6 ม.ค. เวลา 05:58 • ปรัชญา
เป็นคำถามที่ดีมากเลยค่ะ ขอชื่มชมเป็นการส่วนตัว คำถามคุณภาพจะช่วยให้ผู้คนมีสติกล้าตั้งคำถาม เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะที่สุด
1
สำหรับเรา เวลามีคำถามทำนองนี้ เราจะเริ่มจากเอาคำศัพท์มายึดเป็นหลักก่อนค่ะ หาไม่แล้ว จะเต็มไปด้วยความเห็นที่เจือด้วยอารมณ์และความคุ้นชิน แล้วก็จะตอบโดยอาศัยความคุ้นชินนั่นแหละ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์เลย
1
คำว่า "งมงาย" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานบอกว่า มันคือความหลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล และไม่ยอมฟังความคิดของคนอื่น จะเห็นได้ว่า มันมีคำว่า "หลงเชื่อ", "ไม่มีเหตุผล" และวลี "ไม่ยอมฟังความคิดของคนอื่น"
1
เราจึงมองว่า ความเชื่อไม่ใช่เรื่องผิด มันเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่เมื่อซักถามเหตุที่มาของความเชื่อ แล้วคนผู้นั้น หรือคนเหล่านั้นไม่สามารถให้คำอธิบายได้ด้วยตรรกะ หรือแหล่งอ้างอิงอันเป็นที่ยอมรับ ซ้ำยัง "หลง" ไปกับความเชื่อนั้น คือหมายถึงเชื่ออย่างเดียวไม่พอ ยังหลงเข้าไปยึดในความเชื่อนั้น อย่างนี้สรุปได้ทันทีว่า "งมงาย"
1
ในขณะที่วลี "ไม่ยอมฟังความคิดคนอื่น" เราตีความตามเจตนารมณ์ราชบัณฑิตฯ น่าจะต้องการย้ำว่า แม้คนอื่นๆทั่วไป หรือเหล่าอื่นทั่วไป จะให้ความเห็นเพื่อฉุดรั้งตั้งสติให้ผู้งมงาย ออกจากการยึดในความเชื่อนั้น ก็ไม่เป็นผล อย่างนี้ จึงสรุปว่า "งมงาย"
1
และเมื่อเห็นตรงกัน
กับ principle ที่เรายกมาข้างต้น
ก็จึงค่อยนำเอาแต่ละปรากฎการณ์ในสังคม
มาไล่ดูว่าอะไรบ้างคือความงมงาย
ก็จะช่วยให้การสนทนาราบรื่น
ในแบบผู้มีสติปัญญาค่ะ
ซึ่งไม่ได้หมายถึง ยกตนข่มท่าน
หรือหยามเหยียดความเชื่อของผู้คนนะตะ
เพราะเรื่องความเชื่อเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก
ขอบคุณคำถามค่ะ^^
1
โฆษณา