9 ม.ค. เวลา 07:36 • ธุรกิจ

สรุป 4 เทรนด์ผู้บริโภคและกลยุทธ์การตลาด ปี 2025 จาก Ipsos Global Trends

การเข้าใจเทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โพสต์นี้ได้สรุป 4 เทรนด์หลักที่กำลังจะมีบทบาทสำคัญในปี 2025 โดยอ้างอิงจากรายงาน Ipsos Global Trends เพื่อช่วยให้นักการตลาดและผู้ที่สนใจเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้ในการวางกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม ไปดูกันเลยค่ะ
1. Self-sumers - Me,Myself & I: เมื่อผู้บริโภคใส่ใจกับตัวเอง และพึ่งพาตัวเองมากขึ้น โดยเน้นการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ การพัฒนาตัวเอง และการใช้ชีวิตแบบยั่งยืน
- จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนต่างๆ ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับปัจจุบันมากขึ้น มีทัศนคติแบบ YOLO (You Only Live Once) ต้องการใช้ชีวิตให้เต็มที่และแสวงหาความสุขในปัจจุบัน
- ผลสำรวจ Ipsos Thailand พบว่า 72% ของคนไทยเลือกใช้ชีวิตให้มีความสุขในวันนี้ และ 84% เชื่อว่าอนาคตไม่แน่นอน จึงใช้ชีวิตเพื่อวันนี้
- ผู้บริโภคพร้อมที่จะใช้จ่ายเงินเพื่อสิ่งที่มอบความสุขให้ตนเอง แม้ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน สะท้อนจากปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ความนิยมใน "หมูเด้ง" และกระแส Taylor Swift Mania
- ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของตนเองทั้งในโลกจริงและออนไลน์ 65% ของคนไทยชอบซื้อสินค้าหรือประสบการณ์ที่จะทำให้ตนเองดูดีในรูปที่โพสต์ออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z ที่พร้อมจะเข้าไปมีตัวตนในโลก Metaverse และแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เช่น Roblox, Sandbox และ Fortnite ทำให้เส้นแบ่งระหว่างโลกจริงและเสมือนจริงบางลง
พฤติกรรมผู้บริโภคยุค AI ที่ส่งผลต่อการตลาด
- Personalization: ผู้บริโภคคาดหวังสินค้าหรือบริการที่ปรับแต่งเฉพาะตัว เช่น การแนะนำสินค้าผ่าน AI หรือการเลือกแพ็กเกจสุขภาพตามความต้องการ
- Wellness & Self-Care: สินค้าเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เช่น วิตามิน สกินแคร์ หรือการสมัครคอร์สฟิตเนส ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
- Digital Empowerment: ผู้บริโภคใช้ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียในการตัดสินใจเอง เช่น การอ่านรีวิวหรือคำแนะนำจากคอมมูนิตี้ออนไลน์
โอกาสและสิ่งที่แบรนด์ควรทำ
- ตอบโจทย์ความสุขของผู้บริโภค:
แบรนด์ต้องสร้างสินค้าหรือบริการที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกดีและเติมเต็มความสุข เช่น สินค้าที่ช่วยเพิ่มภาพลักษณ์หรือสร้างประสบการณ์พิเศษ
- เข้าสู่โลกเสมือนจริง:
การนำสินค้าหรือร้านค้าเข้าสู่โลกเสมือนจริง (Metaverse) เป็นโอกาสในการสร้าง "แผนส่งเสริมการขาย" รูปแบบใหม่ และสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับผู้บริโภค
- สร้างรายได้จาก Hybrid Worlds:
โลกเสมือนจริงไม่ใช่แค่พื้นที่โฆษณาอีกต่อไป แต่เป็น ช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ เช่น การขายสินค้าเสมือน (Virtual Goods), การขายสินค้าดิจิทัล และการจัดกิจกรรมใน Metaverse
2. Seamlessness: ประสบการณ์ไร้รอยต่อ โดยเน้นที่การใช้งาน AI
AI กับบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทย
- คนไทยสนใจ AI เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและอินโดนีเซีย
- 73% ของคนไทยระบุว่า AI ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในด้านความบันเทิงและการประหยัดเวลา
ข้อกังวลเกี่ยวกับ AI ในประสบการณ์ลูกค้า
- แม้ AI จะช่วยเพิ่มความสะดวก แต่หลายครั้งกลับสร้างประสบการณ์ที่ไม่ตอบโจทย์ เช่น ระบบ Self-Checkout ที่ควรลดเวลา แต่กลับทำให้ลูกค้าเสียเวลามากขึ้น
- 55% ของผู้บริโภครู้สึกว่าประสบการณ์ที่ได้รับแย่กว่าคาดหวัง
- 74% ของผู้บริโภคยินดีจ่ายเพิ่มเพื่อให้ได้รับบริการที่ดีกว่า โดยเฉพาะกลุ่ม Baby Boomers ที่ยังให้ความสำคัญกับ Human Interaction คือ ยังคงชอบการโต้ตอบกับคนมากกว่า AI
พฤติกรรมผู้บริโภคยุค AI ที่ส่งผลต่อการตลาด
- ความคาดหวังที่สูงขึ้น:
ผู้บริโภคต้องการประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อและสอดคล้องกับความคาดหวังในทุก Touchpoint ของ Customer Journey
- ความสมดุลระหว่าง AI และมนุษย์:
แม้ AI จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย แต่ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ (Human Interaction) ยังคงสำคัญในการสร้างความไว้วางใจและความพึงพอใจ
- ประเด็นด้าน Automation:
ตัวอย่างเช่น ระบบ Self-Checkout ที่ควรลดเวลารอคิว แต่กลับสร้างปัญหาเพิ่มเติม เช่น สแกนสินค้าไม่ได้ ทำให้ลูกค้ารู้สึกเสียเวลา
โอกาสและสิ่งที่แบรนด์ควรทำ
- ปรับปรุง Customer Journey:
ใช้ AI เพื่อเสริมประสบการณ์ในแต่ละ Touchpoint แต่ควรมีการปรับปรุง Customer Journey อย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับความคาดหวังของลูกค้า และต้องไม่ละเลยปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ โดยเฉพาะในด้านการบริการลูกค้าที่ยังคงต้องการการพูดคุยกับคนจริง ๆ
- ออกแบบด้วย Empathy:
AI สามารถยกระดับประสบการณ์ลูกค้าได้จริง หากนำมาใช้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคและออกแบบโดยยึดหลัก "Empathy" (การเอาใจเขามาใส่ใจเรา) ควบคู่ไปกับการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
- กำหนดและสื่อสารความคาดหวัง:
แบรนด์ควรชี้แจงชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ และรักษาสัญญาในทุกจุดสัมผัส
- ผสาน AI กับมนุษย์อย่างเหมาะสม:
ใช้ AI ในงานที่เหมาะสม พร้อมฝึก AI ให้รู้ว่าเมื่อใดควรเปลี่ยนจากบอตเป็นพนักงาน เพื่อให้การบริการราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
- ความสำคัญของ CX:
ประสบการณ์ของลูกค้า (CX) เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความภักดีต่อแบรนด์ แบรนด์จึงต้องวางแผนและปรับปรุง Customer Journey อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวังของลูกค้า
3. Security: ความกังวล ด้านความปลอดภัยของข้อมูล
- เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคกังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล โดยเฉพาะกลุ่ม Baby Boomers ที่กังวลเรื่องข้อมูลส่วนตัวมากที่สุด
- มิจฉาชีพมีแนวโน้มใช้ AI ในการหลอกลวงมากขึ้น เช่น ปลอมแปลงเป็นบุคคลอื่น ทำให้การหลอกลวงแนบเนียนและยากต่อการตรวจสอบ
- แม้ผู้บริโภคต้องการความสะดวกและรวดเร็วในการใช้เทคโนโลยี แต่ความปลอดภัยของข้อมูลยังคงเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างความเร็วและความปลอดภัย
- 82% เชื่อว่าการสูญเสียความเป็นส่วนตัวจากเทคโนโลยีใหม่เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ 81% ยังกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลส่วนตัวที่เก็บจากออนไลน์
แนวโน้มที่คาดการณ์
- การเพิ่มขึ้นของมิจฉาชีพที่ใช้ AI สร้างรูปแบบฉ้อโกงที่ซับซ้อนขึ้น
- ความต้องการเทคโนโลยีที่ปลอดภัยแต่ใช้งานง่ายและไม่ยุ่งยาก
โอกาสสำหรับธุรกิจ
- เกิดโอกาสสำหรับ Startup ที่มุ่งเน้นด้านความปลอดภัย เช่น Fintech สำหรับผู้สูงอายุ หรือการใช้ AI เพื่อตรวจจับมิจฉาชีพ
- แบรนด์ควรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูลควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
สิ่งที่แบรนด์ควรทำ
- สร้างความสมดุลระหว่างความสะดวกสบายและความปลอดภัย โดยไม่ทำให้กระบวนการรักษาความปลอดภัยยุ่งยากจนเกินไป
- ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์และวิธีการป้องกันตัวเอง
- ลงทุนในเทคโนโลยีและระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย เพื่อป้องกันข้อมูลของผู้บริโภค
- ออกแบบฟีเจอร์ที่ช่วยปกป้องผู้บริโภคจากการฉ้อโกง เช่น ระบบแจ้งเตือนและการชะลอธุรกรรม การโอนเงินไปยังบัญชีใหม่หรือการใช้อุปกรณ์แปลกปลอม พร้อมระบบ Fraud Shield ที่ใช้ AI กรองการฉ้อโกงและแจ้งเตือนผู้ใช้งานก่อนการทำธุรกรรมสำคัญ
- สื่อสารกับผู้บริโภคถึงมาตรการรักษาความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจ
4. Sustainability: การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มองไกลกว่า ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
พฤติกรรมผู้บริโภคและความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม:
- 89% ของคนไทยพยายามรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่
- 79% ของผู้บริโภคมองว่าแบรนด์ยังไม่ใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อมมากพอ
- 87% ของผู้บริโภคในไทย เชื่อว่าแบรนด์สามารถสร้างรายได้ไปพร้อมกับการทำสิ่งดีๆ เพื่อสังคมได้
- ผู้บริโภคเชื่อว่าการดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของแบรนด์มากกว่าการผลักภาระให้ลูกค้า
- ผู้บริโภคกังวลเรื่องความยั่งยืน แต่ภาวะเศรษฐกิจทำให้ลังเลที่จะจ่ายเพิ่มสำหรับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Products/Green Premium)
- ผู้บริโภคยุค "Self-sumers" มีความต้องการหลากหลาย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะยินดีจ่ายเพิ่ม (Willingness to Pay) โดยเฉพาะในเรื่องความยั่งยืน
- การสื่อสารเรื่องความยั่งยืนยังคงสำคัญ แต่ควรเป็นข้อความเสริม ไม่ใช่ข้อความหลัก เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารที่ดีขึ้น
โอกาสและสิ่งที่แบรนด์ควรทำ
- ความจริงใจและความโปร่งใส: แบรนด์ต้องแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม การกล่าวอ้างทั่วไป เช่น "ใช้วัสดุชีวภาพ" อาจไม่เพียงพอ ต้องมีนวัตกรรมที่จับต้องได้และแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเงินที่จ่ายเพิ่มนำไปใช้อย่างไร
- การชี้ว่าแคมเปญที่เน้นประโยชน์หลักของสินค้าและเสริมด้วยข้อความเรื่อง Sustainability จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า
- กลยุทธ์ Win-Win-Wow: สร้างผลประโยชน์ให้ทั้งแบรนด์ สังคม และสร้างภาพลักษณ์ที่ดี (Wow Image) ให้กับผู้บริโภค
- การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค: แบรนด์ต้องตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคในแต่ละช่วงเวลา
- การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ: สื่อสารเรื่องความยั่งยืนเป็นส่วนเสริมของประโยชน์หลักของสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร
- การสร้างความเชื่อมั่น: สร้างความเชื่อมั่นด้วยการสนับสนุนและดูแลสังคม แสดงความจริงใจ และสื่อสารอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องสังคมและธรรมาภิบาล
3 ข้อแนะนำสำหรับแบรนด์
- Be Informed: ติดตามข้อมูลและปรับตัวตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
- Be Active: ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ และพัฒนาโซลูชันที่ตอบโจทย์ Self-sumers
- Be Inclusive: ทบทวนกลุ่มเป้าหมายและเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดที่หลากหลาย
.
📑โหลดหนังสือ e-book และอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://1mx.app.box.com/s/lrv2yhsms1rncddowz0tzh76xc2r0pet
โฆษณา