6 ม.ค. เวลา 08:48 • หนังสือ

🕉️ บทที่ 6️⃣ ปลอดภัยอยู่ในบรมวิญญาณ

ด้วยโยคะสมาธิ 🕉️ (ตอนที่ 3)
❇️ การละวางและโยคะที่แท้ต้องอาศัยสมาธิ ❇️
⚜️ โศลกที่ 3️⃣➖4️⃣ ⚜️ หน้า 636–640
𝗝𝗔𝗜 𝗚𝗨𝗥𝗨 𝗗𝗘𝗩. (ด้วยชัยชนะแห่งคุรุ)
โศลกที่ 3️⃣➖4️⃣
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
(3) กล่าวกันว่า การทำงานโดยไม่ยึดผลของงาน คือวิถีโยคะ ของมุนีผู้ปรารถนาความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ แต่เมื่อสำเร็จโยคะแล้ว การไม่กระทำนั่นแหละ คือ “วิถีของท่าน”
(4) ผู้ชนะการยึดมั่นในอินทรีย์และในการกระทำ และผู้ที่พ้นแล้วจากการกะเก็งด้วยอหังการ บุคคลเช่นนี้คือผู้ที่วิญญาณเป็นหนึ่งเดียวกับบรมวิญญาณอย่างมั่นคง
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
🔘โยคารูฒ: ภาวะสมดุลอยู่ในบรมวิญญาณแล้วอย่างบริบูรณ์🔘
มุนีผู้มีศรัทธา (ผู้ไต่ไปบนวิถีแห่งจิตวิญญาณ) ที่กำลังก้าวไปสู่การรวมกับพระเจ้า มีวิธีที่จะไปถึงเป้าหมายนั้น ด้วยการปฏิบัติเทคนิคโยคะสมาธิ ถอนจิตจากมายาฝัน แล้วสลายจิตนั้นในพระเจ้า เมื่อโยคีเข้าถึงภาวะการรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าแล้วอย่างไม่คลอนแคลน พ้นแล้วจากการรังสรรค์อันเต็มไปด้วยมายาฝัน
เมื่อนั้นเหตุแห่งการกระทำทั้งปวงก็เปลี่ยนไปในรูปของจิต เมื่อผู้ภักดีที่ไต่ไปด้วยการกระทำ (กรรม หรือ โยคะศาสตร์) สำเร็จโยคะแล้วอย่างสมบูรณ์ เขาย่อมเข้าถึงการไม่กระทำ (โยคารูฒ) อันเป็นภาวะสมดุลอยู่ในบรมวิญญาณแล้วอย่างบริบูรณ์
เมื่อโยคีเข้าถึงภาวะการไม่กระทำในสมาธิ (โยคารูฒ) เป็นอิสระจากมายาฝัน ท่านจะพ้นจาก 1️⃣ ความอยากในผัสสอินทรีย์ 2️⃣ จากการกะเก็งอย่างเห็นแก่ตัว (สังกัลปะ) ซึ่งมาพร้อมกับความอยาก และ 3️⃣ จากมายาที่ว่าท่าน (ไม่ใช่พระเจ้า) เป็นผู้กระทำ
ผู้ภักดีที่ต้องการสลายจิตในพระเจ้า เพ่งสมาธิขณะปฏิบัติปราณายามะ หรือการควบคุมพลังชีวิต คำ กรรมในโศลกนี้ใช้ในความหมายที่หมายถึงเทคนิคพิเศษ เช่น กริยาโยคะ และ เกวลีปราณายามะ* ที่จะถอนพลังชีวิตจากผัสสอินทรีย์ และเพ่งที่จักระสมองร่วมไขสันหลังทั้งเจ็ดจักระ
[* อ่านบทที่ 4:29 หน้า 542]
จักระก้นกบมี 4 แสง จักระกระเบนเหน็บมี 6 แสง จักระบั้นเอวมี 10 แสง จักระลำตัวมี 12 แสง และจักระคอมี 16 แสง
จักระท้ายสมอง “ดาบสองคม” มีกระแสแสงสองกระแส กระแสบวกกับกระแสลบ ที่ส่งไปหล่อเลี้ยงแขนทั้งสองข้าง เท้าสองข้าง ปอดสองข้าง ระบบประสาทคู่ทั้งหมด อวัยวะคู่ทั้งหมด ตาสองข้าง หูสองหู รูจมูกสองรู ลิ้นสองลิ้น (ลิ้นแบ่งเป็นสองส่วน หรือสองแฉก)** และสมองทั้งสองซีก
[** เมื่อทารกยังเป็นตัวอ่อน ลิ้นส่วนหลัง (ในลำคอ) พัฒนาและยื่นออกมาทางด้านหน้าเป็นแฉกรูปตัว “V” เพื่อโอบยึดปลายลิ้นไว้ (ในปาก)]
สมองเป็นอ่างเก็บกระแสจักรวาลที่เข้ามาทางท้ายสมอง (ส่วนล่างสุดของสมองด้านหลังที่ยื่นเรียวเข้าไปในไขสันหลัง) คัมภีร์ฮินดูเรียกท้ายสมองนี้ว่า “พรหมมุข” “ประตู” และ “ช่องศักดิ์สิทธิ์” พลังจักรวาลเข้าสู่ร่างกายทางท้าย สมองไปสู่สมองใหญ่ และเก็บพลังไว้ที่นั่น สมองจึงเป็นอ่างใหญ่ที่กระจายกระแสไปสู่พลังจักระทั้งหกและศูนย์อื่น ๆ ในร่างกาย จักระและศูนย์เหล่านี้คือไดนาโมย่อย ๆ ที่จ่ายกระแสพลังไปสู่ระบบประสาท อวัยวะ และเซลล์ในร่างกายตลอดเวลา ๆ
จักระท้ายสมอง ที่มีกระแสบวกและลบ จ่ายพลังชีวิตในรูปของอิเล็กตรอน โปรตรอน และอะตอมไปทั่วร่างกาย และสร้างอวัยวะคู่ทั้งหลาย ประจุพลังคิดจะไหวสั่นกลั่นเป็นประจุพลังชีวิต ประจุพลังชีวิตกลั่นเป็นอิเล็กตรอนและโปรตรอน ซึ่งจะกลั่นเป็นอะตอมอีกทอดหนึ่ง
อะตอมเปลี่ยนเป็นเซลล์ ซึ่งรวมอยู่ในรูปของกล้ามเนื้อ กระดูก และเนื้อเยื่อประสาทในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย กระแสทั้งสองในท้ายสมองจึงไม่แค่จ่ายกระแสพลังให้แก่ผัสสอินทรีย์ทั้งห้าเท่านั้น แต่ยังกลั่นตัวเป็นพลังสั่นสะเทือนอย่างหยาบ และกลายเป็นเนื้อเยื่อของร่างกายในที่สุด
🔘เห็นกายทิพย์และจักระทิพย์ด้วยปราณายามะ🔘
ในขั้นแรกนั้น โยคีจะวุ่นอยู่กับการถอนพลังชีวิตจากอินทรีย์ และผันพลังชีวิตนั้นไปสู่จักระไขสันหลัง เมื่อท่านทําได้สําเร็จ ท่านจะเห็นกายทิพย์ของท่านพร้อมกับจักระทิพย์ทั้งเจ็ดด้วยทิพยเนตรแห่งสหัชญาณ กายทิพย์คือเยื่อแสงที่กลั่นจากแสงทิพย์ เหมือนกับที่กายเนื้อเกิดจาก
เนื้อเยื่อ เมื่อโยคีสามารถถอนพลังชีวิตจากอินทรีย์ผัสสะได้ ท่านไม่แค่เห็นกายทิพย์เท่านั้น แต่ท่านยังสามารถถอนจิตจากโลกภายนอกได้ด้วย
ประโยชน์ของการเห็นกายทิพย์ก็คือ ประสบการณ์นี้ช่วยโยคียกวิญญาณของท่านจากกรงขังของเนื้อหนังที่ยังผูกพันอยู่กับกายอหังการ ต่อจากนั้นผู้ภักดีจะเรียนรู้วิธีที่จะถอนอลังการจากกายทิพย์และกายดําริ (กายเหตุ) รวมกายเหล่านี้กับวิญญาณบริสุทธิ์ เมื่อนั้นแล้วโยดีย่อมสามารถรวมวิญญาณของท่านกับบรมวิญญาณอันประเสริฐที่สถิตอยู่ทุกที่ทุกกาล
ก่อนอื่น ผู้ภักดีต้องเรียนรู้ที่จะถอนพลังชีวิตจากอินทรีย์ และรวมพลังชีวิตนั้นกับจักระสมองร่วมไขสันหลังทั้งเจ็ด ต่อจากนั้นจึงรวมแสงจากจักระทิพย์เหล่านี้เข้ากับกายทิพย์ จากนั้นแล้วจึงสลายกายทิพย์เข้ากับพลังจักรวาลและกายดําริ และสุดท้ายเขาเรียนรู้ที่จะสลายพลังจักรวาลและมนินทรีย์เข้าไปรวมกับจิตจักรวาล
เหล่านี้คือกระบวนการอันซับซ้อน ที่ผู้ศรัทธาต้องปฏิบัติขณะทําโยคะเพื่อการรวมกับพระเจ้า ซึ่งจะช่วยให้เขาสลายมนินทรีย์ไปรวมกับนิรันดรภาพ ขยายวิญญาณของเขารวมกับพระองค์ผู้ทรงสถิตอยู่ทุกที่ทุกกาล
🔘จักระสมองร่วมไขสันหลังตามการอธิบายของโยคีอินเดียและนักบุญจอห์น🔘
กล่าวกันว่ากระแสในสมองมีพันแสง และแสงเหล่านี้เองที่ช่วยหล่อเลี้ยงให้เซลล์กายทั้งหลายทําหน้าที่นับพันนับหมื่นของมัน
กระแสเดิมในท้ายสมองสองกระแส กระจายเป็นกระแสนับพันกระแสในสมอง แต่จําแนกได้เป็น กระแสสิบหก สิบสอง สิบ หก และสี่ในจักระไขสันหลังทั้งห้า แต่ละจักระจะทําหน้าที่
แตกต่างกันไปตามจํานวนและธรรมชาติของกระแสเหล่านั้น จักระกายทั้งเจ็ด คู่กับจักระทิพย์ทั้งเจ็ด และ จักระดําริทั้งเจ็ดด้วย โยคีอินเดียเรียกจักระทั้งเจ็ดนี้ว่าดอกบัวทั้งเจ็ด และกระแสหรือแสงของจักระทั้งเจ็ดนั้น ท่านพรรณนาว่าเป็นกลีบบัว บัวสี่กลีบ บัวหกกลีบ บัวสิบกลีบ บัวสิบสองกลีบ บัวสิบหกกลีบ บัวสองกลีบ และบัวพันกลีบ
นักบุญจอห์น พระอัครสาวกของพระเยซู ได้พูดถึงจักระทิพย์ทั้งเจ็ดที่มีแสง แตกต่างกัน ว่าเป็นคันประทีบทองคําทั้งเจ็ดกับดาวเจ็ดดวง*
[*“ส่วนความล้ําลึกของดาวทั้งเจ็ดดวง ซึ่งเจ้าเห็นในมือขวาของเรา และของคันประทีปทองคํา ทั้งเจ็ดนั้น ดาวเจ็ดดวงก็คือบรรดาทูตสวรรค์ของคริสตจักรทั้งเจ็ด และคันประทีปเจ็ดคันนั้นก็คือ คริสตจักรทั้งเจ็ด” (วิวรณ์ 1:20)]
ผู้อ่านอรรถาธิบายคีตานี้อาจสงสัยว่า ทําไมโยคีจึงต้องเข้าใจกลไกอันซับซ้อนของกายเนื้อ กายทิพย์ และกายดํารินี้ ถ้าอ่านตําราอย่างเช่น Gray's Anatomy (ตํารากายวิภาคของเกรย์) เราก็จะเห็นกิ่งก้านสาขาอันซับซ้อนที่ประกอบกันเป็นกายเนื้อ กายทิพย์กับกายดําริยิ่งซับซ้อนกว่านั้นมากนัก เป็นองค์กรที่ซับซ้อนกว่ากายหยาบอย่างยิ่ง ความเข้าใจของมนุษย์เกี่ยวกับกายวิภาคของทั้งสามกายได้เปิดเผยศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังเทคนิคโยคะ ทําให้เราเห็นว่ากายเหล่านั้นทํางานกันอย่างไรและทําไมจึงเป็นเช่นนั้น
แนวคิดเกี่ยวกับกายเนื้อ กายทิพย์ และกายดำริของมนุษย์อาจจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น ด้วยการอธิบายดังต่อไปนี้ พระเจ้าฝันถึงการสร้างด้วยพระดําริของพระองค์ พระเจ้าตรัสว่า “จงเกิดความสว่าง ความสว่างก็เกิดขึ้น” พระเจ้าทรงกระจายพระดํารินี้ในแสงฝัน และทรงสร้างจักรวาลทิพย์ฝันจากแสงฝันนี้ จากนั้นทรงกลั่นจักรวาลทิพย์ฝันเป็นจักรวาลกายฝัน เมื่อทรงสร้างมหาจักรวาลแล้วได้ทรงสร้างสรรพสิ่งในจุลจักรวาล ทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นส่วนหนึ่งในฝันทั้งสาม คือ กายดําริฝันอยู่ในกายทิพย์ฝัน และกายทิพย์ฝันอยู่ในกายเนื้อฝัน
ผู้รู้จึงกล่าวว่า: โยคีที่สําเร็จโยคะ ต้องถอนจิตจากกายเนื้อฝัน จากกายทิพย์ฝัน และกายดําริฝัน แล้วสลายรูปกายเหล่านั้นให้เป็นจักรวาลกายฝัน จักรวาลทิพย์ฝัน และจักรวาลดําริฝัน เมื่อโยคีสามารถสลายจักรวาลกายฝันแล้วผันเข้าไปในจักรวาลทิพย์ฝัน และสลายจักรวาลทิพย์ฝันผันเข้าสู่จักรวาลดําริฝัน และผันความคิดมากมายในจักรวาลดําริฝันไปรวมกับจิตจักรวาลอันเป็นหนึ่ง เมื่อนั้นแล้วท่านย่อมเป็นอิสระ เช่นเดียวกับบรมวิญญาณ
บรมวิญญาณฝันให้ตนเองเป็นพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ (สัตตัต-โอม) และเป็นจักรวาลดําริฝัน จักรวาลทิพย์ฝัน และจักรวาลกายฝัน วิญญาณในฐานะภาพสะท้อนแห่งพระเจ้าจึงมาจากจิตจักรวาลซึ่งสถิตอยู่ทุกที่ทุกกาล มาอยู่ในสภาพแวดล้อมอันจํากัดของโลก และในกายฝันทั้งสาม โยคีผู้มีศรัทธาจึงต้องถอนจิตจากมายาฝันทั้งหลายเหล่านั้น และรวมวิญญาณกับบรมวิญญาณอันเป็นบรมเกษมที่ดํารง รู้ และใหม่ ในทุกกาลสมัย
พูดอีกอย่างได้ว่า ผู้ภักดีต้องยกตัวให้พ้นจากอนุจักรวาลและมหาจักรวาลฝันที่พระเจ้าทรงกําหนดมาพร้อมกับมายา และต้องปลุกวิญญาณของตนให้ตื่นจากมายาฝัน อยู่กับการรู้ตื่นนิรันดร์แห่งบรมวิญญาณ เมื่อนั้นแล้ว โยคีจึงจะเข้าถึง “การไม่กระทํา” พ้นจากการถูกบังคับให้เข้าไปร่วมในปรากฏการณ์นั้น ๆ
ผู้ภักดีได้ชื่อว่าเป็นผู้แสวงหาทางจิตวิญญาณ และเป็นผู้ไต่ไปบนเส้นทางแห่งจิตวิญญาณ เมื่อเขาพยายามที่จะสลายฝันทั้งหลายให้เป็นการรับรู้บรมวิญญาณอันเป็นหนึ่งเดียว เมื่อเขาสามารถสลายมายาฝันแห่งจักรวาลได้สิ้นแล้ว เขาย่อมดํารงอยู่กับสิ่งจริงเที่ยงแท้ จึงกล่าวได้ว่าเขาเข้าถึง โยคารูฒ (วิญญาณเป็นหนึ่งเดียวกับบรมวิญญาณอย่างแน่นแฟ้น)
➖➖➖จบโศลกที่ 3-4➖➖➖
โฆษณา