5 ม.ค. เวลา 03:01 • ข่าวรอบโลก

พนักงาน ‘ลาออก’ ล้างแค้น ‘Revenge Quitting’ เทรนด์ใหม่การทำงานปี 68

กระแสการเลิกจ้างพนักงานหรือที่เรียกกันว่า Layoff ของบรรดาบริษัทต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ในประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อช่วงปี 2565 โดยมีทั้งการงดรับพนักงานใหม่ ๆ เข้ามาในองค์กร รวมไปถึงการปลดพนักงานปัจจุบันในหลายแผนกออกจากบริษัทด้วยเช่นกัน
“เทรนด์การลาออกครั้งใหญ่ หรือ The Great Resignation” ยังไม่จบในเร็ววัน และได้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลามากกว่า 2 ปี ประเทศที่มีแนวโน้มจะลาออกมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ ออสเตรเลีย 33% สวิตเซอร์แลนด์ 32% และกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและ MENA 31%
ทั้งนี้ เมื่อถามถึงนิยามความสำเร็จในชีวิตการทำงาน คนเกือบ 40% เทให้การมี work life balance คือตัวแปรที่บอกว่าชีวิตการทำงานประสบความสำเร็จ อันดับ 2 คือ มีความสุขกับการทำงานในทุก ๆ วัน (32%) รองลงมาคือ มีงานที่มั่นคง (30%) มีงานที่มีความยืดหยุ่น (30%) และได้ทำงานที่ตรงกับ passion (29%) ตามลำดับ
1
สิ่งที่น่าสนใจคือ การมีรายได้สูง ไม่ได้ติดอยู่ใน 5 อันดับแรกของนิยามความสำเร็จในการทำงาน นั่นหมายความว่าในขณะที่รายได้เป็นเรื่องสำคัญ แต่การที่บริษัทเน้นให้เงินเดือนสูงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอจะทำให้ใครหลาย ๆ คนรู้สึกว่าประสบความสำเร็จในการทำงาน บริษัทจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ wellbeing ควบคู่ไปด้วย
นักจิตวิทยาด้านธุรกิจ ระบุว่า พนักงานหลายคนรู้สึกเหนื่อยล้า และไม่ได้รับการยอมรับ ทั้งที่พวกเขาต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้พนักงานหลายคนแก้แค้นด้วยการลาออก หรือที่เรียกว่า “Revenge quitting”
📍ปัญหาหลักของการทำงานที่พบ
◾42% และซีอีโอ 52% บอกว่าพวกเขาทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ
◾พนักงานเกิดความเหนื่อยล้าและสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นพิษ
◾พนักงานแสร้งทำงานให้ดูยุ่ง เพื่อให้ผ่านไปในแต่ละวัน
◾พนักงานถูกบีบให้ทำงานหนักมากขึ้น
◾Gen Z ไม่เชื่อมั่นในองค์กร เนื่องจากมองว่าผลตอบแทนที่ได้ไม่คุ้มค่า
เพื่อรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรนานขึ้น บริษัทจำเป็นต้องลงทุนฝึกฝนให้ผู้นำองค์กร สามารถสื่อสารอย่างตรงไปตรงมากับผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยความเข้าใจและเห็นใจ เนื่องจากพนักงานมักลาออกเพราะหัวหน้าไม่ใช่บริษัท
โฆษณา