุมากมาย มีร่างกายที่แข็งแรง มีเงินทอง มีชื่อเสียง ฯลฯ ก็คือความสุข
แต่นักบวชมองว่าความสุขเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นในจิตเท่านั้น เพราะคนจำนวนมากที่ไม่มีวัตถุมากมาย ไม่มีร่างกายที่ดี ไม่มีเงินทอง ไม่มีชื่อเสียง ก็มีความสุขได้
2
บางทีความสุขเกิดขึ้นง่ายกว่าที่คิด
อัลแบร์ กามูส์ (Albert Camus 1913 – 1960) นักคิด นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส และนักเขียนรางวัลโนเบลวรรณกรรมปี 1957 มีมุมมองต่อโลกและชีวิตที่น่าสนใจ น่าขบคิด
เขามองว่าโลกไร้สาระ (absurd) และชีวิตมนุษย์ก็ไร้สาระ
1
ชีวิตเราไม่มีความหมายอะไร
ความคิดนี้คล้ายแนวคิดของ Arthur Schopenhauer นักปรัชญาเยอรมันในศตวรรษที่ 19 ต่างกันที่ Schopenhauer เห็นว่าเราแก้ไขอะไรไม่ได้ เราคุมอะไรไม่ได้ แต่กามูส์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีอำนาจที่จะสร้างความหมายขึ้นมาเองได้ รวมทั้งการสร้างความสุข
2
ใช่ กามูส์เห็นว่าเราสร้างความสุขได้ แต่ไม่ใช่ความสุขแบบในนิทาน ที่จบด้วยวลี “Happily ever after” มันไม่สมจริง เพราะคนเราไม่มีวันพอใจในสิ่งที่ตนมี
3
ความสุขมาจากสองข้างทาง ระหว่างที่เราก้าวไปต่างหาก
เรียกว่า “enjoy the process”
4
คือการรู้จักมีความพึงใจ มีความสุขระหว่างทาง
2
มุมมองของกามูส์คือ อย่ามองว่าความสุขเป็นจุดหมายปลายทางที่ไกลแสนไกล หาได้ยากเย็น
1
รู้จัก enjoy the process ก็มีความสุขได้
นั่นคือรู้จักเก็บความสุขระหว่างทาง อยู่กับปัจจุบันขณะ และมีความสุขได้
ใช้ชีวิตทีละชั่วขณะ ทีละ moment
1
ระหว่างทางไปข้างหน้า เราทุกคนจึงควรหัดมีความสุขกับสองข้างทาง ไม่ใช่รอหรือคาดหวังว่าจะมีความสุขที่ปลายทาง
2
อย่างนี้เราจะมีความสุขได้ง่ายขึ้น
นักศึกษาจำนวนมากอดทนร่ำเรียนอย่างหนักเพื่อจะมีความสุขในวันรับปริญญา พวกเขามองว่าการเรียนคือความทรมาน แต่ก็ยอมอดทนเพื่ออนาคตที่ดีกว่า
1
แนวคิด enjoy the process บอกว่าแล้วทำไมไม่เลือกจะมีความสุขระหว่างเรียนหนักล่ะ? ทำไมไม่ไปมหาวิทยาลัยแต่ละวันด้วยรอยยิ้ม สนุกกับการเรียน (enjoy the process) ทำไมต้องรอจนถึงจุดหมายแล้วค่อยมีความสุข?
2
ความสุขไม่ใช่จุดหมาย ไม่ใช่ ‘ยอดเขาเอเวอเรสต์’ ที่ต้องปีนป่ายยากเย็น
1
ความสุขอยู่ที่สองข้างทางต่างหาก
1
ความสุขเล็กๆ สองข้างทางก็คือความสุข
และความสุขเกิดขึ้นง่ายกว่าที่คิด
ความสุขไม่มีข้อแม้ต่างๆ ว่า ต้องมีวัตถุสิ่งนั้นสิ่งนี้ จึงจะสุขได้
ความสุขไม่ได้มาจากการดิ้นรนไขว่คว้า ตรงกันข้าม มันมักเกิดขึ้นเมื่อเราหยุดดิ้นรน รู้จักปล่อย รู้จักวาง
1
ปรัชญาพุทธมองว่า ความสุขกับความทุกข์เป็นเพียงมายา เป็นสิ่งสมมุติ ไม่ใช่สิ่งถาวร เราปรุงแต่งมันเป็นรูปขึ้นมาเอง
5
เมื่อลดการแยกระหว่างสุขกับทุกข์อย่างเด็ดขาด ก้าวพ้นทวินิยม เราก็อาจเป็นอิสระ และเมื่อนั้นจิตก็สงบ แล้วความสุขก็เกิดขึ้น
เรามีความสุขได้เดี๋ยวนี้เลย
เพราะเราเลือกได้
เพราะความสุขเป็นทางเลือก (Happiness is a choice.)
4
และเนื่องจากแต่ละความสุขมีอายุไม่นาน ดังนั้นมีบ่อยๆ ได้ไม่ดีกว่าหรือ? เหมือนกินข้าวมื้อเล็กๆ แต่บ่อย
จึงอาจกล่าวว่า หากอยากมีความสุข ก็มีได้ทันที
2
เราเลือกได้ง่ายๆ
เพราะความสุขเป็นเรื่องง่ายๆ เราเป็นคนทำให้มันยากเอง
3
โฆษณา