Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Histofun Deluxe
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
14 ม.ค. เวลา 13:26 • ประวัติศาสตร์
• ทำไมการสร้างรูปปั้นโมอาย ทำให้ต้นไม้บนเกาะอีสเตอร์หายไปเกือบหมด?
เมื่อชาวยุโรปกลุ่มแรกมาถึงเกาะอีสเตอร์ในปี 1722 พวกเขาต้องตกตะลึงกับรูปปั้นหินขนาดมหึมาที่บางชิ้นสูงถึง 70 ฟุต (21 เมตร) และหนักถึง 90 ตัน ที่ตั้งอยู่กระจายไปทั่วเกาะ
รูปปั้นขนาดมหึมานี้ถูกเรียกว่า โมอาย (Moai) ตามที่ชาวราปานุย (Rapanui) คนพื้นเมืองบนเกาะแห่งนี้เรียกกัน ชาวราปานุยเป็นส่วนหนึ่งของชาวโปลินีเซียน (Polynesian) ที่ออกสำรวจและลงหลักปักฐานตามเกาะต่าง ๆ ทั่วทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก
สำหรับชาวราปานุย รูปปั้นโมอายคือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม จิตวิญญาณ และความเชื่อในเรื่องการเชิดชูบรรพบุรุษของพวกเขา
ในอดีตรูปปั้นโมอายได้สร้างปริศนาไว้มากมาย โดยเฉพาะคำถามที่ว่า ใครเป็นคนสร้างรูปปั้นเหล่านี้ (แน่นอนว่า มนุษย์ต่างดาว ก็เป็นหนึ่งในทฤษฎีที่ถูกใช้อธิบายเรื่องนี้) แต่ด้วยเหตุและผล ก็มีเพียงคำตอบเดียวเท่านั้นคือ ชาวราปานุยเป็นผู้สรรสร้างโมอายขึ้นมา
ปริศนาของโมอายอาจจะถูกไขได้ แต่อีกหนึ่งปริศนาที่เกิดขึ้นบนเกาะอีสเตอร์ก็คือ ทำไมบนเกาะแห่งนี้ แทบจะไม่มีต้นไม้หลงเหลืออยู่เลย?
ในหนังสือ Collapse: How Societies Choose to Fail or Succeed หรือล่มสลาย : ไขปริศนาความล่มจมของสังคมและอารยธรรม ของนักเขียนชื่อดัง จาเรด ไดมอนด์ (Jared Diamond) อธิบายว่า เกาะอีสเตอร์มีความแตกต่างจากเกาะอื่น ๆ ในแปซิฟิก ตรงที่เกาะอีสเตอร์มีขนาดที่เล็ก แห้งแล้ง หนาวเหน็บ และตั้งอยู่ไกลจากเกาะอื่น ๆ ปัจจัยเหล่านี้ มีส่วนทำให้ต้นไม้ที่ถูกโค่นบนเกาะอีสเตอร์ยากที่จะฟื้นตัวตามธรรมชาติได้
ต้นไม้บนเกาะอีสเตอร์ถูกชาวราปานุยนำไปใช้หลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสร้างบ้าน สร้างเรือแคนู การเพาะปลูกแบบยังชีพ ทำให้ชาวราปานุต้องการพื้นที่ทำการเกษตรโดยการโค่นป่าที่มีอยู่ โดยที่พวกเขาไม่รู้เลยว่า ต้นไม้บนเกาะฟื้นตัวได้ยากมากแค่ไหน
ที่สำคัญก็คือ การสร้างโมอายยังมีส่วนทำให้ต้นไม้บนเกาะหายไปด้วย เพราะพวกเขาต้องการท่อนซุงจำนวนมากในการเคลื่อนย้ายรูปปั้นไปตามจุดต่าง ๆ บนเกาะ
เมื่อเกาะอีสเตอร์ปราศจากต้นไม้ ชาวราปานุยก็ไม่มีเรือแคนูลำใหม่ ๆ ในการออกหาปลาในมหาสมุทร ผืนดินที่ไม่มีรากไม้และต้นไม้ปกคลุมก็เริ่มแห้งผาก จนถูกลมพัดและฝนชะล้างจนหมดความอุดมสมบูรณ์ นำไปสู่เหตุดินถล่มที่สร้างความเสียหาย และพอถึงช่วงฤดูหนาว ชาวราปานุยจึงจำเป็นต้องเผาพืชพรรณที่เหลืออยู่เพื่อสร้างความอบอุ่น
ในปัจจุบันสถานการณ์ต้นไม้บนเกาะอีสเตอร์ดูจะดีขึ้นกว่าในอดีต จากความพยายามฟื้นฟูและปลูกต้นไม้ของคนบนเกาะและนักท่องเที่ยว เพื่อให้เกาะอีสเตอร์ของพวกเขากลับมาเขียวขจีอีกครั้ง
จาเรด ไดมอนด์ ตั้งคำถามเรื่องนี้ไว้ในหนังสือว่า ‘ชาวเกาะอีสเตอร์คนที่ตัดต้นปาล์มต้นสุดท้าย พูดอะไรตอนที่เขาตัดมัน?’
1
ติดตามช่องทางอื่น ๆ ของ Histofun Deluxe
X
http://bit.ly/3AfKmf2
Blockdit
https://bit.ly/4e25dQX
LINE TODAY
https://bit.ly/48uQvRp
Website
https://bit.ly/4fnCVBB
YouTube
https://bit.ly/3YEkhzB
อ้างอิง
• หนังสือ Humans A Brief History of How We F**ked it All Up ฉิ**าย ประวัติศาสตร์มนุษยชาติฉบับวินาศสันตะโร. สำนักพิมพ์ Bookscape (2022)
• Sapiens. What Really Happened on Easter Island?.
https://www.sapiens.org/archaeology/easter-island-demise/
#HistofunDeluxe
#HistofunDeluxe
ประวัติศาสตร์
2 บันทึก
19
1
2
19
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย