13 ม.ค. เวลา 12:33

ไม่สำคัญที่คำถาม

ไม่สำคัญที่คำตอบ
สำคัญที่มันทำให้เราได้คิดไหม
Nopadol’s Story
Book Club Season 4 EP 1 🥰
[#BennOte Part 2 of 2]
บุ้คคลับอาจารย์นภดลมี่ session เจ๋ง ๆ จากโค้ชเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย โค้ชผู้บริหารท่านแรกของประเทศไทยค่ะ อาจารย์นภดลเชิญท่านมาเปิด season ใหม่ของบุ้คคลับเพราะท่านออกหนังสือเล่มใหม่พอดีเลย เล่มนี้เป็นคู่มือผู้นำชื่อ “Leadership Mentor” ค่ะ แจ่มที่สุดดดด งานนี้นอกจากจะได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือแล้ว โค้ชเกรียงศักดิ์ ยังตอบคำถามฉ่ำไปเลย นี่ถ้าเวลาไม่หมดน่าจะรวบรวมเป็นหนังสือได้อีกเล่มเลยค่ะ 555
มาค่ะตามเบ็นโน้ตมาฟัง tips ดี ๆ ในการบริหารคนกัน
===============
About the Book
===============
โค้ชเล่าเรื่องราวก่อนจะมาเป็นเล่มนี้ให้ฟังค่ะ
1. โค้ชเป็นคนพูดไม่เก่ง แต่ฟัง ถาม สังเกต เขียน และอ่านเก่ง (นี่สินะคุณสมบัติของโค้ชที่ดี 😊)
2. ที่มาของหนังสือ
- โค้ชเขียนบทความ เสิร์ฟอาหารสมองในเพจ The Coach (เดี๋ยวแปะ link ให้ในเม้นท์นะคะ)
- content ในเพจของท่านก็มาจากที่ท่านไปโค้ชไปเมนเทอร์ให้กับผู้บริหารหลากหลายองค์กร
- แรก ๆ content จึงมีความหลากหลายมาก ตามแต่ปัญหาที่โค้ชไปพบมาจริง ๆ
- 5 ปีผ่านไปเริ่มเห็น pattern
- โค้ชจึงส่งบทความที่เขียน ๆ ไว้ไปให้ เวลามี mentee มาถาม
- Mentee มักจะขออนุญาตแชร์ต่อ
- โค้ชจึงรวบรวมทำเป็น e-book แจกฟรี
- จากนั้นมีคนมาชวนออกหนังสือ เล่ม 1 (Coaching by Story) และเล่มนี้เป็นเล่มที่ 2
3. เรียกได้ว่าหนังสือของโค้ชเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญ content ทั้งหมดจะ related กับคนที่ทำงานกับคน เหมาะสำหรับการใช้เป็น manual ข้างกาย ให้หยิบมาใช้เวลาเกิดปัญหาที่ต้องการแก้ได้
4. โครงสร้างหนังสือ >> เล่มนี้แบ่งเป็น 3 ส่วนค่ะ Framework, Mindset, Action
- (Framework) ของผู้นำคือ >> ฝัน วางแผนว่าจะไปถึงฝันได้อย่างไร ทำตามแผน แก้ปัญหาเวลามันไม่เป็นไปตามแผน ซึ่งทั้ง 4 ขั้นตอนนั้นต้องใช้ people skills หนักมาก
- (Mindset) มี 12 principle … ผู้นำคือคนที่ทำงานผ่านคนอื่น ต้องมี mindset ที่ดีที่ถูกต้องกำกับ
- (Action) >> หรือ duties นั่นเองค่ะ ซึ่งก็คือการสื่ิอสาร vision, change, inspire and lead ทีม ... part นี้จะเป็น case studies เพื่อให้เราหยิบไปประยุกต์ใช้ได้ ทั้งหมด 60 เคสกันเลยทีเดียว 😊
- บทพิเศษสำหรับมนุษย์ยุค AI โค้ชมีแนะแนวทางให้เรานำเนื้อหาในหนรังสือไปลองใช้ต่อยอกับ AI ด้วยค่ะ
5. หนังสือเหมาะกับคนใน High Performance Organization (HPO), knowledge worker, HPO to be, general reader คนทั่ว ๆ ไปอาจจะต้องเลือกและนำไปปรับมากหน่อยนะคะ เพราะโค้ชเขียนจากเคสของ HPO ค่ะ
วิธีการใช้งานหนังสือเล่มนี้
- อ่าน
- choose (ที่ใช่ ที่ชอบ)
- act (นำไปใช้)
- learn more with AI
===============
Question for the CLUB
===============
🔵 (พี่กิต) ผู้บริหารไทยต่างจากผู้บริหารต่างชาติอย่างไร
😊 (โค้ชเกรียงศักดิ์)
เรามีความเป็นพี่เป็นน้องสูง ซึ่งเป็นข้อเด่นของเรา ใช้ให้ดี ใช้ให้เป็นก็ทำให้องค์กรไปด้วยกันได้ไกล แต่ทั้งนี้จะดีมากน้อยเฃร็วช้าก็ขึ้นอยู่ที่บริบทของแต่ละองค์กรด้วย
ตัวอย่างเช่น SCG คุณกานต์ ตระกูลฮุน ใช้ความเป็นพี่เป็นน้องมาละลายช่องว่างระหว่างผู้บริหารและพนักงาน เปลี่ยนจากคุณกานต์เป็นพี่กานต์ ใจ mindset บรรยากาศเปลี่ยนไป >> ทุกอย่างดีขึ้น ในขณะที่องค์กรมหาชนใหญ่อื่น ๆ เอาไปใช้อาจจะไม่ได้ผลเท่า (การเปลี่ยนแปลงไม่เร็วเท่า) เพราะยังมี hierarchy เยอะ การจะเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรที่ฝังมานานต้องใช้เวลา
#ถ้าใช้เป็นจะได้ใจคนง่ายกว่า
เพราะคนไทยมีความอาวุโส ชอบคนอ่อนน้อม คุยกันแบบพี่น้องให้เกียรติกัน การใช้ความตะวันตกมาก ๆ อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกว่า “ปีนเกลียว” ได้ มันอาจไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ แต่มันก็ทำให้การทำงานไม่ลื่นเท่าที่ควรได้
--------------------
🔵 (ไนท์) เวลาผู้บริหาร approach หรือทักทายเรา เราควรบริหารโอกาสอย่างไร (จะทักทายกลับเฉย ๆ หรือควรพุ่งเข้าใส่ บอกปัญหาที่เรามีใด ๆ ขอความช่วยเหลือกันไปเลย ... ควร response ที่เว่ลไหน)
😊 (โค้ชเกรียงศักดิ์)
สังเกต … ว่าสิ่งที่เค้าพูดกับสิ่งที่เค้าทำตรงกันไหม ถ้าเค้าบอกว่ามาเลย ประตูห้องพี่เปิดเสมอ เราจะใช้ open door policy แต่ไปหาก็หน้าบึ้ง หรือไม่เคยอยู่ที่ห้องเลย ก็นะ … สังเกตนายเรา แล้วเราจะรู้ว่าเราควรทำอย่างไร
โค้ชเกรียงศักดิ์ยกตัวอย่าง คุณสมชาย แห่ง The Premier ท่านยุ่งมาก ๆ แต่ท่านก็เป็นผู้บริหารท่านหนึ่งที่ใช้นโยบาย open door policy เวลาลูกน้องเดประตูเข้ามาแล้วถามว่ายุ่งไหม ... คือยุ่งอยู่แหละ เป็นเราเราจะตอบว่าไงดีคะ ...
ยุ่ง ... หรือ ... ไม่ยุ่ง
คุณสมชายตอบแบบนี้ค่ะ
“ยุ่งแต่มีเวลาให้คุณ”
โหว ... ได้ใจ แบบนี้ลูกน้องรักตายเลยใช่ไหมคะ ในฐานะผู้บริหารหรือผู้นำ เราต้องสื่อสารให้ทัชใจคนให้ได้แบบนี้ด้วยค่ะ 😊
--------------------
🔵 (คุณโจ) จากประสบการณ์ที่โค้ชผู้บริหารมาเยอะ คำถามยอดฮิตของผู้บริหารคืออะไร แล้วโค้ชมีคำตอบหลัก ๆ ไหม หรือต้อง tailor-made ทุกครั้ง
 
😊 (โค้ชเกรียงศักดิ์)
คำถามประจำคือ ...
“จุดอ่อนที่ควรปรับปรุง”
แต่พอบอกปั๊บ
สิ่งที่ได้กลับมาประจำก็คือ ...
เถียง 555
ดังนั้นพอโค้ชผ่านประสบการณ์มาเยอะ ๆ โค้ชจะไม่ตอบค่ะ 🤣🤣🤣 วิธีที่จะทำให้คนรู้จุดอ่อน เราต้องไม่ถามหรือคุยเรื่องจุดอ่อน เพราะส่วนใหญ่ถ้าถาม คนตอบจะ sugar-coated / cosmetic ใส่เรา (คือตอบจุดด้อยที่กลายเป็นข้อดีเก๋ ๆ ตามที่เคยได้ถูกเทรนมา 555 ... เป็นคนละเอียดเกินไป เพื่อนเลยทำงานด้วยยาก ไรงี้)
คำถามล้วงจุดอ่อนคือ ...
“อะไรคือเรื่องที่คนเข้าใจผิดบ่อย ๆ เกี่ยวกับเรา”
โค้ชลองใช้คำถามนี้กับตัวเอง คำตอบคือคนคิดว่าโค้ชเป็นคนเครียด แต่ตัวโค้ชคิดว่าตัวเองเป็นคนกันเอง ... นั่นแหละค่ะปัญหา >> เราคิดกะคนอื่นมองไม่เหมือนกัน จุดอ่อนคือเราไม่รู้ว่าคนอื่นคิดว่าเครียด
ถามแล้วจงฟัง … และเอามาปรับ
ใด ๆ คือพอเราชวนใหเค้าคิดไปเรื่อย ๆ แล้วสุดท้ายเค้าเถียง ไม่ยอมรับ >> ไม่ต้องไปต่อ อย่าไปเถียงกับเค้า เค้าก็ตั้งการ์ดเปล่า ๆ เดี๋ยวค่อย ๆ อ้อมมาทางอื่นก็ได้
--------------------
🔵 (ลูกปัด) โค้ชแล้วเจอคน ego สูง ๆ ทำไง
😊 (โค้ชเกรียงศักดิ์)
ปกติโค้ชจะไม่ค่อยเจอในขั้นตอนการทำงาน เพราะก่อนรับงานจะมีการทำ chemistry check ก่อน (เป็นการนัดคุยกันเบา ๆ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง) ถ้าเคมีไม่ตรงก็ไม่ไปด้วยกัน คือถ้า ego สูง ไม่เชื่อมั่นเรา ก็ไม่รู้จะไปด้วยกันทำไมอ่ะเนาะ
แต่ถ้าคุย ๆ แล้วลองเช็คอุณหภูมิแล้วไปด้วยกันได้ ก็โอเค
โค้ชเล่าถึงผู้บริหารท่านนึงที่กวนมาก เกรียนมากแบบขึ้นชื่อ คุย ๆ ไปโค้ชบอกท่านว่า “ท่านเป็นคนแปลกเนาะ ตั้งแต่คุยมารู้สึกว่าไม่ positive เลย พูดอะไรท่านก็ไม่ชอบ ไม่รู้ว่าท่านมาถึงตรงนี้ มาเป็น next to C-level ได้ไง (อ่า ... เจ็บ 555)
คือโค้ชคงพูดตรง ๆ ภ้าไปกันได้ก็ไป ไปไม่ได้ท่านจะได้ทราบว่าทำไมไปต่อกันไม่ได้น่ะแหละนะคะ โค้ชเองก็คิดว่าไม่ได้งานแหละ แต่ปรากฏว่าตรงใจ ผู้บริหารท่านชอบ บอกว่าภรรยาและใคร ๆ รอบ ๆ ตัวก็พูดแบบนี้ ท่านคงอยากมีคนช่วยให้ไปต่อได้ ... ก็เลยไปกันต่อได้ (มีคนมาช่วยสะท้อน ego) >> ตอนนี้ผู้บริหารท่านนี้กลายมาเป็นกัลยานมิตรกัน 😊
 
โค้ชสอนเราว่า
- คน ego สูงไม่ผิด ไม่มีใครเคยบอกเค้า
- ถ้ามีใครมาบอกเราตรง ๆ ให้ยินดีนะ นั่นคือของขวัญสูงสุด นั่นคือสิ่งที่กัลยานมิตรจะทำให้กัน
แล้วถ้าเป็นคนที่เราต้องดูแล เป็นน้องในทีม ถ้าเค้าไม่ยอมรับว่าเค้ามีจุดอ่อน มีข้อเสียที่เรามองเห็นเราจะจัดการกับเค้าต่อยังไง?
โค้ชแนะนำให้ทำ 360 องศาค่ะทุกคน (ถามเพื่อนร่วมงาน / ลูกน้องของเค้าด้วย) เพื่อไม่ให้เป็น bias ของเราคนเดียว แต่เวลาถามหรือคุยให้เน้นไปเรื่อง behavior ที่มี impact นะคะ … อย่าบอกว่า ego สูงนะแกเนี่ย นั่นมันคือสิ่งบที่เราคิด เป็น subjective ค่ะ ... ให้บอกว่าคนอื่นทำงานกะน้องยาก ใช้เวลาเยอะ ลองมาคุยกันไหมว่ามันติดตรงไหน จะแก้ยังไงกันดี ... อะไรประมาณนี้ค่ะ
*ส่วนใหญ่คน ego สูงจะ
ไปถึงจุดที่ ego เป็นอุปสรรค
ถ้าไม่วาง ไม่เปลี่ยนก็ไปต่อไม่ได้
--------------------
🔵 (คุณนัท) อะไรทำให้ Leader ไปต่อไม่ได้ มีปัญหา integrity หรือปัญหาในองค์กรตามมา
😊 (โค้ชเกรียงศักดิ์)
ผู้บริหารเราฟังไม่เก่ง เลือกฟัง แล้วคนไทยมักจะไม่ค่อยบอก leader ด้วยว่าคิดผิด เค้าเลยคิดว่าเค้าถูก แต่ใด ๆ ถ้าไม่ใช่หน้าที่เรา เราก็อย่าไปบอกเขานะ ดูด้วยว่าใช่เรื่องไหม สำหรับผู้บริหารจะมีคนที่กำกับดูแลอยู่แล้ว ถ้าเป็น C-level บอร์ดก็จะบอกได้ เพราะตอนเข้ามามี assessments ระบุอยู่ว่าต้องทำอะไร อันไหนขาดไปบอร์ดก็จะจัดการเอง
--------------------
🔵 (ไนท์) C-level ที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองขาดอะไร ควรทำไง
😊 (โค้ชเกรียงศักดิ์)
เรื่ิองนี้จะเรียกว่าเป็นปัญหาก็ได้ หรือ ปกติก็ได้ แต่ใด ๆ ให้เราคิดก่อนนะคะว่า หน้าที่ C-level คือ exercise judgement มนุษย์ทุกคนก็ตัดสินใจถูกบ้างผิดบ้างเป็นธรรมชาติ ก่อนคิดว่าผู้บริหารผิด ให้คิดก่อนว่า “เราจะถูกกว่าเค้าจริงเหรอ”
เรื่องของการตัดสินใจ #ใครตัดสินใจคนนั้นก็รับผิดชอบ … เรื่องดุลยพินิจมันยากที่เราจะตัดสินคนอื่น ตามงานวิจัยบอกว่ามีโอกาส 70% เลยนะคะที่ดุลยพินิจของเราต่อคนอื่นมักจะผิด หน้าที่เราคือรับผิดชอบส่วนของเรา ฝึก sharpen our decision … ถ้าเราถูก 50% ตลอดเวลา เราคือ superhero แล้วนะ
ปกติชีวิตไม่มีถูก 100% มันก็มีผิดหน่อย ๆ เป็นเรื่องธรรมชาติ ต่อให้เราตัดสินใจถูกมันก็อาจจะผิดอยู่ดี เพราะโลกนี้มีเรื่องที่เรา control ไม่ได้มากมายเต็มไปหมด ขับรถยัง control เวลาไม่ได้เลย หรือบางทีเวลาจะได้แล้ว ดั๊นมีคนขับช้า เราก็ control คันอื่นไม่ได้!!! นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องลงมือทำ เพราะ ...
#แผนส่วนใหญ่จะเปลี่ยนเมื่อเราเริ่มปฏิบัติ
เราจึงต้องทำแล้วแก้ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ
#Tips
อย่าดู judgment คน
ให้ดูว่าเค้าา judge เรื่องเดิมผิดบ่อยขนาดไหน
ถ้าบ่อยมากก็อย่าให้ทำเรื่องนี้
-----------------------
🔵 (คุณปุ๊กปู่) ปกติแล้วการโค้ชมีผลกับการประเมินไหม ถ้ามีโค้ชบริหารยังไง
😊 (โค้ชเกรียงศักดิ์)
ที่จริงตามหลักคือการโค้ชไม่ควรมีผลกับการประเมิน แต่บริษัทส่วนใหญ่มักจะทำ โค้ชจึงต้องกลาง ๆ … รักษาระยะ
การที่โค้ชเกรียงศักดิ์ทำงานโค้ชจุดแข็งก็ทำให้ปัญหาเรื่องนี้น้อยลง โค้ชบอกว่าการให้โค้ชเป็น benchmark ว่าจะเอาออกหรือไม่เอาออก ไม่แฟร์กับทั้งผู้ได้รับการโค้ชและตัวโค้ชด้วย เพราะโค้ชมีโอกาสเจอกันกับพนักงานท่านนั้นเพียงแค่ angle เดียว ในระยะเวลาสั้น ๆ ดังนั้นถ้ามีองค์กรมาบอกว่าอยากให้ไปโค้ชคนที่อ่อนมาก ๆ คนนี้ถ้าไม่ใช่โค้ชเกรียงศักดิ์ก็เอาไม่อยู่แล้ว ดูจะมาอิงเราในการตัดสินคน บอกว่าถ้าเราเอาไม่อยู่จะ terminate ... แบบนี้โค้ชจะไม่รับ
-----------------------
🔵 (หยก) คนไทยไม่อวดดีทำให้หาจุดแข็งไม่เจอ ทำไงดี
😊 (โค้ชเกรียงศักดิ์)
เริ่มฝึกที่ตัวเองก่อน สังเกตตัวเอง
1. ทำแบบสอบถามเยอะ ๆ (หมายถึงความหลากหลายนะคะ ไม่ใช่จำนวนครั้ง 😊) ลองทำสัก 2-3 เครื่ิองมือเช่น MBTI, Strength Finder เราจะเห็น pattern เห็นจริตเรา
2. สังเกตว่างานอะไรที่เราพุ่งเข้าใส่ กระโจนเข้าไปทำก่อนเวลา deadline นานเลย เผลอเมื่อไหร่เป็นทำ นั่นคือสิ่งที่เราถนัด อาจเป็นจุดแข็งของเรา ส่วนอะไรที่เราผลัดไปเรื่อย นั่นคือจุดอ่อน
3. ดูว่าอะไรที่คนอื่นมักจะบอกเราหรือประหลาดใจว่าเราทำได้ดี
-----------------------
🔵 (ลูกปัด) วิธีโค้ชของอาจารย์คือการตั้งคำถาม เทคนิคการตั้งคำถามของอาจารย์คืออะไร
😊 (โค้ชเกรียงศักดิ์)
1. เราต้องเข้าใจว่าแต่ละคนต่างกัน เราจึงไม่สามารถเข้าใจคนอื่นอย่างถ่องแท้ ต้องรู้ว่าเราจะถามไปเพื่อะไร (context? เค้าต้องหารอะไร?) เราต้องชัดเจน ฟัง สังเกตุ ทวนก่อนว่าเข้าใจถูกไหม ชวนคิด
2. หลักการถามมีหลายสคูล ... อาจลองจาก grow model ของ Sir John Whitmore ดูก็ได้
o G = Goal: คำถามเกี่ยวกับเป้าหมาย ถามให้รู้ว่าผลลัพธ์ที่ต้องการจากการโค้ชคืออะไร
o R= Reality: คำถามที่เกี่ยวกับสถานการณ์/สภาวะในปัจจุบัน ถามให้รู้สภาพในปัจจุบัน เห็นอุปสรรค์ ข้อจำกัด ปัญหา ความกลัว ความต้องการ และอื่น ๆ ใด ๆ ของโค้ชชี
o O=Option: คำถามเพื่อค้นหาทางเลือก/โอกาส/วิธีการอะไรที่จะเป็นไปได้ ถามเพื่อท้าทาย หาแนวคิดนอกกรอบที่จะนำพาไปสู่เป้าหมาย
o W=Way Forward: คำถามถึงแนวทางที่จะลงมือทำ วางแผน และ action plan ที่จะตัดสินใจทำ
(พี่กิตกรุณาหา link สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมมาให้ด้วย ตามนี้นะคะ
3. ฝึกถามเยอะ ๆ สะสมคำถาม ลองผิดลองถูก ลองหาคำตอบ
โค้ชบอกว่าใช้หนังสือ Leadership Mentor ช่วยก็ได้นะคะ
#หลักการใช้งานหนังสือ
- ซืัออีกเล่มให้คนที่้เราจะ mentor / coach
- ปัญหาเวลาจะโค้ชกันมักจะเป็น >> ไม่รู้จะถามอะไร คุยอะไร ให้เตรียมมาก็ไม่เตรียม
- ให้กางหนังสือออกมาค่ะ แล้วเลือกคำถามจากหนังสือ เพื่อเอามาคุย 😊 >> เรื่องไหนเคยใช้แล้วได้ผล เรื่องที่คิดว่าจะนำไปใช้ เรื่องไหนที่มีคำถาม
- นำคำตอบมาแลกเปลี่ยนกัน
4. ประเด็นไม่ได้อยู่ที่คำถามหรือคำตอบ แต่อยู่ที่มันทำให้เราได้คิดไหม
-----------------------
🔵 (โอม) องค์กรที่ไม่เป็น HPO สาเหตุหลักมาจากอะไร
😊 (โค้ชเกรียงศักดิ์)
- ไม่รู้ว่ามีสิ่งนี้อยู่ในโลกนี้ >> บริษัทไทยเราจะกลายเป็น Zombie Company เยอะ ไม่ตายไม่โต เป็น walking dead >> ส่วนใหญ่ข้อนี้เกิดจากผู้บริหารไม่มีวิสัยทัศน์
- ไปไม่ถึง >> implement ไม่ได้ maximize ไม่ได้ เพราะ leadership ไม่คม ไม่เข้าใจเรื่อง culture (ซึ่งต้อง fit กับบริบท) เอามาแต่ระบบหรือทฤษฏีไม่เอา culture มาด้วย
-----------------------
🔵 (พี่กิต) ไทยควรทำไรให้พัฒนา
😊 (โค้ชเกรียงศักดิ์)
เปนคำถามที่ตอบยากมาก วันนี้โค้ชเองก็ถามตัวเองอยู่ว่าที่เราเป็นมันไม่ดีจริงเหรอ มันอาจจะเหมาะกับผู้คนของเราแล้วก็ได้ คือไม่ต้อง HPO อะไรเราก็ไปได้แบบไทย ๆ แหละ สบาย ๆ กันเอง เอื้ออาทร เราจะอยากไปแข่งกะ Singapore, Malaysia, Vietnam… ต้องถามตัวเองว่าสู้ทำไมก่อน เราจะสู้ได้เหรออาจมาทีหลัง?
โค้ชเองก็เคยคิดว่า เอ๊ะ หรือเราไม่ตื่นตัวเพียงพอ แต่เอาจริง ... เราก็มีเสน่ห์ของเรา ไม่เด่น ไม่ด้อย … ถึงเราจะขาด ambition for greatest-hood มันก็พอเพียง พอดีกับปัจจุบัน
แต่ว่าก็ว่านะ ... เราอาจจะแค่สบาย ๆ พอดี ๆ ของตัวเองคนเดียวไม่ได้ เพราะการไม่มีส่วนช่วยทำให้ประเทศดีขึ้นเลยมันก็เห็นแก่ตัว (คือถ้าทุกคนคิดแบบนี้หมดประเทศก็ไม่ไปไหน แล้วเราก็อาจจะหายจากทุกเรดาห์เนาะทุกคน) เราจึงต้องมองคนอื่นด้วย ช่วยเหลือคนอื่นด้วย เอาแบบที่เราเองไม่เดือดร้อนมาก ช่วย ๆ กันทำตัวให้ดี ให้เป็น role model 😊 >> share ให้มากขึ้น
เราไป benchmark กับคนอื่น
ชีวิตก็ยากนะ
เพราะ context ไม่เหมือนกัน
-----------------------
🔵 (เค) เราโค้ชตัวเองได้ไหม
😊 (โค้ชเกรียงศักดิ์)
ได้สิ โค้ชเองก็โค้ชตัวเองอยู่ตลอดเวลา อย่างเวลาจะมีงานอะไร โค้ชจะทำแบบนี้เสมอ
1. ไปก่อนเวลาเยอะ ๆ จะได้มีเวลา มีสติ reset ตัวเองก่อนไป engage กับ crucial conversations… อย่านัดหมายทำการใด ๆ แบบ back to back
2. คิดก่อนว่างานนี้ “เราอยากให้คนอื่นมองเรายังไง”
3. เราต้องมี mindset ยังไงคนอื่นถึงจะมองเราแบบนั้น
4. เราต้องทำอะไรคนอื่นถึงจะมองเราแบบนั้น
5. เช็คตัวเองเรื่อง ego … เราจะบริหาร ego เรายังไง
6. มีสติ reset ตัวเองก่อนเริ่ม engage กับ คนอื่น
==============
เป็น 1 ชั่วโมงที่มีคุณภาพและได้วัตรปฏิบัติมาใช้เพียบเลยนะคะ การได้พบโค้ชทุกครั้งเราต่างได้อะไรดี ๆ กลับมาเสมอ ขอบคุณโค้ชเกรียงศักดิ์มาก ๆ ที่กรุณาฉายแบบอย่างของการโค้ชให้เราดูผ่านบทสนทนาในวันนี้ ขอบคุณเพื่อน ๆ ที่ตั้งคำถามดี ๆ ทำให้เราได้เห็นตัวอย่างคำถามและได้แนวคิดเจ๋ง ๆ จากคำตอบ
ขอบคุณ อ.นภดลที่จัดสร้าง community ดี ๆ แบบนี้และเรียนเชิญเทพทั้งหลายมาให้เราได้เรียรู้อย่างใกล้ชิดค่ะ พิเศษสำหรับเดือนนี้ขอบพระคุณพี่โทนี่ที่กรุณาดำเนินรายการให้กับพวกเราในวันที่ อ.นภดลไร้เสียง 😊
พบกันใหม่เดือนหน้านะคะ เชื่อว่ามีมีเรื่องราวดี ๆ เจ๋ง ๆ มาฝากจากบุ้คคลับคุล ๆ แห่งนี้อีกแน่นอนค่ะ
อย่าลืมโค้ชตัวเองให้มีความสุขกันนะคะ
💖💖🥰🥰💖💖
#BennOte #bp_ben
#ClubSunday #NopadolsStory
#BookCub_Season5_EP1
#KnowledgeSharing
#BensGoodWords
#benji_is_drawing
#benji_is_learning
#inspirationalquotes
#perspectiveshift
โฆษณา