Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
5 ม.ค. เวลา 09:35 • หนังสือ
🕉️ บทที่ 6️⃣ ปลอดภัยอยู่ในบรมวิญญาณ
ด้วยโยคะสมาธิ 🕉️ (ตอนที่ 2)
❇️การละวางและโยคะที่แท้ต้องอาศัยสมาธิ❇️
⚜️ โศลกที่ 2️⃣ ⚜️ หน้า 634–636
𝗝𝗔𝗜 𝗚𝗨𝗥𝗨 𝗗𝗘𝗩. (ด้วยชัยชนะแห่งคุรุ)
โคลกที่ 2️⃣
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
ปาณฑพ (อรชุน) เอย จงเข้าใจเถิดว่า ที่พระคัมภีร์พูดถึง สันยาสะนั้นคือสิ่งเดียวกับโยคะ เพราะผู้ที่ยังไม่ละความปรารถนา ที่เห็นแก่ตัว (สังกัลปะ) ไม่อาจเป็นโยคีได้
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
ดังที่ได้อธิบายมาแล้วอย่างละเอียดในโศลกก่อนว่า สันยาสี คือผู้เลิกละ มุ่งขจัดอุปสรรคทั้งทางกายและทางจิต (พันธะทางโลกและความอยากอย่างเห็นแก่ตัว) เพื่อการหยั่งรู้พระเจ้า ส่วน โยคีนั้นมุ่งใช้เทคนิคโยคะศาสตร์เพื่อการหยั่งรู้ตน หากคิดในเชิงบวก โยคีได้ลิ้มรสบรมสุขแห่งพระเจ้าทันทีที่ท่านละความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้ว หันไปหาพระเจ้าเท่านั้น ถ้าคิดค่อนไปทางลบ สันยาสีเลิกละความอยากทางวัตถุ และการกระทำผิด ๆ ด้วยการใช้พุทธิปัญญา เตรียมตนให้พร้อมกับการรวมเป็นหนึ่งกับพระเจ้า
ทั้งสองวิถีนี้นำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน แต่ความสำเร็จของทั้ง สันยาสี และ โยคี ไม่ได้กำหนดแค่สามารถควบคุมการกระทำภายนอกเท่านั้น แต่ยังต้องสามารถเอาชนะจิตใจภายในด้วย
สังกัลปะ “การกระทำด้วยความเห็นแก่ตัว” ที่โศลกนี้เอ่ยถึง หมายถึง ความคาดหวัง หรือการหวังผลที่เกิดจากจิตอหังการ คีตาเตือนสันยาสีและโยคีว่า แม้ภายนอกท่านควบคุมตนและทำสมาธิเงียบ ๆ ได้ แต่ภายในนั้นท่านอาจวุ่นวายอยู่กับการกระทำที่เห็นแก่ตัว ที่ผลุบ ๆ โผล่ ๆ อยู่ในจิตสำนึกตามแรงกระตุ้นของอินทรีย์ จิตที่คะนึงอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ไม่ว่าดีหรือร้าย จะทำให้เกิดความอยากไปตามนั้น แต่โยคะหรือการทำจิตให้นิ่งสามารถขจัดอารมณ์นั้นได้
ปตัญชลีได้นิยามความหมายของโยคะไว้ใน โยคะสูตร ว่า หมายถึงการสลายพฤติกรรม (กระแสขึ้นลงของความคิด ความอยากและความรู้สึก) ในจิตต์ หรือ ความรู้สึกอันเป็นสันดานดิบ (สภาวะแห่งความรู้สึกสำนึกที่ขยายกลายเป็นตัวตนบุคคล) ที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ตามความชอบความชัง ซึ่งปรุงแต่งขึ้นมาจากการที่จิตได้เสพเสวยอารมณ์* [*โยคะสูตร 1:2 (ดูหน้า 321)]
นอกจากนี้ คัมภีร์อื่น ๆ ยังได้อธิบายว่า โยคะคือการละไปจากการคิดอย่างมุ่งหวัง เข้าสู่ภาวะ “ไร้การคิด” คำนิยามเหล่านี้เหมาะแล้วกับความสำเร็จของสันยาสีและโยคี การเลิกละที่แท้ อยู่ที่ต้องสามารถขจัดความคิดและความอยากได้อย่างใจ ปีติสุขขั้นสูงสุดของโยคะคือภาวะ “ไร้การคิด” นี้เอง นี่ไม่ใช่อาการของจิตที่เจ็บป่วย (ที่จิตไม่รับรู้สัมผัสทั้งจากภายนอกและภายใน) หากแต่เป็นทิพยภาวะแห่งดุลยภาพ
การเข้าถึงภาวะนี้พิสูจน์ว่าโยคีได้เข้าถึงการดำรงอันไร้การสั่นไหว หรือทิพยสุญญาแห่งการรู้ และบรมสุขอันเหนือกว่าปรากฏการณ์แห่งการสร้างสรรค์ทั้งปวง
ไม่มีใครสามารถเป็นโยคีที่ดำรงจิตอย่างสมดุล พ้นแล้วจากการผูกพันกับความอยากได้ ถ้าเขาไม่สลัดอหังการที่พัวพัน และตัณหาที่ยังหวังผลจากการกระทำ มีแต่ผู้ที่เข้าถึงสมาธิเท่านั้น ที่อาจพูดได้ว่า เขาไม่กระทำการเพื่ออหังการอีกแล้ว
แน่นอน ถ้าผู้ภักดีไม่วางแผนกิจกรรมตามพระประสงค์แห่งพระเจ้า เขาจะล้มลุกคลุกคลานไปในทุกก้าวย่าง โยคีที่แท้มีแต่พระเจ้า และกระทำการด้วยญาณปัญญาตามที่พระองค์ทรงบันดาล อย่างเช่น ถ้าท่านสร้างอาศรมให้เป็น ที่พักอาศัยของศิษย์ ไม่มีใครกล่าวหาท่านได้ว่าท่านทำด้วยความเห็นแก่ตัว ท่านกระทำการทุกอย่างเพื่อให้พระเจ้าพอพระทัย ท่านไม่เกียจคร้าน ไม่เฉยเมย แต่กระทำการทุกอย่างในโลกเพื่อพระเจ้า ไม่หวังสิ่งใดเป็นการส่วนตัว
ท่านเห็นและรักพระเจ้าในความงามและความดี โยคีที่แท้อาจชื่นชมม้าตัวงามได้ ส่วนผู้ที่เห็นม้าแล้วอยากได้เป็นเจ้าของ ย่อมต้องเข้าไปพัวพันกับสังกัลปะ ซึ่งเป็นความอยากอย่างเห็นแก่ตัว แต่โยคีที่อยู่ได้ในทุกสภาพแวดล้อมจะไม่พัวพันกับความชอบหรือความชัง
เมื่อโยคีสามารถดำรงตนอย่างพ้นแล้วจากความอยากส่วนตัว ไม่ว่าขณะ กระทำกิจกรรมภายในหรือภายนอก ท่านย่อมสำเร็จเป็นสันยาสี และเมื่อสันยาสีสามารถกระทำการทั้งภายนอกและภายในอย่างไม่หวังผล เพียงสำรวมจิตอยู่กับการรู้พระเจ้า เขาก็เป็นเช่นเดียวกับโยคีที่ใช้โยคะสลายทุกความคิดทุกอารมณ์ สามารถดำรงอยู่ในบรมสุขแห่งพระเจ้า
สันยาสีผู้สมบูรณ์พร้อมและโยคีผู้สำเร็จจึงเหมือนกัน เพียงแต่ท่านเดินไปบนวิถีที่แตกต่าง สู่การเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า
➖➖➖ จบโศลกที่ 2️⃣ ➖➖➖
หนังสือ
จิตวิญญาณ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย