Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Journaling Our Journey
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 01:05 • สุขภาพ
หนึ่งในสิ่งที่สร้างความวิตกกังวลให้กับเรามากที่สุด
ไม่ใช่การนำเสนองานต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่จำนวนมาก
ไม่ใช่การรอลุ้นว่าคนที่เราชอบเขาจะชอบเราหรือเปล่า
ไม่ใช่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่เราต้องการ
ฯลฯ
หนึ่งในสิ่งที่สร้างความวิตกกังวลให้กับเรามากที่สุดคือ
การที่เรารู้สึกวิตกกังวลและไม่สามารถควบคุมความวิตกกังวลนั้นได้
ยกตัวอย่างเช่น
สมมติว่าเรากำลังนำเสนองานต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ในบริษัท
และเรารู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมากว่าเราจะทำมันได้ไม่ดี
เราเริ่มใจเต้นรัว เราเริ่มเหงื่อออก เราเริ่มหายใจสั้นถี่ เราเริ่มมือสั่นปากสั่น
พอเราเห็นว่าตัวเอง “ออกอาการ” แบบนั้น
ในใจของเราก็เริ่มเกิดความคิดขึ้นมาว่า
“ไม่นะ! ฉันจะออกอาการแบบนี้ไม่ได้นะ!”
ส่งผลให้ความวิตกกังวลในใจเราทวีความเข้มข้นไปอีกขั้น
ซึ่งนั่นก็ยิ่งทำให้ความคิดในใจเราปั่นป่วนเข้าไปอีกว่า
“อาการฉันหนักขึ้นแล้ว! ทุกอย่างมันเกินควบคุมแล้ว!”
ส่งผลให้ความวิตกกังวลในใจเราทวีความเข้มข้นยิ่งเข้าไปอีก
นี่จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของวงจร
“เห็นตัวเองมีอาการวิตกกังวล => ยิ่งรู้สึกวิตกกังวล =>
ยิ่งเห็นตัวเองมีอาการวิตกกังวลมากขึ้น => ยิ่งรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้น =>…”
เป็นต้น
ตัวอย่างในข้างต้นสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
การนำเสนองานต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ในบริษัท
อาจจะเป็นตัว “จุดประกาย” ความวิตกกังวลในใจก็จริง
แต่สิ่งที่จะคอย “เติมฟืน” ให้กับความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่อง
คือการพยายามที่จะ “เก็บอาการ” ไม่ให้แสดงความวิตกกังวลออกมา
นอกจากความพยายามดังกล่าวจะไม่ได้ผลแล้ว
มันกลับทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งกว่าเดิมเสียด้วย
ในทางกลับกัน หากเราไม่ได้พยายามที่จะ “เก็บอาการ”
หากเราตัดสินใจว่า “เอาวะ! ถ้าฉันจะเสียงสั่น ก็ให้มันสั่นไปแล้วกัน!”
เราอาจจะ “มีอาการ” ระหว่างที่นำเสนองานอยู่บ้างก็จริง
แต่ “อาการ” ที่มีมันจะไม่ค่อยเยอะ มันจะไม่ค่อยหนัก
(เพราะเราไม่ได้ “เติมฟืน” ให้กับความกังวลในใจเราเพิ่มเติม)
ซึ่งพอ “อาการ” ของเราไม่ได้เยอะ/หนักแบบนี้
ผู้หลักผู้ใหญ่ก็อาจจะมองไม่เห็น หรือต่อให้เห็น
ผู้หลักผู้ใหญ่ก็อาจจะไม่ได้คิดอะไรก็เป็นได้
ด้วยเหตุนี้ หากเราพบว่าตัวเองกำลังรู้สึกวิตกกังวล
กับอะไรบางอย่างอยู่ล่ะก็ แทนที่เราจะพยายาม “เก็บอาการ”
(ซึ่งส่งผลไม่ต่างกับการ “เติมฟืน” ให้กับความวิตกกังวล)
ผมขอเสนอให้เรา “อ้าแขนต้อนรับ” ความวิตกกังวลนั้นดีกว่าครับ
จิตวิทยา
psychology
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย