6 ม.ค. เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์

ประวัติ'แผนกสูตินารีเวชกรรม'

ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ.1957) แผนกสูตินรีเวชกรรมได้เริ่มมีการจัดตั้งและให้บริการในโรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทยแล้ว โดยเฉพาะในโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่และมีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและโรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งมีแผนกสูตินรีเวชกรรมเพื่อดูแลสุขภาพของสตรีและการตั้งครรภ์
Timeline ประวัติแผนกสูตินรีเวชกรรมในประเทศไทย (โดยสังเขป)
พ.ศ.2476 (1933) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เปิดบริการแผนกสูตินรีเวชกรรมอย่างเป็นทางการโดยมี รองอำมาตย์ตรี บุญเจือ ปุญโสนีมาบรรจุ
พ.ศ.2494 (1951) โรงพยาบาลราชวิถี หรือในขณะนั้นมีชื่อว่า 'โรงพยาบาลหญิง' โรงพยาบาลเฉพาะสตรีและเด็กเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และพ.ศ.2518 ได้มีการเปลี่ยนมารักษาโรคทั่วไปโดยไม่จำกัดอายุ/เพศอีกต่อไป
พ.ศ. 2490 (1947) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก่อตั้งแผนกสูตินรีเวชกรรมพร้อมคณะแพทยศาสตร์ เพื่อสอนวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาแก่นิสิตแพทย์
พ.ศ. 2511 (1968) มีการจัดตั้ง สมาคมสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมวิชาการด้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา โดยมีนายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์เป็นนายกสมาคมคนแรก
พ.ศ. 2514 (1971) โรงพยาบาลรามาธิบดี เริ่มต้นการเปิดฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านในสาขาสูตินรีเวชกรรม
พ.ศ. 2530 (1987) มีการจัดตั้ง ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย โดยนายแพทย์วิทูร โอสถานนท์ เพื่อพัฒนามาตรฐานวิชาการ
พ.ศ. 2540 (1997) โรงพยาบาลรามาธิบดี เริ่มต้นหลักสูตร Fellowship Training เพื่อผลิตสูตินรีแพทย์เฉพาะทาง
โฆษณา