Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนเกิร์ล
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
16 ม.ค. เวลา 02:30 • ธุรกิจ
ช็อปดี แต่อาจไม่มีคืน ถ้าไม่เข้าใจเงื่อนไข Easy E-Receipt 2.0
ก่อนที่จะรีบออกไปช็อป เพื่อหวังลดหย่อนภาษี จากมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 เราลองมาทำความเข้าใจเงื่อนไขกันสักเล็กน้อย
เพราะถ้าหากเข้าใจผิด หรือไม่ได้ทำตามเงื่อนไข เงินที่ช็อปไปแล้วอาจใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไม่ได้แบบที่หวัง
4
แล้วมีเรื่องอะไรบ้างที่เราควรรู้ ? ลงทุนเกิร์ลจะสรุปให้ฟัง
ก่อนอื่นต้องบอกว่า “Easy E-Receipt 2.0” เป็นโครงการที่เราจะเอาไปใช้ลดหย่อนภาษีของปี 2568 หรืออธิบายแบบง่าย ๆ คือ เราที่ช็อปกันตอนนี้ จะได้เอาไปใช้สิทธิลดหย่อนจริง ๆ คือ ตอนที่เราจะยื่นภาษี ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม ปี 2569
ทั้งนี้มาตรการ Easy E-Receipt 2.0 มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์เล็กน้อย โดยแบ่งวงเงินออกเป็น 2 ก้อน
1
1. ส่วนแรก แบ่งเป็นการซื้อสินค้าหรือบริการทั่วไปให้ครบ 30,000 บาท เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนในส่วนแรก
2. ส่วนที่สอง ช็อปเพิ่มอีก 20,000 บาท ถ้าอยากใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท แต่ต้องซื้อสินค้าหรือบริการจาก OTOP, วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคม
หรืออีกทางคือ จะซื้อสินค้า OTOP, วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคม ให้ครบ 50,000 บาททีเดียวก็ได้
อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า
- ช็อป 50,000 บาท ไม่เท่ากับ ได้ลดหย่อนภาษี 50,000 บาท
- ต้องขอเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice/e-Receipt) เท่านั้น
- ช็อปเพื่อลดหย่อนภาษี ไม่ใช่ซื้ออะไรก็ได้ และต้องซื้อภายในช่วงเวลาที่กำหนด
ทีนี้เราไปดูกันว่า แต่ละเงื่อนไขมีรายละเอียดอย่างไร ?
เริ่มต้นที่ เงื่อนไขการลดหย่อนภาษี
แต่ในความเป็นจริงแล้ว จะได้ลดหย่อนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ “เงินได้สุทธิ” ของแต่ละคน ซึ่งมีเกณฑ์ ดังนี้
1
เงินได้สุทธิ 0 - 150,000 บาท
ได้รับการยกเว้นภาษี ลดหย่อนได้ 0 บาท
เงินได้สุทธิ 150,001 - 300,000 บาท อัตราภาษี 5%
ใช้สิทธิ์ 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 1,500 บาท
ใช้สิทธิ์ 50,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 2,500 บาท
เงินได้สุทธิ 300,001 - 500,000 บาท อัตราภาษี 10%
ใช้สิทธิ์ 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 3,000 บาท
ใช้สิทธิ์ 50,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 5,000 บาท
เงินได้สุทธิ 500,001 - 750,000 บาท อัตราภาษี 15%
ใช้สิทธิ์ 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 4,500 บาท
ใช้สิทธิ์ 50,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 7,500 บาท
2
เงินได้สุทธิ 750,001 - 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20%
ใช้สิทธิ์ 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 6,000 บาท
ใช้สิทธิ์ 50,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 10,000 บาท
เงินได้สุทธิ 1,000,001 - 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25%
ใช้สิทธิ์ 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 7,500 บาท
ใช้สิทธิ์ 50,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 12,500 บาท
เงินได้สุทธิ 2,000,000 - 5,000,000 บาท อัตราภาษี 30%
ใช้สิทธิ์ 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 9,000 บาท
ใช้สิทธิ์ 50,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท
เงินได้สุทธิ 5,000,000 บาท ขึ้นไป อัตราภาษี 35%
ใช้สิทธิ์ 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 10,500 บาท
ใช้สิทธิ์ 50,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 17,500 บาท
*สำหรับใครที่อยากรู้ว่า เงินได้สุทธิ คืออะไร สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://www.longtungirl.com/9297
2
ดังนั้น ถ้าคิดจะช็อปโดยมีเป้าหมาย เพื่อลดหย่อนภาษีให้ได้มากขึ้น ก็อย่าลืมเช็กเรื่อง “เงินได้สุทธิ” ของตัวเองก่อนว่าอยู่ในระดับที่ต้องเสียภาษีมากหรือน้อย
1
เพราะในกรณีที่ได้ยกเว้นภาษีอยู่แล้ว เงินที่ช็อปไป ก็ไม่ได้ช่วยให้ลดหย่อนภาษีได้มากขึ้นเลย
1
เรื่องต่อมาที่จะพลาดไม่ได้ คือ “ใบกำกับภาษี”
และ “ใบรับ” ไม่สามารถใช้รูปแบบกระดาษแทนได้
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ อย่างครบถ้วน
โดยระบบออกใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ จะมี 2 แบบ
1. Etax invoice & Receipt
2. Etax invoice by timestamp
ซึ่งสำหรับรายชื่อผู้ได้รับอนุมัติ by timestamp สามารถตรวจสอบได้ที่
https://www.rd.go.th/27659.html
(เลือกหัวข้อ “ผู้ได้รับอนุมัติ”)
เพราะฉะนั้นก่อนช็อป อย่าลืมวางแผนให้ดีว่าจะขอเอกสารแบบไหน หรือร้านที่เราจะไปซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ สามารถออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ได้หรือไม่
ที่สำคัญที่สุด คือ เราต้องซื้อสินค้าหรือบริการตามเงื่อนไข ที่กฎหมายอนุญาตให้หักลดหย่อนได้
ตัวอย่างสินค้าที่ไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรการนี้ เช่น
- สุรา, เบียร์, ไวน์, ยาสูบ
- ซื้อรถยนต์, จักรยานยนต์
- น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าน้ำประปา, ค่าไฟฟ้า
- ค่าบริการสัญญาณมือถือ-บริการอินเทอร์เน็ต
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
และเราจะต้องซื้อสินค้าภายในวันที่ 16 ม.ค. - 28 ก.พ. 2568 เท่านั้น หากเกินระยะเวลาที่กำหนดต่อให้มีเอกสารครบถ้วนก็ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อยู่ดี
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ใครที่คำนวณออกมาแล้วเงินได้สุทธิยังสูง และต้องการหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมแถมมีแผนที่จะซื้อของนั้น ๆ อยู่แล้ว ก็อย่าลืมรีบใช้สิทธิ์ภายใน 28 ก.พ. นี้ และขอใบกำกับภาษีให้ถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไข จะสามารถลดหย่อนภาษีไปได้เต็ม ๆ
1
ธุรกิจ
เศรษฐกิจ
53 บันทึก
57
3
128
53
57
3
128
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย