12 ม.ค. เวลา 00:16 • หุ้น & เศรษฐกิจ

การคิดภาษี มี 2 แบบ แบบขั้นบันได และ แบบเหมา 0.5% แล้วเรากรอกเพื่อคิดตรงไหน ต้องคิดหรือยื่นแบบไหน

การคิดภาษีบุคคลธรรมดา จะมี 2 แบบ คือ คำนวณจากเงินได้สุทธิ (แบบขั้นบันได) และ คำนวณจากเงินได้พึงประเมิน(แบเหหมา 0.5%) ในการคำนวณภาษีจะเป็น 2 แบบนี้ โดยที่ถ้าแบบไหนเสียมากกว่า ก็ต้องยื่นแบบนั้น
การคิดภาษีแบบขั้นบันได จะเป็นแบบที่เราคุ้นเคย คือ หาเงินได้สุทธิก่อน ซึ่งคิดจาก รายได้ หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน ออกมาเป็นเงินได้สุทธิ แล้วนำไปเข้าตารางอัตราภาษีซึ่งจะเป็นแบบขั้นบันได
ส่วนการคิดภาษีแบบเหมา คิดอัตรา 0.5% จากรายได้เลย จะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อ มีรายได้อื่นที่ไม่ใช่ 40(1) และคำนวณแบบเหมาแล้วค่าภาษีตั้งแต่ 5,000 บ. ขึ้นไป
ก็คือ ต้องมี รายได้อื่นที่ “ไม่ใช่ 40(1)” ตั้งแต่ 1,000,000 บ. ขึ้นไป นั่นเอง เพราะ 1,000,000 บ. X 0.005 = 5,000 บ. (ถ้าคิดภาษีแบบเหมานี้ง่ายๆ ก็คือ เสียล้านละ 5,000 บ.) และคิดออกมาแล้วแบบหมาเสียมากกว่า แบบขั้นบันได ถึงจะใช้วิธีคิดแบบเหมา
ตรงนี้ไม่ต้องกังวลว่าต้องกรอกตรงไหนยังไง เราก็แค่กรอกรายได้ การหักค่าใช้จ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เลขที่ผู้เสียภาษีของคนที่จ่ายเงินเรา และค่าลดหย่อนของเราตามปกติ แล้วระบบก็จะคิดออกมาให้ ว่า การคำนวณภาษีเป็นแบบไหน ตรงหัวข้อ “ตรวจสอบข้อมูล” แล้วกดตรง “การคำนวณภาษี” >> “ดูวิธีคำนวณ” ระบจะแสดงว่าต้องคิดแบบไหน
ลองมาดูตัวอย่างกัน ในตัวอย่างเป็นการยื่นภาษีครึ่งปี โดยแพทย์มีรายได้ 40(6) รายได้จากการประกอบโรคศิลปะ รายได้ 40(6) จะสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ซึ่งไม่ต้องแสดงหลักฐานการหักค่าใช้จ่าย หรือสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง ซึ่งต้องแจกแจงและแสดงหลักฐานเพิ่มเติม
โดยทั่วไปแพทย์ที่ตรวจเอกชน จะไม่มีหลักฐานค่าใช้จ่ายตามจริง เลือกใช้การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ของรายได้ 40(6) แต่ถ้าแพทย์ที่เป็นเจ้าของคลินิก ก็จะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง ซึ่งมักจะหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
ลองมากรอกกัน มีรายได้ 40(6) 2,400,000 บ. เลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% และมีค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บ. มีค่าลดหย่อน RMF 300,000 บ. (ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บ. ทุกคนได้ ระบบจะขึ้นไว้ให้อัตโนมัติ) พอไปหน้าตรวจสอบข้อมูล ก็กดตรง ดูวิธีคำนวณภาษี ก็จะเห็นว่า เสียแบบขั้นบันได
เงินได้สุทธิ = เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน
เงินได้สุทธิ = 2,4000,000 – (2,400,00x60%) – 60,000 – 300,000 = 600,000 บ. และนำ 600,000 ไปเข้าตารางอัตราภาษี ออกมาเสียภาษี 42,500 บ. ซึ่งต้องยื่นแบบนี้ เพราะถ้าเป็นแบบเหมาจะเสียภาษีแค่ 12,000 บ. (2,400,000 x 0.5%)
ถ้าเป็นเจ้าของคลินิก รายได้ 2,400,000 บ. และเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง มีค่าใช้จ่าย 1,800,000 บ. (ค่าใช้จ่ายตามจริง ต้องหักตามจริงที่มีหลักฐาน และมีค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บ. มีค่าลดหย่อน RMF 300,000 บ. จะเห็นว่ามีรายได้ที่ไม่ใช่ 40(1) 1,000,000 บ. ขึ้นไป และหักค่าใช้จ่ายได้มาก จึงทำให้ระบบคำนวณภาษีแบบเหมา และออกมาเป็นการคิดภาษีแบบเหมา เนื่องจากเสียภาษีมากกว่า คือ 12,000 บ.
ถ้าเป็นแบบขั้นบันได เงินได้สุทธิ = 2,400,000 -1,800,000 – 60,000 – 300,000 = 240,000 บ. ซึ่งจะเสียภาษี 4,500 บ.
คิดจาก 150,000 บ. แรก ไม่เสีย
ช่วงมากกว่า 150,000 -300,000 เสีย 5% อยู่ในช่วงนี้ 90,000 x 5% = 4,500 บ.
การคิดภาษีใน 2 วิธีนี้ เราก็กรอกรายได้ ค่าใช้จ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เลขที่ผู้เสียภาษีของคนที่จ่ายเงินเราตามปกติ ระบบจะคิดออกมาให้เองอัตโนมัติว่า เสียยแบบไหนมากกว่า ต้องยื่นแบบนั้น
#หมอยุ่งอยากมีเวลา #อัตราภาษี #ภาษี #เสียภาษี #คิดภาษี #คำนวณภาษี #ค่าลดหย่อน #ค่าใช้จ่าย
โฆษณา