11 ม.ค. เวลา 05:40 • ไลฟ์สไตล์

4 วิธีเข้าใจคนรอบตัวด้วย"หลักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม"

อ้างอิงจากหนังสือ: เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ฉบับเข้าใจง่ายที่สุดในโลก! (Amazing Decisions)
ผู้เขียน: Dan Ariely (แดน อารีลีย์)
สำนักพิมพ์: วีเลิร์น (WeLearn)
.
หนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับอะไร?📚
ในหนังสือจะพูดถึงบรรทัดฐานทางตลาดที่โฟกัสตัวเงินและผลประโยชน์เป็นหลัก
กับบรรทัดฐานทางสังคม ที่โฟกัสความรู้สึกดีและความสัมพันธ์เป็นหลัก ซึ่ง 2 บรรทัดฐานนี้จะส่งผลต่อการตัดสินใจและผลลัพธ์ของเรา
ในบทความนี้ ผมดรีม จากเรียนรู้วันละเรื่อง จะมาชวนทุกท่านคุยถึง ข้อคิดดีๆจากหนังสือเล่มนี้กันครับ
.
1️⃣ การให้เงินหรือผลประโยชน์ไม่ได้"เหมาะกับ
ทุกสถานการณ์" 🤑
ในบางสถานการณ์ การให้เงินหรือผลตอบแทนเพียงอย่างเดียวไม่ช่วยให้เราได้ในสิ่งที่ต้องการ
เพราะคนเรามีสิ่งที่ต้องการมากกว่านั้น ซึ่งบรรทัดฐานทางตลาดที่โฟกัสตัวเงินและผลประโยชน์จะไม่ตอบโจทย์
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรู้สึก ความสัมพันธ์ ความภูมิใจในตัวเอง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องและเหมาะสมกับบรรทัดฐานทางสังคมมากกว่า
เช่น การให้เงินหรือโบนัสในการจูงใจ จะเพิ่มแรงจูงใจได้ไม่มากหรือไม่นานนัก เมื่อถึงจุดหนึ่งเรื่องเงินจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญในการจูงใจอีกต่อไป
ดังนั้นจงทำความเข้าใจสิ่งที่อีกฝ่ายต้องการให้ดีก่อน แล้วดูว่าเราจะตอบสนองยังไง จะโฟกัสที่เรื่องเงินหรือเรื่องความรู้สึกดีนะครับ
.
2️⃣ บางครั้งคนเราก็ไม่ได้"ต้องการสิ่งตอบแทนเสมอไป"
เมื่อเป็นเรื่องของบรรทัดฐานทางสังคมที่โฟกัสในความสัมพันธ์ หรือการทำบางสิ่งออกมาจากใจจริงด้วยตัวเอง คนเราก็อาจจะไม่ได้ต้องการสิ่งตอบแทนเสมอไป
เช่น การลุกขึ้นมาทำกับข้าวให้คนที่เรารักกินก่อนไปทำงาน คนที่ทำกับข้าวก็ได้ความสุขใจ และไม่ได้ผลประโยชน์อะไรคืนกลับมาในทันที แต่เขาก็เต็มใจทำ
และการที่เอาเงินหรือผลประโยชน์ไปให้อาจจะส่งผลเสียและทำร้ายความสัมพันธ์กับความรู้สึกดีๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างกันได้ เพราะมันจะกลายเป็นเรื่องของผลประโยชน์และผลตอบแทนแล้วนั่นเอง
.
3️⃣ จงทำให้คนเต็มใจที่จะทำด้วยตัวเอง"มากกว่า
จะบังคับ"🫂
การที่คนๆหนึ่งจะทำอะไรออกมาได้ดีและมีคุณภาพสูงสุด คนๆนั้นจะต้องเต็มใจที่จะทำสิ่งนั้นด้วยตัวเองจากใจจริง มากกว่าจะถูกบังคับให้ทำโดยปัจจัยภายนอก
เช่น คำสั่งว่าจะต้องทำ รางวัลที่จะได้จากการลงมือทำหรือบทลงโทษที่จะได้จากการไม่ลงมือทำสิ่งนั้น
หรือเหมือนกับที่เดล คาร์เนกี้ ตำนานไลพ์โค้ชชาวอเมริกาได้เล่าไว้ว่า มีพ่อคนหนึ่งอยากให้ลูกตัวเองกินข้าวมากขึ้น เพราะลูกตัวเล็กมากเกินไป แต่ลูกก็ไม่เต็มใจกิน
จนพ่อรู้ว่าลูกตัวเองถูกรังแกโดยเด็กผู้ชายที่ตัวใหญ่กว่า ทำให้เขาเอาจุดนี้มากระตุ้นว่า
ถ้าลูกของเขากินเยอะมากพอก็จะตัวใหญ่และสู้กับเด็กที่มารังแกได้ จนลูกเขาเต็มใจที่จะกินมากขึ้น เป็นต้น
ดังนั้นจงมองหาเหตุผลและกระตุ้นให้คนๆนั้นเกิดความรู้สึกต้องการทำขึ้นมาจากใจ แล้วเขาจะมีความสุข จนลงมือทำสิ่งนั้นออกมาได้ดีนั่นเอง
.
4️⃣หลีกเลี่ยงการเอาผลประโยชน์"มารวมกับความรู้สึก"
หลายครั้งที่เราเผลอเอาเรื่องตัวเลขหรือผลประโยชน์มารวมกับความรู้สึกและความสัมพันธ์จนมันทำร้ายสิ่งดีๆที่ทั้งสองฝ่ายต่างร่วมกันสร้างขึ้นมา
เช่น การเอาแต่คิดและหมกมุ่นว่า ทำไมเราต้องจ่ายมากกว่าแฟนของเราด้วยและยืนยันให้เขาต้องจ่าย ทั้งที่มันเป็นเงินแค่หลักสิบบาท จนทะเลาะกันและเป็นเรื่องใหญ่โต
ในบรรทัดฐานทางสังคม ความสัมพันธ์และความรู้สึก การที่เราไม่ได้สิ่งตอบแทนหรือผลประโยชน์คืนกลับมาแบบเท่าเทียมเป็นเรื่องปกติ
เพราะถ้าโฟกัสให้ได้สิ่งตอบแทนเท่าเทียมกันทุกอย่าง มันจะกลายเป็นมาตรฐานทางตลาดและทำให้คนเราเห็นใจกันและกันน้อยลง
ดังนั้นถ้ามันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรมากนัก ก็ให้ปล่อยวางบ้าง อย่าจดจ่อกับผลประโยชน์จนลืมความสัมพันธ์และความรู้สึกดีๆระหว่างกันนะครับ
.
ใครที่อยากมี Community ดีๆที่ทำให้เราเติบโตขึ้นเสมอและอยากเรียนรู้เรื่องการเงิน
ผ่านคลาสเรียนเรื่องเงินฟรีและการเล่นเกมกระแสเงินสด สามารถกดลิงค์ใน Comment ได้เลยนะครับ
นี่เป็นแค่ส่วนเล็กๆจากความรู้ในหนังสือที่ผมได้ตกผลึกมาเท่านั้น ถ้าอยากได้ความรู้แบบจัดเต็ม ลองซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านกันได้นะครับ
.
ถ้าท่านอ่านมาถึงตรงนี้ ผมขอบคุณผู้อ่านทุกๆท่าน ที่เสียสละเวลามีค่าของท่านมาอ่านบทความนี้ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์และช่วยทำให้ชีวิตของท่านดีขึ้นนะครับ
ถ้าท่านใดมีคำติชมหรือความเห็นก็สามารถ Comment ไว้ได้เลยนะครับเราจะได้เรียนรู้มุมมองใหม่ๆไปด้วยกันนะครับ
พิกัดหนังสือ: https://s.shopee.co.th/8zpRfL4hne
#หนังสือน่าอ่าน #เรื่องน่ารู้ #นิสัย #อ่านใจคน #จิตวิทยา #เรียนรู้วันละเรื่อง #book
โฆษณา