9 ม.ค. เวลา 22:55 • ความคิดเห็น
ในภาษาไทย มีหลายคำเลยนะที่ใช้แทนคำว่าตาย แบบบ้านๆก็เช่น เสีย จากไป หมดกรรม สิ้นบุญ พ้นทุกข์ ฯลฯ ยังมีอีกหลายคำสำหรับบุคคลที่มีสถานะพิเศษ เช่น ละสังขาร อนิจกรรม ดับขันธ์ สวรรคต
ในภาษาอื่นๆเช่น Eng ใช้คำว่า pass away / gone / rest in peace / decease หรือในภ.ละติน ภ.บาลี ภ.จีน พอแปลเป็นไทยล้วนมีความหมายคล้ายๆกันคือ เสีย เสื่อมสภาพ
เพราะภาษาคือสิ่งหนึ่งที่สะท้อนวิธีคิด ชนชาติไหนคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องอะไรสักอย่าง เราสามารถทำความเข้าใจวิธีคิด โดยดูจากภาษาที่ชนชาตินั้นใช้กัน ทั้งคำที่เป็นทางการและคำทั่วๆไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
คำไทยๆคำหนึ่งที่เราคิดว่า สะท้อนความลึกซึ้งของคนไทยว่ามองความตายอย่างไร คือคำว่า "ถึงแก่กรรม" ตามความหมายคือเป็นวาระอย่างหนึ่งของชีวิต
1
อารัมภบทซะยืดยาว เอาล่ะเข้าเรื่องซะที!! สำหรับเรา ได้ใกล้ชิดความตายที่สุดตอนที่ดูแลคุณพ่อในช่วงท้ายๆของชีวิตค่ะ
คำกล่าวที่ว่า "วาสนาอย่างหนึ่งของมนุษย์เราคือ การได้ดูแลพ่อแม่ยามแก่เฒ่า จวบจนวาระสุดท้าย" เพิ่งเข้าใจความหมายก็ตอนนั้นนั่นแล
1
เห็นความเจ็บป่วย ความเสื่อมในสังขาร เห็นทุกขเวทนา จนได้เห็นท่านค่อยๆสามารถปล่อยจากการยึด เหล่านี้เหมือนคุณพ่อใช้สังขารของท่าน แสดงธรรมะบทสุดท้ายให้ลูกๆเห็น เห็นแล้วเอาไปคิดต่อ หรือเห็นแต่ไม่เก็ท อันนี้ก็เป็นวาสนาของใครของมันแล้วแหละ
1
ถ้าอุปมาความตายเหมือนการสอบไล่ ยังไง๊ยังไงทุกคนก็ต้องโดนไล่อยู่แล้วนะคะ แต่อีตอนก่อนเข้าห้องสอบเนี่ยสิ จะเดินสับๆเข้าไปแบบสวยๆหรือทุลักทุเล ก็อยู่ที่การหมั่นเจริญมรณานุสติ
1
จะจบแบบ สิ้นบุญ หรือหมดกรรม หรือพ้นทุกข์ ล้วนกำหนดได้ด้วยตัวเราค่ะ
1
ความรู้สึกนึกคิดทั้งหมดที่ได้รับจาก "ธรรมะบทสุดท้าย" ของคุณพ่อ รวบตึงอยู่ในกลอนบทนี้ค่ะ ขออนุญาตแปะ
ละแล้วซึ่งกายหยาบ
ไม่รับรู้ ไม่ร้อนหนาว
ชีวิตเป็นสิ่งชั่วคราว
ไม่ยืนยาวอยู่นิรันดร์
1
วางแล้วทุกๆสิ่ง
สละทิ้งแล้วทุกอย่าง
ขอพระธรรมนำสู่ทาง
สุขสงบในภพภูมิฯ
1
โฆษณา