8 ม.ค. เวลา 03:00 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์

ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลลูกโลกทองคำครั้งที่ 82 : Emilia Pérez และ The Brutalist คว้าหนังยอดเยี่ยม

จะว่าเป็นการเริ่มต้น ของฤดูกาลประกาศรางวัลของอุตสาหกรรมสื่อภาพยนตร์ ก็ว่าได้ครับ หลังจากช่วงปลายปี ที่บางเวทีเริ่มทำการประกาศรางวัล แต่ส่วนใหญ่ เวทีใหญ่เวทีหนึ่งที่มักจะถูกนับเป็นสัญญาณรับต้นปี นั่นคือเวทีลูกโลกทองคำ ซึ่งปีนี้ จัดงานประกาศรางวัลขึ้น เป็นงาน ลูกโลกทองคำครั้งที่ 82 หลังจากปีก่อนที่มีผู้เข้าชิงหลากหลายมากขึ้น และผลลรางวัลของเวทีนี้ ก็ออกมาน่าสนใจ และทำให้กระแสของการประกาศรางวัลนับจากนี้ ดูน่าติดตามขึ้นไม่น้อยเลยทีเดียว
ซึ่งสุดท้ายก็เป็น หนังมิวสิคัลอาชญากรรมอย่าง “Emilia Pérez” ของผู้กำกับ ฯ ฌาคส์ อูเดียด์ ที่สามารถทำให้กวาดรางวัลสำคัญบนเวทีลูกโลกทองคำ กลับไปได้มากสุดถึง 4 สาขา นั่นคือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทเพลงหรือตลก, นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ประเภทเพลงหรือตลก, ภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม และ เพลงประกอบยอดเยี่ยม
รองลงมา ก็เป็นหนังดราม่ามหากาพย์ “The Brutalist” ของผู้กำกับ ฯ เบรดี้ คอร์เบต์ ที่สามารถคว้ารางวัลสำคัญกลับไปได้ถึง 3 สาขา อย่าง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทดราม่า, นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประเภทดราม่า และ ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ซึ่งในช่วงขึ้นกล่าวรับรางวัล ผู้กำกับ ฯ​ อย่าง คอร์เบต์ นอกเหนือจะกล่าวขอบคุณทีมงาน ผู้จัดจำหน่าย ผู้อำนวยการสร้าง นักแสดง รวมถึงคุณปู่และครอบครัว คอร์เบต์ ก็ได้ส่งกำลังใจไปให้ ออเบรย์ พลาซ่า และ ครอบครัวของเจฟฟ์ แบนา ที่เสียชีวิตในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาอีกด้วย
ส่วนในสาขาการแสดง ก็ล้วนน่าสนใจทั้งสิ้น แม้ในสาขานักแสดงนำชาย ประเภทดราม่า จะเป็น เอเดรียน โบรดี้ จาก “The Brutalist” และในสาขานักแสดงสมทบชาย จะเป็น เคียราน คัลกิ้น จาก “A Real Pain” ตามคาด และในสาขานักแสดงสมทบหญิง ก็เป็นของ โซอี้ ซาลดาน่า จาก “Emilia Pérez”
แต่ปรากฎการณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในคืนนี้ คือ สาขานักแสดงนำหญิง ประเภทดราม่า ที่น่าตื่นเต้นและประหลาดใจไม่น้อย ที่คณะกรรมการฯ ตัดสินใจมอบให้กับ เฟอร์นานดา ตอร์เรส นักแสดงสัญชาติบราซิลวัย 59 ปี จาก “I’m Still Here” และสร้างประวัติศาสตร์เป็นนักแสดงบราซิลคนแรกที่ชนะรางวัล จากที่เคยมี เฟอร์นานดา มอนเตเนโกร แม่ของเธอ เคยเป็นนักแสดงบราซิลคนแรกที่ได้เข้าชิงในสาขาเดียวกันนี้ในปี 1999
ส่วนด้าน สาขานักแสดงนำหญิง ประเภทเพลงหรือตลก ก็ตกเป็นของ เดมี มัวร์ จาก “The Substance” ส่วนสาขานักแสดงนำชาย ประเภทเพลงหรือตลก ก็ตกเป็นของ เซบาสเตียน สแตน จาก “A Different Man” และถือเป็นลูกโลกทองคำตัวแรกของทั้งคู่อีกด้วย
และในสาขารางวัลอื่น ๆ ภาพยนตร์อย่าง “Conclave“, “Challengers” หรือกระทั่ง “Wicked” ก็สามารถคว้ากลับไปได้อย่างละสาขา โดยเฉพาะอย่าง “Wicked” เอง ที่สามารถคว้ารางวัลสาขา “ความสำเร็จด้านภาพยนตร์และรายได้” มาได้ ในฐานะภาพยนตร์มิวสิคัล, ภาพยนตร์ที่ถูกดัดแปลงจากละครเพลง ที่ทำรายได้ทั่วโลกสูงสุดตลอดกาล
นอกเหนือจากนี้ ในสาขาภาพยนตร์แอนิเมชัน ก็ยังมีความน่าประหลาดใจตรงที่ กลายเป็นภาพยนตร์อิสระสัญชาติลัตเวียอย่าง “Flow” ที่สามารถคว้าลูกโลกทองคำสาขานี้กลับไปได้ และถือเป็นภาพยนตร์อิสระเรื่องแรกที่คว้ารางวัลสาขานี้ และถือเป็นภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษเรื่องที่สอง ตามหลังชัยชนะของ “The Boy and the Heron” เมื่อปีที่แล้วอีกด้วย
ส่วนวงการโทรทัศน์ ก็ยังเป็นปีทองของซีรีส์ดราม่าอย่าง “Shōgun” ของ FX/Hulu ที่คว้ารางวัลกลับไปได้สูงสุดถึง 4 สาขา นั่นคือ ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม – ประเภทดราม่า, นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ประเภทละครโทรทัศน์ดราม่า อย่าง ฮิโรยูกิ ซานาดะ, นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม – ประเภทละครโทรทัศน์ดราม่า อย่าง แอนนา ซาวาย และ นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม อย่าง ทาดะโนบุ อาซาโนะ
รองลงมาก็เป็น ซีรีส์ระทึกขวัญตลกร้ายอย่าง “Baby Reindeer” ของ Netflix ที่คว้ารางวัลกลับไปได้สูงสุด 2 สาขา นั่นคือ ละครสั้นหรือภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์ยอดเยี่ยม และ นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม – ประเภทละครสั้น, ละครชุด หรือภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์ อย่าง เจสสิก้า กันนิ่ง
ต่อมาเป็น ซีรีส์ตลกอย่าง “Hacks” ของ Max ที่สามารถคว้ารางวัลกลับไปได้ 2 สาขา อย่าง ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม – ประเภทเพลงหรือตลก และ, นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม – ประเภทเพลงหรือตลก อย่าง จีน สมาร์ท
ส่วนสาขา “รายการเดี่ยวไมโครโฟนทางโทรทัศน์ยอดเยี่ยม” (“Best Stand-Up Comedian on Television”) ก็เป็นของ “Ali Wong: Single Lady” โดย อาลี หว่อง ของ Netflix
ด้านล่างคือ ผลสรุปรางวัลทั้งหมดของรางวัล ลูกโลกทองคำครั้งที่ 82 ( ผู้ชนะจะถูกเน้นข้อความไว้ )
สาขาภาพยนตร์
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม – ประเภทดราม่า
– *** “The Brutalist” ***
– “A Complete Unknown”
– “Conclave”
– “Dune: Part Two”
– “Nickel Boys”
– “September 5”
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม – ประเภทเพลงหรือตลก
– *** “Emilia Pérez” ***
– “Anora”
– “Challengers”
– “A Real Pain”
– “The Substance”
– “Wicked”
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
– *** เบรดี้ คอร์เบ็ต จาก The “Brutalist” ***
– ฌาคส์ อูเดียด์ จาก “Emilia Pérez”
– ฌอน เบเกอร์ จาก “Anora”
– เอ็ดเวิร์ด เบอร์เกอร์ จาก “Conclave”
– กอราลี ฟาร์ฌาต์ จาก “The Substance”
– ปายาล คาพาเดีย จาก “All We Imagine as Light”
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ประเภทภาพยนตร์ดราม่า
– *** เอเดรียน โบรดี้ จาก “The Brutalist” ***
– ทิโมธี ชาลาเมต์ จาก “A Complete Unknown”
– เดเนียล เคร็ก จาก “Queer”
– โคลแมน โดมิงโก้ จาก “Sing Sing”
– ราล์ฟ ไฟน์ส จาก “Conclave”
– เซบาสเตียน สแตน จาก “The Apprentice”
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม – ประเภทภาพยนตร์ดราม่า
– *** เฟอร์นาดา ตอร์เรส จาก “I’m Still Here” ***
– พาเมล่า แอนเดอร์สัน จาก “The Last Snowgirl”
– แองเจลีนา โจลี จาก “Maria”
– นิโคล คิดแมน จาก “Babygirl”
– ทิลด้า สวินตัน จาก “The Room Next Door”
– เคท วินสเลต จาก “Lee”
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ประเภทภาพยนตร์เพลงหรือตลก
– *** เซบาสเตียน สแตน จาก “A Different Man” ***
– เจสซี ไอเซนเบิร์ก จาก “A Real Pain”
– ฮิวจ์ แกรนท์ จาก “Heretic”
– เกเบรียล ลาเบลล์ จาก “Saturday Night”
– เจสซี พลีมอนส์ จาก “Kinds of Kindness”
– เกล็น พาวเวลล์ จาก “Hit Man”
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม – ประเภทภาพยนตร์เพลงหรือตลก
– *** เดมี มัวร์ จาก “The Substance” ***
– เอมี อดัมส์ จาก “Nightbitch”
– ซินเธีย เอริโว จาก “Wicked”
– คาร์ลา โซเฟีย กาสคอน จาก “Emilia Pérez”
– ไมค์กี้ เมดิสัน จาก “Anora”
– เซนเดย์อา จาก “Challengers”
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – ประเภทภาพยนตร์ดราม่า เพลงหรือตลก
– *** เคียราน คัลกิน จาก “A Real Pain” ***
– ยูรา บอริซอฟ จาก “Anora”
– เอ็ดเวิร์ด นอร์ตัน จาก “A Complete Unknown”
– กาย เพียร์ซ จาก “The Brutalist”
– เจเรมี สตรอง จาก “The Apprentice”
– เดนเซล วอชิงตัน จาก “Gladiator II”
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม – ประเภทภาพยนตร์ดราม่า เพลงหรือตลก
– *** โซอี้ ซาลอาน่า จาก “Emilia Pérez” ***
– เซเลนา โกเมซ จาก “Emilia Pérez”
– อาเรียนา กรานเด จาก “Wicked”
– เฟลิซิตี้ โจนส์ จาก “The Brutalist”
– มาร์กาเร็ต ควอลลีย์ จาก “The Substance”
– อิซาเบลลา รอสเซลลินี จาก “Conclave”
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
– *** ปีเตอร์ สตอว์น จาก “Conclave” ***
– ฌาคส์ อูเดียด์ จาก “Emilia Pérez”
– ฌอน เบเกอร์ จาก “Anora”
– เบรดี้ คอร์เบ็ต จาก The “Brutalist”
– เจสซี ไอเซนเบิร์ก จาก “A Real Pain”
– กอราลี ฟาร์ฌาต์ จาก “The Substance”
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
– *** เทรนต์ เรซเนอร์ และ อัททิคัส รอสส์ จาก “Challengers” ***
– โวลเกอร์ เบอร์เทลแมน จาก “Conclave”
– เดเนียล บลัมเบิร์ก จาก “The Brutalist”
– คริส บาวเออร์ส จาก “The Wild Robot”
– คลีมองต์ ดูคอล และ คามิลล์ จาก “Emilia Pérez”
– ฮานส์ ซิมเมอร์ จาก “Dune: Part Two”
เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
– *** “El Mal” จาก “Emilia Pérez” ***
– “Beautiful That Way” จาก “The Last Showgirl”
– “Compress / Repress” จาก “Challengers”
– “Forbidden Road” จาก “Better Man”
– “Kiss the Sky” จาก “The Wild Robot”
– “Mi Camino” จาก “Emilia Pérez”
ภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยม
– *** “Flow” ***
– “Inside Out 2”
– “Memoir of a Snail”
– “Moana 2”
– “Wallace & Gromit: Vengeance Most Fowl”
– “The Wild Robot”
ภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม
– *** “Emilia Pérez” จาก ฝรั่งเศส ***
– “Alll We Imagine as Light” จาก ฝรั่งเศส / อินเดีย / เนเธอร์แลนด์ส / ลักเซมเบิร์ก / อิตาลี
– “The Girl with the Needle” จาก โปแลนด์ / สวีเดน / เดนมาร์ก
– “I’m Still Here” จาก บราซิล
– “The Seed of the Sacred Fig” จาก สหรัฐอเมริกา / เยอรมณี
– “Vemiglio” จาก อิตาลี
ความสำเร็จด้านภาพยนตร์และรายได้
– *** “Wicked” ***
– “Alien: Romulus”
– “Beetlejuice Beetlejuice”
– “Deadpool & Wolverine”
– “Gladiator II”
– “Inside Out 2”
– “Twisters”
– “The Wild Robot”
สาขารายการโทรทัศน์
ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม – ประเภทดราม่า
– *** “Shōgun” ***
– “The Day of the Jackal”
– “The Diplomat”
– “Mr. & Mrs. Smith”
– “Slow Horses”
– “Squid Game”
ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม – ประเภทเพลงหรือตลก
– *** “Hacks” ***
– “Abbott Elementary”
– “The Bear”
– “The Gentlemen”
– “Nobody Wants This”
– “Only Murders in the Building”
ละครสั้นหรือภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์ยอดเยี่ยม
– *** “Baby Reindeer” ***
– “DISCLAIMER*”
– “Monsters: The Lyle and Erik Menendez Story”
– “The Penguin”
– “Ripley”
– “True Detective: Night Country”
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ประเภทละครโทรทัศน์ดราม่า
– *** ฮิโรยูกิ ซานาดะ จาก “Shōgun” ***
– โดนัลด์ โกลเวอร์ จาก “Mr. & Mrs. Smith”
– เจค กิลเลนฮาล จาก “Presumed Innocent”
– แกรี โอลด์แมน จาก “Slow Horses”
– เอ็ดดี้ เรดเมย์น จาก “The Day of the Jackal”
– บิลลี บ็อบ ธอร์นตัน จาก “Landman”
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม – ประเภทละครโทรทัศน์ดราม่า
– *** แอนนา ซาวาย จาก “Shōgun” ***
– เคธี เบตส์ จาก “Matlock”
– เอ็มมา ดาร์ซีย์ จาก “House of the Dragon”
– มายา เออร์สกิน จาก “Mr. & Mrs. Smith”
– เคียรา ไนท์ลีย์ จาก “Black Doves”
– เคอรี รัสเซลล์ จาก “The Diplomat”
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ประเภทละครโทรทัศน์ตลกหรือเพลง
– *** เจเรมี อัลเลน ไวท์ จาก “The Bear” ***
– อดัม โบรดี้ จาก “Nobody Wants This”
– เท็ด แดนสัน จาก “A Man on the Inside”
– สตีฟ มาร์ติน จาก “Only Murders in the Building”
– เจสัน ซีเกิล จาก “Shrinking”
– มาร์ติน ชอร์ต จาก “Only Murders in the Building”
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม – ประเภทละครโทรทัศน์ตลกหรือเพลง
– *** จีน สมาร์ท จาก “Hacks” ***
– คริสเตน เบลล์ จาก “Nobody Wants This”
– ควินตา บรันสัน จาก “Abbott Elementary”
– เอโย เอดีบิริ จาก “The Bear”
– เซเลน่า โกเมซ จาก “Only Murders in the Building”
– แคธรีน ฮาห์น จาก “Agatha All Along”
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ประเภทละครสั้น, ละครชุด หรือภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์
– *** โคลิน ฟาร์เรลล์ จาก “The Penguin” ***
– ริชาร์ด แก็ด จาก “Baby Reindeer”
– เควิน ไคล์น จาก “DISCLAIMER*”
– คูเปอร์ ค็อช จาก “Monsters: The Lyle and Erik Menendez Story”
– ยวน แม็คเกรเกอร์ จาก “A Gentleman in Moscow”
– แอนดรูว สก็อตต์ จาก “Ripley”
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม – ประเภทละครสั้น, ละครชุด หรือภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์
– *** โจดี้ ฟอสเตอร์ จาก “True Detective: Night Country” ***
– เคท บลันเชทท์ จาก “DISCLAIMER*”
– คริสติน มิลิออตติ จาก “The Penguin”
– โซเฟีย เวอร์การา จาก “Griselda”
– นาโอมิ วัตตส์ จาก “Feud: Capote vs. The Swans”
– เคท วินสเลต จาก “The Regime”
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – ประเภทละครโทรทัศน์
– *** ทาดะโนบุ อาซาโนะ จาก “Shōgun” ***
– ฮาเวียร์ บาร์เด็ม จาก “Monsters: The Lyle and Erik Menendez Story”
– แฮร์ริสัน ฟอร์ด จาก “Shrinking”
– แจ็ค โลว์เดน จาก “Slow Horses”
– ดิเอโก้ ลูน่า จาก “La Máquina”
– อีบอน มอสส์-บาครัค จาก “The Bear”
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม – ประเภทละครโทรทัศน์
– *** เจสสิก้า กันนิ่ง จาก “Baby Reindeer” ***
– ลิซา โคลอน-ซายาส จาก “The Bear”
– แฮนนาห์ ไอน์ไบเดอร์ จาก “Hacks”
– ดาโกตา แฟนนิ่ง จาก “Ripley”
– อัลลิสัน แจนนีย์ จาก “The Diplomat”
– คาลี ไรส์ จาก “True Detective: Night Country”
รายการเดี่ยวไมโครโฟนทางโทรทัศน์ยอดเยี่ยม
– *** “Ali Wong: Single Lady” โดย อาลี หว่อง ***
– “Jamie Foxx: What Had Happened Was…” โดย เจมี ฟ็อกซ์
– “Nikki Glaser: Someday You’ll Die” โดย นิกกี้ เกลเซอร์
– “Seth Meyers: Dad Man Walking” โดย เซ็ธ เมเยอร์ส
– “Adam Sandler: Love You” โดย อดัม แซนด์เลอร์
– “Ramy Youssef: More Feelings” โดย รามี ยูสเซฟ
โฆษณา