4 ม.ค. เวลา 03:40 • ข่าว

กรณีการเสียชีวิตด้วยสุรากับผลประโยชน์เบื้องหลังของภาษี บาปในประเทศไทย "เเบงค์ เลสเตอร์"

โซเชียลแห่อาลัย "แบงค์ เลสเตอร์" หนุ่มอินฟลูฯ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่โด่งดังจากแร็ปขายพวงมาลัยเลี้ยงคุณยาย เสียชีวิตแล้ว หลังถูกจ้างดื่มเหล้าหมดแบน วันที่ 26 ธันวาคม 2567 กลายเป็นเรื่องราวเศร้าที่ถูกแชร์ในโลกออนไลน์ เมื่อเพจเฟซบุ๊ก หมอแล็บแพนด้า ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ขอแสดงความเสียใจด้วยจากกรณีของการจ้างดื่มเหล้า เป็นคำถามกับสังคมมากมายว่าใครมีความผิดบ้าง
รวมถึงการขุดคลิปในการเเกล้งเเบบรุนเเรงกับ "เเบงค์ เลสเตอร์"
ถอดบทเรียน "แบงค์ เลสเตอร์" มอง "Human Zoo" ในมุมมองทางจิตวิทยา สภาพแวดล้อมที่ตอกย้ำความต่างของมนุษย์ ที่อาจนำไปสู่การลดทอนคุณค่า และการตีตราทางจิตใจ
ลักษณะของ Human Zoo มีหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ทัวร์ดูหมู่บ้านในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งบางครั้งมีคนบางประเภทที่พยายามให้เขารักษาวิถีชีวิตของเขาไว้ ทั้งที่ขัดต่อวิถีการดำรงชีวิตเขา จึงเหมือนกับว่าเรากำลังชมคนที่เหมือนกับสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์
ดร.ชาญ มองว่า ทั้งนี้ทั้งนั้น สวนสัตว์มนุษย์ มีความหมายทั้งในแง่บวกและแง่ลบ อาจเป็นลักษณะของการเอาคนมาอยู่ ณ สถานที่ใด หรือไม่ได้เอาคนมาอยู่ ณ สถานที่ใด เขาอยู่ ณ จุด ๆ นั้นอยู่แล้ว เราไปสังเกตการณ์การดำเนินชีวิต กิจกรรม หรือสิ่งที่เขาทำ แบบนี้ก็มองว่าเป็น Human Zoo ได้เหมือนกัน
หรือบางครั้งเราพยายามกำหนดสิ่งแวดล้อมบางอย่าง แล้วให้เขาทำตามในสิ่งที่เราต้องการ จากนั้นนำคนมาอยู่ มาดู เช่น การโชว์ตามงานวัด คนผิดปกติ มนุษย์งูต่าง ๆ บางคนก็นิยามได้ว่าเป็น Human Zoo รูปแบบหนึ่ง แต่บางคนก็บอกว่าไม่ใช่ ต้องมีปัจจัยครบถ้วนทั้งในเรื่องของการบังคับจิตใจ หรือมีการกระทำอะไรบางอย่าง จัดสิ่งแวดล้อมอะไรบางอย่าง ซึ่งมีการตีความอย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่ามองตรงกันหรือไม่
ตัวอย่างเช่น บางคนอาจบอกว่าการไปดูชนกลุ่มน้อยเป็น Human Zoo หรือบางคนอาจมองว่าเป็นการท่องเที่ยวที่ไปดูวิถีชีวิตธรรมดา เขาไม่ได้มีปัญหาอะไร เราไม่ได้มีส่วนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเขา เขาไม่เกิดผลลบ แบบนี้ก็อาจไม่เรียกว่าเป็น Human Zoo ก็ได้ หรือบางคนอาจมองว่า ต้องมีการมองคนคนหนึ่งหรือคนกลุ่มหนึ่งที่ด้อยความเป็นศักดิ์ศรีกว่าความเป็นมนุษย์ปกติด้วย จึงจะเรียกว่า Human Zoo แล้วแต่การให้คำจำกัดความ
"Human Zoo" กับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
นิยาม "Human Zoo" สภาพแวดล้อมประกอบสร้าง ตอกย้ำความต่างของมนุษย์
บทความ The True Story of the Mindanaoan Slave Whose Skin Was Displayed at Oxford จากนิตยสาร Esquire ให้คำนิยามคร่าว ๆ ของ Human Zoo หรือ สวนสัตว์มนุษย์ ว่า การจัดแสดงมนุษย์ในลักษณะเดียวกับสัตว์ในสวนสัตว์ ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดแสดงในอดีตของสังคมตะวันตกราวศตวรรษที่ 19 - 20 ที่มักนำกลุ่มชนพื้นเมืองหรือผู้ที่มีลักษณะแตกต่างจากตน มาแสดงในสภาพแวดล้อมจำลอง เพื่อตอกย้ำถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมหรือเชื้อชาติ
ขณะที่เฟซบุ๊กเพจ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อ้างอิงคำนิยามของสวนสัตว์มนุษย์จากหนังสือ Anthropology Goes to the Fair : The 1904 Louisiana Purchase Exposition ที่เขียนโดย ดอน ดี ฟาวเลอร์ และ แนนซี เจ ปาเรโซ ที่ให้คำนิยามว่า เป็นงานแสดงหรือนิทรรศการที่นำผู้คนจากที่ต่าง ๆ มาจัดแสดง ในสมัยก่อนจะมีการนำผู้คนจากชนเผ่าต่าง ๆ มาอยู่ในพื้นที่ที่สร้างสภาพแวดล้อมให้เหมือนท้องถิ่นที่พวกเขาอยู่ และนำเสนอศิลปวัฒนธรรมของพวกเขาให้ผู้เข้าชมได้ประจักษ์
"Human Zoo" กับคำจำกัดความหลายรูปแบบ
วันที่ 27 ธ.ค. 67 ผู้สื่อข่าว PPTV ได้พูดคุยกับ ดร.ชาญ รัตนะพิสิฐ อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เกี่ยวกับพฤติกรรมในลักษณะสวนสัตว์มนุษย์ด้วย โดย ดร.ชาญ ระบุว่า พฤติกรรมในลักษณะ Human Zoo หากสรุปง่าย ๆ คือ การให้ความสนใจกับบุคคลใดมากเกินกว่าปกติ โดยบางคนอาจไม่ได้รู้สึกว่าเขาเป็นมนุษย์ จึงให้เขาทำสิ่งต่าง ๆ ที่เราคาดหวัง อยากให้เขาเป็น เสมือนการฝึกสัตว์
จากกรณี "แบงค์ เลสเตอร์" อินฟลูเอนเซอร์ที่เสียชีวิตโดยคาดว่ามีสาเหตุมาจากการถูกจ้างดื่มเหล้าให้หมดแบนแลกเงิน 30,000 บาท อีกทั้งยังมีชาวเน็ตขุดคลิปคอนเทนต์ที่เจ้าตัวถูกกลั่นแกล้งด้วยวิธีการต่าง ๆ ตั้งแต่ให้อมมูลสุนัข ไล่เตะ จับแก้ผ้าถ่ายอวัยวะเพศ กินเจลหล่อลื่น ไปจนถึงใช้สเปรย์จุดไฟพ่นใส่หัว ทำให้สังคมนอกจากจะพูดถึงในเรื่องของจริยธรรมและกฎหมายแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงไม่แพ้กันคือ พฤติกรรมในลักษณะ “สวนสัตว์มนุษย์” หรือ “Human Zoo” ที่ แบงค์ เลสเตอร์ ต้องเผชิญ
การเยียวยาผู้รับผลกระทบ Human Zoo
ดร.ชาญ ระบุว่า ถ้าเป็นคนปกติทั่วไป การที่สามารถหลุดออกจากสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เขารู้สึกไม่ปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ บางคนก็สามารถหายได้ด้วยตัวเอง เพียงแต่อาจจะต้องการเวลา เขาอาจไปทำในสิ่งที่มีคนยอมรับเขาทางบวกมากขึ้น มีคนส่งเสริมเขาอย่างถูกวิธีมากขึ้น เขาก็อยู่กับตัวเองได้ รักตัวเองได้
แต่ถ้าอยู่แล้วยังคงรู้สึกทางลบกับตนเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า แล้วต้องย้อนกลับไปทำอะไรแบบเดิม ๆ เพื่อให้คนยอมรับ หรือมีความวิตกกังวล ความเครียด หรือมีลักษณะซึมเศร้า ก็อาจต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยา หรือจิตเวชเข้ามาช่วยเขาอีกทางหนึ่ง
หรือการสนับสนุนทางสังคม หรือ Social Support จากคนรอบตัวที่เป็นห่วงเขา ก็อาจจะช่วยให้เขาหลุดจากอาการทางลบต่าง ๆ ทั้งความไม่สบายใจ หรืออาการแพนิกได้
#HumanZoo #สิทธิมนุษยชน #เเบงค์เลสเตอร์ #จ้างดื่มเหล้า #จิตวิทยา
เรียบเรียงโดย อาจารย์ต้นสัก สนิทนาม
โฆษณา