Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
15 ม.ค. เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
อุทยานแห่งชาติคลองพนม
ช้างดำ กล้วยไม้ที่สำรวจพบ ที่อุทยานแห่งชาติคลองพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เรื่องไม่ลับฉบับนักวิจัย...รู้จักกล้วยไม้ป่า ความสวยงามที่ควรอยู่คู่ป่าเท่านั้น ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขอแนะนำให้รู้จักกับกล้วยไม้ป่าอีกชนิดหนึ่งนั่นคือ ช้างดำ Pomatocalpa spicatum Breda
โดยกล้วยไม้ชนิดนี้สำรวจพบที่อุทยานแห่งชาติคลองพนม จ.สุราษฎร์ธานี ความสูงจากระดับน้ำทะเล 700 - 1,600 เมตร เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เจริญทางยอด ต้นสั้น
ใบ เรียงสลับเรียงซ้อนกัน รูปขอบขนาน กว้าง 4 เซนติเมตร ยาว 23 เซนติเมตร ปลาย ใบเว้าบุ๋มไม่เสมอกัน ขอบใบหยักเป็นคลื่น ช่อดอก ออกที่ข้อ อาจเป็นช่อเดี่ยวหรือแตกแขนง ห้อยลง ยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร ดอก ค่อนข้างชิดกัน บานทนหลายวัน ใบประดับดอกแหลม ยาว 0.3 เซนติเมตร
ดอกสีเหลืองอ่อน กว้าง 0.6 เซนติเมตร ทุก ๆ กลีบอาจ มีหรือไม่มีจุดแต้มสีแดงอมน้ำตาล กลีบเลี้ยงบน รูปไข่กลับ กว้าง 0.3 เซนติเมตร ยาว 0.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงคู่ข้าง โอบกลีบปากไว้ กว้าง 0.3 เซนติเมตร ยาว 0.45 เซนติเมตร
กลีบดอก รูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 0.2 เซนติเมตร ยาว 0.4 เซนติเมตร กลีบปาก ยาว 0.4 เซนติเมตร มีเดือยคล้ายถุงสีขาวขนาดใหญ่ หูกลีบปากปลายมน ตั้งขึ้น ปลายกลีบปากเป็นติ่งแหลม อวบน้ำ งอนลง บางครั้งพบ ว่าเกือบเป็นสีขาว เส้าเกสรสั้น พบในป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และป่าดิบชื้น ตามที่ร่มเงา หรือมีแสงแดดรำไร ช่วงเวลาในการออกดอกอยู่ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - สิงหาคม
ที่มา : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
#ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ #จังหวัดสุราษฎร์ธานี #ช้างดำ #อุทยานแห่งชาติคลองพนม #กล้วยไม้
อุทยานแห่งชาติ
ธรรมชาติ
ดอกไม้
บันทึก
2
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย