Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
I am Urban designer
•
ติดตาม
14 ม.ค. เวลา 03:15 • อสังหาริมทรัพย์
ทำไมถึงควรลงทุนออกแบบกายภาพใน "ย่านกลางเมือง" (Downtown)
การเดินทางมาซื้อของในย่านกลางเมืองโดยเฉพาะในประเทศไทย ค่อนข้างยากลำบากเนื่องด้วยประชาชนคนไทยโดยทั่วไปต้องอาศัยการขับรถยนต์ส่วนบุคคลมาจอดรถในย่าน หากทำผิดกฎอาจโดยล๊อคล้อ และการจอดรถก็มีระยะเวลาจำกัด ร้านรวงต่าง ๆ ในย่านค้าปลีกใจกลางเมืองมักอำนวยความสะดวกให้คนจอดรถข้างถนนตรงกับหน้าร้าน บางเมืองอาจไม่จำกัดระยะเวลาของการจอดโดยเฉพาะในวันธรรมดา
อาจเป็นเพราะสาเหตุว่าผู้ที่มาจอดส่วนใหญ่มักเป็นเจ้าของร้านค้าในย่านดังกล่าว จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ผู้ที่จะใช้บริการมักไม่ได้จอดรถเพื่อมาจับจ่ายซื้อของในร้านค้าปลีกเหล่านั้น แต่กลับต้องไปจอดรถที่อื่น ๆ แล้วเดินทางในระยะการเดินที่ไกลกว่าความสามารถในการเดินของคน คือ 400 เมตร (ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่ยอมรับทั่วโลก) ธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้ในย่านใจกลางเมืองส่วนมาก อาจมีเจ้าของดั้งเดิมเพียง 50% ที่เหลืออีก 50%
ภาพจาก : https://www.strongtowns.org/journal/2014
อาจเป็นบุคคลภายนอกที่มองเห็นโอกาสทางธุรกิจในการมาเช่าเพื่อทำธุรกิจขนาดเล็กแต่มีรายได้สูง ทำให้ผู้ที่เป็นเจ้าของอาคารโดยแท้จริงไม่ได้ประกอบกิจการแบบเดิมแล้วเนื่องจากธุรกิจการท่องเที่ยวที่โตเกินการควบคุมทำให้สภาพแวดล้อมแบบดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไป และความน่าอยู่ของย่านได้ลดน้อยถอยลงไป เหลือเพียงการประกอบกิจการธุรกิจขนาดเล็กที่ทำเงินเร็วมากกว่าการเติบโตแบบยั่งยืนในระยะยาว
ผลกระทบจาก "เมืองที่ต้องพึ่งพารถยนต์จะไม่เอื้อต่อธุรกิจขนาดเล็ก เพราะเมื่อขับรถ ต้องใช้เวลาและความพยายามในการชะลอความเร็ว เพื่อหาโอกาสในการจอดและเลี้ยว การหาที่จอดรถฟรี และการจอดรถที่ยากลำบากเพื่อการจราจรหนาแน่น จากนั้นเมื่อต้องกลับมาที่รถต้องหาจังหวะของช่องว่างเพื่อขอออกจากที่จอดรถเพื่อกลับเข้าสู่การจราจรบนถนน ซึ่งเป็นการเสียเวลาอย่างมากและไม่สะดวกอย่างยิ่ง" นี่คือสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญในมุมมองของผู้บริโภค
ข้อจำกัดของย่านค้าปลีกใจกลางเมืองเหล่านั้น ทำให้ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ประเภทอื่น ๆ มีข้อได้เปรียบสำคัญ เนื่องจากผู้บริโภคจอดรถเพียงครั้งเดียวแต่สามารถเลือกซื้อสิ่งของต่าง ๆ ได้ทั้งหมดในคราวเดียว
เมืองแบบดั้งเดิม หรือย่านแบบดั้งเดิม มีความน่าสนใจที่ผู้คนสามารถเดินผ่านร้านค้าต่าง ๆ หลากหลายร้านนับไม่ถ้วนในระยะเวลา 5 นาที และเดินกลับที่บ้านซึ่งสะดวกกว่าการออกไปห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ที่อยู่ชานเมือง สิ่งเหล่านี้ที่เกิดในประเทศไทยคล้ายคลึงซึ่งกับสหรัฐอเมริกา
เพียงแต่การเติบโตของเมืองในประเทศไทยนั้นมักเกาะขนานไปกับถนนสายหลักตลอดแนว เราจึงเป็นอาคารพาณิชยกรรมตลอดแนวถนนในเขตเมือง ซึ่งก่อให้เกิดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในปริมาณที่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ที่ยังมีระบบขนส่วมวลชนอยู่บ้างให้เป็นทางเลือกในการเดินทางเพื่อไปย่านดังกล่าว
ภาพจาก : https://www.strongtowns.org/journal/2014
ในบางประเทศจะมี "ใบขออนุญาตจอดรถ" ซึ่งออกให้สำหรับคนที่ต้องการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและต้องการจอดรถในย่านใจกลางเมืองซึ่งมีจำกัด โดยเฉพาะในอเมริกาบางเมืองที่ต้องจ่ายประมาณ " 1,800 ดอลลาร์ต่อปีเพื่อขอใบอนุญาตจอดรถ" ซึ่งผู้คนยอมจ่ายเพื่อแลกกับเวลาที่เสียใจจากการหาที่จอดรถ
ใจกลางเมืองหลายแห่งมักจะมีรถประจำทางเข้าเมืองและตอบสนองความต้องการทั้งหมด ได้ด้วยการเดินเท้า เป็นศูนย์กลางของการบริการ สร้างโอกาสในการทำงาน และร้านค้าปลีก ยกตัวอย่างศูนย์กลางเมืองที่แข็งแกร่ง ได้แก่ พอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน เมืองพอร์ตแลนด์เป็นตัวอย่างของเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ในอุดมคติ ศูนย์กลางของเมืองนั้นกะทัดรัดและสามารถเดินได้ ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบของนักวางแผนและออกแบบเมือง (Urban Planner/Urban designer)
ภาพจาก : https://www.strongtowns.org/journal/2014
น่าเสียดายที่ไม่ใช่ทุกเมืองที่เป็นแบบนี้ ลิตเติลร็อก รัฐอาร์คันซอเป็นหนึ่งในนั้น เว้นแต่หากเราจะทำงานในสำนักงานตึกสูงหรือต้องการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สักสองสามแห่ง ไม่มีอะไรให้ทำในใจกลางเมืองจริงๆ จึงออกนอกเมืองไปชายฝั่งหรือหรือศูนย์การค้าเขตชานเมือง
ภาพจาก : https://www.strongtowns.org/journal/2014
เหตุผลที่ควรลงทุนปรับปรุงกายภาพย่านใจกลางเมืองแบบดั้งเดิม
การออกแบบเมือง นอกเหนือจากการส่งเสริมให้มีการปรับปรุงฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมืองที่มีการใช้พื้นที่มาก่อนแล้ว มากกว่าการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เปิดพื้นที่ใหญ่ ๆ เพื่อประหยัดงบประมาณในการลงทุนสาธารณูปโภคและสาธารณูปการพื้นฐานดั้งเดิมที่รับได้ลงทุนไว้แล้วย่อมช่ายประหยัดภาษี การคำนวณการจัดเก็บภาษีตามขนาดพื้นที่ ภาษีที่เกิดจากรายได้ของท้องถิ่นในการนำมาลงทุนในย่านดั้งเดิมใจกลางเมืองจะเป็นผลประโยชน์สูงสุดของเมืองในอนาคต
การสร้างย่านที่เล็ก กระทัดรัด เดินได้ มีร้านค้ามากมายในรัศมีของการเดินและเชื่องต่อกับป้ายรถเมย์ของรถประจำทางภายในย่าน ย่อมคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเมือง การย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อาจเป็นคำตอบของการออกแบบย่านใจกลางเมืองในยุคปัจจุบัน เมื่อเวลาเปลี่ยนไปเราอาจต้องสร้างสิ่งนี้ทดแทนทำไมอาคารสมัยใหญ่เพียง 10 ปี 20 ปี ไม่ดึงดูดเท่าอาคารที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ที่มีอยู่แล้วใจกลางเมือง
ภาพจาก : https://www.strongtowns.org/journal/2014
นี่คือ หน้าที่บทบาทของ "นักวางแผนและออกแบบเมือง" ที่ควรเป็นการสร้างมูลค่าให้กับเมืองของเรา มูลค่านี้อาจเป็นมูลค่าทางการเงิน (อสังหาริมทรัพย์ในใจกลางเมืองสร้างรายได้จากภาษีต่อตารางกิโลเมตรมากกว่า) เศรษฐกิจ (ธุรกิจในใจกลางเมืองสร้างงานได้มากกว่าต่อตารางกิโลเมตร) หรือคุณภาพ (สร้างสภาพแวดล้อมในเมืองที่มีชีวิตชีวาที่ผู้คนหวงแหนและจดจำ) ซึ่งนักวางแผนเมืองได้ทำสิ่งนั้นเมื่อ 70 ปีที่แล้ว
ภาพจาก : https://www.strongtowns.org/journal/2014
หัวใจสำคัญของการออกแบบย่านใจกลางเมือง
ส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการเป็น "เมืองที่แข็งแกร่ง" คือการมีเศรษฐกิจท้องถิ่นที่แข็งแกร่ง ซึ่งต้องรักษาเงินไว้ในท้องถิ่นให้ได้มากที่สุด รักษาธุรกิจขนาดเล็ก (SME) ให้เติบโตมากที่สุด และเพื่อให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ เราจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเติบโตได้ และสภาพแวดล้อมที่ผู้คนเต็มใจที่จะสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่นเหล่านี้ หากไม่มีธุรกิจขนาดเล็กของคนท้องถิ่น
การควบรวมของทุนใหญ่ของธุรกิจค้าส่งจะยึดระบบเศรษฐกิจการค้าและทำลายร้านค้าดั้งเดิมให้ลดน้อยถอยลง เราต้องการส่งเสริมให้มีธุรกิจที่เป็นของครอบครัวที่หลากหลาย ธุรกิจเหล่านี้สนับสนุนครอบครัวในท้องถิ่น เก็บเงินไว้ในเศรษฐกิจ และสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง และที่สำคัญที่สุดคือ ธุรกิจเหล่านี้หยุดไม่ให้เมืองของเราถูกครอบงำโดยเครือข่ายและแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ที่ทำให้เราเป็น
ภาพจาก : https://www.strongtowns.org/journal/2014
เมืองที่คัดลอกและวาง โดยเพียงแค่วางเทมเพลตของพวกตนเองในเมืองของเราเพื่อแสวงหากำไร โดยไม่สนับสนุนความน่าอยู่อาศัยหรือเอกลักษณ์เฉพาะของเมือง การสร้างสภาพแวดล้อมเช่นนี้ในเขตชานเมืองนั้นยากมากเมื่อเทียบกับใจกลางเมือง หากเรามองไปที่เมืองเล็กๆ หรือเมืองใหญ่ที่มีศูนย์กลางใจกลางเมืองที่แข็งแกร่งและมีชีวิตชีวา เราจะพบธุรกิจขนาดเล็กอยู่ทุกที่ตั้งแต่ร้านค้าเฉพาะทางไปจนถึงพ่อค้าแม่ค้าริมถนน และวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับการซื้อของในท้องถิ่น
บทสรุปในการออกแบบย่าน
หากเรากลับไปที่คำถามที่ว่า "ทำไมเราถึงต้องย้อนเวลากลับไป 70 ปีเพื่อสร้างแบบจำลองเมืองที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน" คำตอบคือเพราะมันได้ผลดังนี้
1. เมืองในฐานะผู้ผลิตระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศ
2. การทำให้ธุรกิจขนาดเล็กเติบโตและยังคงมีความสามารถในการแข่งขัน การเติบโตของย่านจะดีขึ้นหากสภาพแวดล้อมได้รับการออกแบบที่เหมาะสม
3. ถนนสายหลักในย่านใจกลางเมือง เป็นถนนในเมือง (Street) ที่มีชีวิตชีวา เต็มไปด้วยผู้คนและกิจกรรมต่างๆ
เขียนแปลงจาก :
https://www.strongtowns.org/journal/2014/1/15/the-case-for-investing-downtown.html?apcid=006186688d1382ae1acc1301&utm_source=incrementalhousing
การลงทุน
เศรษฐกิจ
การเงิน
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย