31 ม.ค. เวลา 01:31 • สิ่งแวดล้อม

31 มกราคม วันม้าลายสากล

International Zebra Day - 31 January
ม้าลายส่วนใหญ่พบในพื้นที่กึ่งทะเลทรายและพื้นที่เนินเขาของทวีปแอฟริกา
ลวดลายแถบสีขาวดำอันเป็นเอกลักษณ์ ที่ไม่เหมือนกันเลยแม้แต่ตัวเดียวของม้าลายนั้น อาจมีความน่าสนใจมากกว่าที่เราคิดก็เป็นได้
วันนี้แอดจึงขอนำเสนอประโยชน์ลวดลายบนตัวม้าลาย จากการตั้งสมมติฐานความเป็นไปได้จากนักชีววิทยาและนักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 ทฤษฎี ดังนี้
ภาพโดย G.C. จาก Pixabay
1. ม้าลายจดจำลายบนตัวแทนใบหน้า
ม้าลายเป็นสัตว์สังคม ดังนั้นการจดจำสมาชิกในฝูงขนาดใหญ่ ส่วนหนึ่งจะใช้การจดจำลายตามตัว เนื่องจากม้าลายแต่ละตัวจะมีลายแตกต่างกันอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น
ภาพโดย Belinda Cave จาก Pixabay
2. ช่วยพรางตัวจากผู้ล่า
ลวดลายบนตัวจะช่วยให้พวกมันดูกลมกลืนกันไปหมด จนแยกไม่ออกว่าตัวไหนเป็นตัวไหน ยิ่งเมื่อม้าลายได้ทำการเคลื่อนไหว จะทำให้สัตว์ผู้ล่าโฟกัสและกะระยะโจมตีได้ยากขึ้น
ภาพโดย Hilde Swets จาก Pixabay
3. อุปสรรคของแมลงดูดเลือด
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการทดลองกับพื้นผิวที่มีลายแบบของม้าลายด้วยความกว้างของลายที่แตกต่างกัน จนพบว่าแมลงที่มาดูดเลือดสัตว์มักจะไม่ชอบพื้นผิวที่เป็นแถบสีสลับกัน แต่พวกมันจะชอบเกาะตามพื้นผิวสีเข้มหรือสีอ่อนเพียงอย่างเดียวมากกว่า ลายแถบดำขาวจึงทำให้แมลงตาพร่าไม่สามารถลงเกาะที่พื้นผิวของม้าลายได้
ภาพโดย seth0s จาก Pixabay
แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ว่าแถบขาวดำบนตัวม้าลายนั้นมีไว้เพื่ออะไร แต่สิ่งที่มนุษย์เรารู้ได้อย่างชัดเจน คือ ถิ่นที่อยู่อาศัยของมท้าลายถูกคุกคามหนักขึ้นทุกปีจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ลดน้อยลง และการพัฒนาของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น
วันม้าลายสากล จัดขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์และกระตุ้นให้พวกเราทำสิ่งที่พอจะทำได้เพื่อช่วยในการอนุรักษ์ร่วมกัน
ที่มา
โฆษณา