"จักจั่นงวงแดง" กับงวงสีสันสดใสเป็นเอกลักษณ์ ในผืนป่าอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

ชื่อสามัญภาษาไทย : จักจั่นงวงแดง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Fulgorid planthoppers
ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝙋𝙮𝙧𝙤𝙥𝙨 𝙘𝙖𝙣𝙙𝙚𝙡𝙖𝙧𝙞𝙪𝙨 (Linnaeus, 1758)
อันดับ : Hemiptera
วงศ์ : Fulgoridae
จักจั่นงวงแดง เป็นแมลงที่มีสีสันโดดเด่นชนิดหนึ่ง มีงวงยื่นออกมาจากส่วนหัว งวงสีส้มไปจนถึงสีแดง ตาเดี่ยวอยู่ใต้ตารวม ปีกคู่หน้ามีสีเขียว บริเวณโคนปีกมีแต้มสีเหลืองเรียงกันเป็นแถว ประมาณ 2/3 ของปีกแต้มสีเหลืองไขว้กันเป็นรูปกากบาท
ส่วนปลายของปีกมีแต้มสีเหลืองประปราย และมีเส้นปีกจำนวนมากเหมือนตาข่าย ปีกคู่หลังมีสีเหลือง หรือสีส้มเหลือง ปลายปีกมีสีดำ จักจั่นงวงมีขาแบบเดิน (walking leg) โคนขาสีน้ำตาล ปลายขา และเท้าสีดำ ขาคู่หลัง มีลักษณะพิเศษที่สามารถดีดตัว บินหลบหนีศัตรู
อาหารของจักจั่นงวงแดง คือ น้ำเลี้ยงต้นลำไย ลิ้นจี่โดยจะอาศัยตามสวนผลไม้ ป่าเบญจพรรณ มีเขตแพร่กระจายพันธุ์ในประเทศไทย จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และลาว
แหล่งอ้างอิง : หนังสือแมลงบางชนิดในเขตสงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก
ผู้สำรวจ/บทความ : นายธนกฤต แตงเงิน ตำแหน่ง พนักงานราชการ นักวิชาการป่าไม้ ฝ่ายวิชาการและสื่อความหมาย อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
ภาพถ่าย : นายประจักษ์ บุญมาจันทร์ ตำแหน่ง บุคคลภายนอกปฏิบัติงานอนุรักษ์และป้องกันรักษาป่า ประจำชุดลาดตระเวนสายตรวจส่วนกลาง อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม Pa Hin Ngam National Park
#กรมอุทยานแห่งชาติ #สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่7นครราชสีมา #อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม #อำเภอเทพสถิต #จังหวัดชัยภูมิ #จักจั่นงวงแดง
โฆษณา