8 ม.ค. เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์

การผ่าคลอดครั้งแรกในไทย

ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) การผ่าคลอด (Caesarean section) ในประเทศไทยเริ่มมีการบันทึกโดยสรุปดังนี้
วันที่ 14 กันยายน 2460 มีอายุครรภ์ 9 เดือน และเริ่มมีอาการเจ็บครรภ์เพราะกระดูกเชิงกรานผิดปกติ โดยมีเหตุมาจากตอนอายุ 4 ขวบ ได้ตกบันไดหลังกระแทกพื้น ส่งให้กลายเป็นวัณโรคบริเวณกระดูกสันหลัง
ซึ่งนายพันโท หลวงศักดาพลรักษ์ จะใช้หัตถการทำลายเด็ก (ทำแท้ง) โดยใช้เครื่องมือเจาะสมองเพื่อให้ศีรษะทารกมีขนาดเล็กลงและสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ แต่เนื่องจากปากมดลูกไม่เปิดขยายเพียงพอที่จะทำแท้งได้ จึงผ่าท้องทำคลอดได้ทารก 2.5 กิโลกรัมเมื่อวันที่ 15 กันยายนก่อนจะเสียชีวิตใน 8 วันให้หลัง แต่มารดาปลอดภัยและสามารถกลับบ้านได้
แม้ยังคงมีเอกสารระบุว่ามีผู้อื่นเป็นผู้ทำการผ่าคลอด แต่ นายพันโท หลวงศักดาพลรักษ์ เป็นผู้ที่มีหลักฐานที่ชัดจนและน่าเชื่อถือได้มากที่สุดจากจดหมายเหตุทางแพทย์ของแพทยสมาคมเมื่อ พ.ศ. 2461 ซึ่งได้เป็นหนึ่งในเนื้อหาของหนังสือ 40 ปี ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งถูกรวบรวมโดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ.2554
โฆษณา