3 ม.ค. เวลา 14:51 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

รำคาญ AI ลาออกดีกว่า

ผู้พิจารณางานวิจัย (reviewer) ของวารสารวิทยาศาสตร์หลังๆ โดนด่าเยอะว่า คัดเลือกงานวิจัยมาตีพิมพ์ได้ไม่ดี รวมทั้งงานวิจัยดราม่าขึ้นชื่อของไทยหลายชิ้นในปีที่ผ่านมา จนเกิดดราม่าต้องรีบมาถอดถอนกัน และที่แย่ที่สุดคืองานวิจัยขยะที่ใช้ AI แต่ง
3
ในอดีตงานวิจัยที่ดี มักจะถูกคิดแล้วคิดอีก คำแต่ละคำที่เขียน การเรียบเรียงประโยค เนื้อหามักจะถูกกลั่นกลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนดี การแยกงานวิจัยที่ดีจึงไม่ยากมากนัก
1
แต่พอมี AI เข้ามา การเขียนงานวิจัยกลายเป็นอะไรที่ถูก disrupt อย่างรวดเร็ว คนที่ไม่เคยเขียนงานวิจัยก็เขียนได้ ส่วนคนที่ไม่ได้ทำการวิจัยเลย จะเขียนงานวิจัยสั่วๆ ออกมาก็ทำได้
3
ผลกระทบหลักคือ
1. มีงานวิจัยที่ยังไม่ตกผลึก ไม่ครบถ้วนออกมาเร็วกว่าเวลาอันควร แต่ด้วยคำที่สวยหรู การเรียบเรียงที่ดูดีของ AI ทำให้งานวิจัยดูทรงคุณค่า ซึ่งเห็นหลักฐานได้จากสัดส่วนของงานวิจัยที่ส่งมาให้พิจารณาที่มาจากจีนมากขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด
2
2. มีงานวิจัยขยะที่คนไม่ได้ทำการวิจัยอะไรเลย แต่ใช้ AI จินตนาการเอา แต่งงานวิจัยออกมามากมาย แล้วส่งมามั่วๆ หวังจะได้รับการตีพิมพ์ และเอาไปขอตำแหน่งทางวิชาการ
3
และงานที่ฮือฮาที่สุดคงหนีไม่พ้นงานวิจัยที่มีรูปหนูที่มีขนาดอวัยวะบางส่วนที่ผิดสัดส่วน และตัวหนังสือที่อ่านไม่รู้เรื่อง แต่หลุดรอดผ่านสายตาผู้พิจารณามาได้ จนได้ลงตีพิมพ์
ปัญหาดังกล่าวหลายๆ คนอาจจะนึกว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่จริงๆ แล้วเป็น มันทำให้จำนวนงานวิจัยที่ต้องผ่านตาผู้พิจารณาสูงขึ้นมาก แต่งานวิจัยที่ดีมีสัดส่วนที่ลดลง (true positive rate)
1
วารสารหลายแห่งจึงต้องปรับตัว อย่าง Elsevier ก็เลิกที่จะสนับสนุนกองบรรณาธิการที่มาแก้ไขก่อนตีพิมพ์จริง (copyedit) และเอา AI มาใช้แทน ทำให้มีงานที่มีความผิดพลาดตีพิมพ์ออกมามากขึ้น เช่น คำนามเฉพาะไม่ได้ถูกขึ้นต้นด้วยตัวอักษรใหญ่ ชื่อสปีชีส์ต่างๆ ไม่ได้ถูกพิมพ์ด้วยตัวเอียง เนื้อหาบางถูก AI เรียบเรียงใหม่จนผิด ภาพบางส่วนถูกสร้างจาก AI อย่างผิดๆ เป็นต้น ส่วนค่าตีพิมพ์ก็ต้องขึ้นราคา เพราะต้องเสียเวลาคัดงานวิจัยขยะทิ้งมากขึ้น
กองบรรณาธิการเก่าๆ ของ Elsevier ไม่พอใจ จึงทยอยกันลาออกกันเกือบหมด เข้าใจว่าน่าจะเหลือคนเดียวแล้ว
2
ส่วนคนที่เป็น peer reviewer หลายๆ คนก็เลิกเป็นไปเลย เพราะแทนที่จะได้เป็นคนที่ได้มีโอกาสอ่านงานวิจัยเจ๋งๆ ก่อนตีพิมพ์ และทำงานด้วยใจรัก หวังว่าจะช่วยทำอะไรดีๆ ให้กับสังคมการวิจัย กลับกลายเป็นคนที่ทำงานในโรงแยกขยะไปโดยไม่รู้ตัว
2
อันนี้ข่าวคุณ Chris Sampson เลิกเป็น peer reviewer และตั้งข้อสังเกตว่า กอง บก ควรให้ความสำคัญกับงานบรรณาธิการมากขึ้น แต่ไม่ได้พูดถึง AI โดยตรง
โฆษณา