4 ก.พ. เวลา 11:00 • การศึกษา

## Episode104: Nerve supply in upper extremity#4

Anatomy and Function of Radial nerve ##
เส้นประสาท radial nerve เป็นเส้นประสาทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในแขน มีต้นกำเนิดมาจากส่วนของ posterior cord(C5-T1) ของ brachial plexus ในบทความนี้ผมจะพูดถึงการเดินทางของเส้นประสาท รวมถึงหน้าที่การทำงานที่สำคัญของ radial nerve กันครับ
Radial nerve เริ่มต้นจาก posterior cord ของ brachial plexus บริเวณ axilla โดยจะวางตัวอยู่ posterior ต่อ axillary artery จากนั้นจะเดินทางลงมาตามด้านหลังของต้นแขน โดยจะผ่านเข้าสู่ช่องที่เรียกว่า "radial(spiral) groove" ซึ่งเป็นร่องที่อยู่ด้านหลังของ humerus
ในช่วงที่ผ่าน radial groove เส้นประสาทจะวางตัวในแนวเฉียงจากด้านใน ไปด้านนอก โดยจะแทรกผ่านระหว่าง lateral head กับ medial head ของกล้ามเนื้อ triceps brachii ตำแหน่งนี้เป็นจุดที่เส้นประสาทมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย โดยเฉพาะในกรณีที่มีการกดทับเป็นเวลานาน หรือมีการหักของกระดูก humerus ครับ
ระหว่างที่เดินทางลงมาตามต้นแขน radial nerve จะให้แขนงประสาทไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหลายตัวด้วยกัน ได้แก่
- Long head, lateral head และ medial head ของ triceps brachii
- Anconeus
- Brachialis(lateral part)
- Brachioradialis
เมื่อผ่านมาถึงบริเวณข้อศอก radial nerve จะแยกออกเป็น 2 แขนงหลักคือ
- Superficial branch ที่เดินทางลงมาตามแนวของกล้ามเนื้อ brachioradialis เพื่อรับความรู้สึกของผิวหนังบริเวณหลังมือด้าน radial
- Deep branch(posterior interosseous nerve) ที่แยกเข้าไปในชั้นลึก โดยจะเจาะผ่าน supinator muscle เพื่อไปเลี้ยงกล้ามเนื้อด้านหลังของปลายแขนทั้งหมด
Deep branch หรือ posterior interosseous nerve จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อด้านหลังของปลายแขนทั้งหมด ได้แก่
- Supinator
- Extensor carpi radialis brevis
- Extensor digitorum communis
- Extensor digiti minimi
- Extensor carpi ulnaris
- Abductor pollicis longus
- Extensor pollicis brevis
- Extensor pollicis longus
- Extensor indicis
หน้าที่หลักๆของ radial nerve คือการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เหยียดข้อศอก เหยียดข้อมือ และเหยียดนิ้วมือทั้งหมด รวมถึงการควบคุมการเคลื่อนไหวของนิ้วหัวแม่มือ โดยเฉพาะการเหยียดและกางนิ้วหัวแม่มือ
.
นอกจากนี้ radial nerve ยังรับความรู้สึกของผิวหนังบริเวณด้านหลังของต้นแขน ปลายแขน และหลังมือในส่วนของ radial 3½ digits(นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งด้านนอกของนิ้วนาง) ยกเว้นปลายนิ้วที่จะถูกเลี้ยงด้วย median nerve ครับ
การที่ radial nerve ควบคุมกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เหยียดข้อมือและนิ้วมือทั้งหมด ทำให้มีความสำคัญต่อการทำงานของมือในชีวิตประจำวัน เพราะการเหยียดข้อมือที่ดีจะช่วยให้กล้ามเนื้อที่งอนิ้วมือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ(tenodesis effect) ส่งผลให้การหยิบจับวัตถุทำได้ดีขึ้นครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
_PhysioUpskill_
#Physioupskill
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่ https://physioupskill.com/บทความ/ หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่ https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/ ได้เลยครับ
Ref.
Neumann, D. A. (2017). Kinesiology of the musculoskeletal system: Foundations for Rehabilitation. Mosby.
Drake, R., Vogl, A. W., & Mitchell, A. W. M. (2019). Gray's Anatomy for Students.
Moore, K. L., Dalley, A. F., & Agur, A. M. R. (2018). Clinically Oriented Anatomy. Wolters Kluwer.
Netter, F. H. (2018). Atlas of Human Anatomy (7th ed.). Elsevier.
Gilroy, A. M., MacPherson, B. R., & Ross, L. M. (2020). Atlas of Anatomy (4th ed.). Thieme.
โฆษณา