Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรียนรู้ระบบไฟฟ้า
•
ติดตาม
3 ม.ค. เวลา 07:37 • บ้าน & สวน
ตัวอย่างแผนผังการเดินสาย Consumer unit ในที่อยู่อาศัย
1) สายเมนนิวทรัล (N) ถูกต่อลงดินที่กราวด์บาร์ก่อนเดินสายต่อมายังเมนเบรกเกอร์
2) ที่กราวด์บาร์เดินสายต่อหลักดิน ( สายตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน ขนาดไม่เล็กกว่า 10 ตร.มม อ้างอิงตารางที่ 4-1 จาก วสท. โดยสายต่อหลักดินจะต้องเป็นสายที่ยาวตลอดทั้งเส้น ไม่มีการตัดต่อสาย ) เดินสายต่อหลักดินมายังแท่งหลักดิน โดยแท่งหลักดินมีขนาดไม่เล็กกว่า 5/8 นิ้ว มีความยาว 2.40 เมตร ตอกให้แท่งหลักดินจมลงในดินไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร
3) ที่กราวด์บาร์และโครงตู้ ต่อถึงกันโดยใช้สายต่อฝาก หรือ ตู้ไฟนั้นผู้ผลิตทำการเชื่อมต่อถึงกันไว้ให้แล้ว ( จุดสังเกตที่กราวด์บาร์จะไม่มีวัสดุฉนวนรองกราวด์บาร์ )
4) เมนเบรกเกอร์จะต้องสามารถตัด-ต่อไฟได้ 2 ขั้วพร้อมกัน ( ตัด-ต่อไฟขั้ว L และ N )
5) เซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อย แยกวงจรแสงสว่าง , เต้ารับไฟฟ้า , เครื่องปรับอากาศ , เครื่องทำน้ำอุ่น และวงจรไฟฟ้าภายนอกอาคารออกจากกันอย่างชัดเจน
6) วงจรที่มีความเสี่ยงต่อการถูกไฟฟ้าดูดได้ จะต้องมีเครื่องตัดไฟรั่ว RCD ที่มีพิกัดการตัดกระแสไฟฟ้ารั่วไม่เกิน 30 มิลลิแอมแปร์ คุมวงจรย่อยนั้น เช่น วงจรเต้ารับไฟฟ้า , วงจรของเครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อน , วงจรไฟฟ้าภายนอกอาคาร เป็นต้น
7) ขนาดสายดินวงจรย่อย จะมีขนาดไม่เล็กกว่า 2.5 ตร.มม อ้างอิงขนาดสายจากตารางที่ 4-2 ใน วสท.
8) สายสำหรับดวงโคมเพียง 1 ชุด อนุโลมให้ต่อสายไฟฟ้าแยกไปดวงโคมได้ โดยสายไฟฟ้ามีขนาดไม่เล็กกว่า 1 ตร.มม ได้ และสายไฟฟ้านี้จะต้องทนกระแสไฟฟ้าได้มากกว่ากระแสของโคมไฟที่ต่อใช้งาน ( อ้างอิงจากบทที่ 6 ข้อ 6.1.6.2 )
.
หวังว่าบทความสั้นนี้จะมีประโยชน์นะครับ
.
#ไฟฟ้า #บ้าน #ช่างไฟฟ้า #ไฟบ้าน #ระบบไฟฟ้า
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย