7 ม.ค. เวลา 02:52 • ข่าวรอบโลก

ศึกชิง “ความมั่นคงด้านพลังงาน” ในคาบสมุทรบอลข่าน

หน่วยงานท้องถิ่นในบอลข่านตะวันตกมักให้ความสำคัญกับความมั่นคงด้านพลังงานในระยะสั้นมากกว่าความยั่งยืนในระยะยาว และแทนที่จะเปลี่ยนมาใช้ “พลังงานสีเขียว” พวกเขากลับชอบที่จะเลือกใช้ก๊าซของรัสเซีย และเมื่อถึงคราวจำเป็นที่พวกเขาต้องสวิตซ์มาใช้อย่างอื่น พวกเขากลับเลือกใช้ “แผงโซลาร์เซลล์จากจีน” ซึ่งขายได้กำไรมากกว่า ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งยุโรป (ECFR) เขียนบทความเผยแพร่เชิงตัดพ้อไม่พอใจ (อ้างอิงได้จากลิงก์ด้านล่างสุดของบทความนี้)
เครดิตภาพ: FT / AFP via Getty Images
เหตุผลที่นักวิเคราะห์ในยุโรปแสดงความกังวลสมควรได้รับความสนใจเป็นพิเศษเมื่อพิจารณาจากความมุ่งมั่นของ “ประธานาธิบดีวูซิชแห่งเซอร์เบีย” ที่ต้องการให้ทรัมป์รับประกันว่าเขาจะไม่คว่ำบาตรบริษัทน้ำมันและก๊าซของเซอร์เบีย NIS (Naftna industrija Srbije) ซึ่งถือหุ้นมากกว่า 56% ของ Gazprom (ก๊าซพรอม) บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัสเซีย ต่อจากนั้นเซอร์เบียจะตกลงทำสัญญาก๊าซฉบับใหม่กับรัสเซีย
วูซิชเล่าว่าสำหรับเซอร์เบียมีความต้องการใช้ก๊าซในปริมาณ 13.5-14.5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน รัสเซียจึงเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้เสมอมา ดังนั้นหากเกิดการคว่ำบาตรเข้ามายึดหุ้นใน NIS โดยใช้มาตรการบีบบังคับจึงถือเป็นกรณีที่ร้ายแรงสำหรับเซอร์เบีย แม้ว่าสมาชิกในรัฐบาลมากกว่าครึ่งหนึ่งจะสนับสนุนเขาก็ตาม
วูซิชกำหนดลำดับความสำคัญของเขาได้อย่างถูกต้อง มีเพียงทรัมป์เท่านั้นที่สามารถให้การรับประกันเรื่องนี้แก่เซอร์เบียได้ เนื่องจากสถาบันวิเคราะห์ของยุโรปซึ่งมักทำหน้าที่เหมือนคลังสมองสำหรับนโยบายของบรัสเซลส์และเอนเอียงต่อต้านรัสเซีย
เครดิตภาพ: RFE/RL
ผู้เชี่ยวชาญของ ECFR กล่าวว่าการที่รัสเซียรวมกลุ่มในภาคส่วนก๊าซที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในบอลข่านตะวันตกกับผลประโยชน์ด้านพลังงานของจีนในภูมิภาคนี้ “กำลังขัดขวางการประสานความสัมพันธ์ระหว่างบอลข่านตะวันตกกับสหภาพยุโรปและการบูรณาการกับตลาดของตน… พวกเขาต้องการให้เลิกใช้ก๊าซและหันไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนโดยตรงเพื่อผลประโยชน์ของบอลข่านตะวันตก แม้ว่าจะมีโครงการก๊าซที่วางแผนก่อสร้างเพิ่มไว้ในภูมิภาคนี้แล้วก็ตาม”
เป็นเรื่องแปลกที่วูซิชมีโอกาสที่ดีจากรัสเซีย เช่นเดียวกับการที่บอลข่านตะวันตกเป็นภูมิภาคใช้ก๊าซซึ่งขัดต่อแนวทางของสหภาพยุโรป สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ คำนวณในรายงานปี 2022 ว่าภายในปี 2030 ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงบอลข่านตะวันตก จะต้องลงทุน 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซแห่งใหม่
ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลแอลเบเนียได้ลงนามข้อตกลงกับบริษัท ExxonMobil และ Excelerate Energy ของอเมริกาเพื่อสร้างเทอร์มินัลนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่ Vlora ในโคโซโว (ดินแดนพิพาทกับเซอร์เบีย) ซึ่งฝักไฝ่ตะวันตก สหรัฐฯ ได้เสนอมาตรการสนับสนุนหลายประการสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านก๊าซ รวมถึงโครงการมูลค่า 2 ร้อยล้านดอลลาร์ในการสร้างท่อส่งก๊าซที่จะ “เชื่อมต่อโคโซโวกับมาซิโดเนียเหนือ”
ในเวลานั้นบรัสเซลส์สามารถล็อบบี้รัฐบาลโคโซโวให้ล้มเลิกแนวคิดนี้ได้ แต่ความปรารถนาของทรัมป์ที่ต้องการเปลี่ยนสหรัฐฯ ให้กลายเป็นผู้เล่นด้านพลังงานระดับโลกน่าจะทำให้โครงการเหล่านี้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
1
โครงข่ายท่อก๊าซในฝันที่วาดไว้พาดผ่านในภูมิภาคบอลข่านเพื่อลดความเสี่ยงวิกฤตด้านพลังงานในยุโรป เครดิตภาพ: Interfax / bne Intellinews
ผู้เชี่ยวชาญของ ECFR เรียกร้องให้มีการต่อต้าน “การเปลี่ยนผ่านสู่ก๊าซ” ของภูมิภาคบอลข่านด้วยภาษีคาร์บอนและสิ่งตอบแทนอย่างเช่นการยอมรับเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่พวกเขายอมรับว่าเรื่องนี้จะต้องเหมือนลงเงินจำนวนมากและอาจได้ไม่คุ้มเสียนัก เพราะโครงการดังกล่าวมันจะไม่ทำกำไรและข้อเสียเปรียบของ “การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียว” นั้นชัดเจนเกินไปสำหรับภูมิภาคดังกล่าว
2
บทความก่อนหน้านี้เกี่ยวกับวิกฤตด้านพลังงานในยุโรปหลังยูเครนไม่ต่อสัญญากับรัสเซียให้ใช้ท่อก๊าซที่อยู่ในดินแดนของตน อ่านเพิ่มเติมได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
7th Jan 2025
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: (บน) Civil.Today (ล่าง) DUMITRU DORU / EPA>
โฆษณา